ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

370.28 รวมบทความทางการศึกษา

บันทึกปลัดกระทรวง 4 - ความรู้คู่คุณธรรม
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

มีข้อถกเถียงกันอยู่เสมอว่าระหว่างความรู้กับคุณธรรม อะไรสำคัญกว่ากันในโลก ยุคสื่อสารไร้พรมแดน ข้อมูลหลั่งไหลมาได้จากทั่วทิศ มีทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์และข้อมูลที่ไร้ ประโยชน์ ข้อมูลบางอย่างก็นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ผิดๆ นำความเสื่อมเสียทางด้านศีลธรรม และจริยธรรมมาให้ แต่คนเราก็ต้องแสวงหาความรู้ เพราะเชื่อมั่นว่าความรู้คือกุญแจไขไปสู่ ความสำเร็จ

คนไทยให้ความสำคัญกับการเรียน เพื่อให้ได้ความรู้ไม่ยิ่งหย่อนกว่าชนชาติใด ๆ จะเห็น ได้จากการที่แย่งกันเข้าเรียนในโรงเรียนหรือในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงกันอยู่ประจำ จนยาก ที่จะแก้ได้ ทั้งนี้คงเชื่อว่าถ้าบุตรหลานได้เรียนโรงเรียนดัง ๆ แล้วจะได้ความรู้มากกว่าโรงเรียนอื่น คนเรียนเก่งก็ได้รับการยกย่องนับถือจากสังคม สมัยหนึ่งถึงกับมีการจัดลำดับคนที่สอบได้คะแนน เป็นลำดับที่เอาไว้ แต่คนเรียนเก่งหลายคนต่อมาก็ประสบความล้มเหลวในชีวิตที่เรียกว่า ความรู้ ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

เมื่อมีข่าวทางสื่อมวลชนว่า คนที่เรียนแพทย์กลายเป็นฆาตรกรที่โหดเหี้ยมที่สุด คนที่ เคยสอบได้ที่หนึ่งของประเทศถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดคดโกงผู้อื่น และบางคนกล่าวว่าภาวะวิกฤต ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงจากนักธุรกิจการเงิน ที่ชาญฉลาดบางคนแสวงหาประโยชน์ใส่ตน โดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น บางคนหนีไปอยู่ต่างประเทศ พร้อมความร่ำรวยส่วนตนบนความยากจนของชาติ คนฉลาดอย่างนี้หรือที่ประเทศชาติปรารถนา คง ไม่ใช่อย่างแน่นอน และหลายคนก็กล่าวโทษว่าเป็นเพราะการศึกษาของเราไม่ดี เน้นสร้างคนฉลาด มากกว่าสร้างคนดี เป็นผลให้เราได้คนเก่งแต่ไม่ดี กลายเป็นคนเก่งที่เป็นพิษภัยต่อผู้อื่น

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการศึกษาต้องสร้างคนดี คือทำคนให้เป็นคนดีด้วย ไม่ใช่สร้างแต่ คนเก่งอย่างเดียว ประเทศชาติต้องการทั้งคนเก่งและคนดี ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่าระหว่างคนเก่งและ คนดีอย่างไหนควรมาก่อนกัน

ถ้าหากให้วิเคราะห์ในระบบปัจจุบันจะเห็นได้ชัดเจนว่าให้ความสำคัญกับคนเก่งมากกว่า คนดี เริ่มตั้งแต่แรกเข้าเรียนโรงเรียนมีชื่อเสียงยังคงใช้วิธีสอบคัดเลือกคนเข้าเรียน โดยอ้างเหตุ ว่าต้องการคนเก่งเข้าเรียนเพื่อรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน แปลว่าถ้านักเรียนไม่เก่งโรงเรียนก็ ไม่มีชื่อเสียง บางคนถึงกล่าวว่าทำให้คุณภาพของโรงเรียนลดลงไปด้วย โรงเรียนมัธยมของรัฐ และเอกชนจำนวนมากยังนิยมใช้วิธีสอบแข่งขันคัดเลือกคนเข้าเรียน ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ให้ทุกคนต้องมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผมถามทุกคนเสมอว่า คนที่สอบไม่ได้ถือว่าเขาได้รับโอกาสทางการศึกษาหรือไม่ และต่อไปคง ต้องคิดว่าการสอบแข่งขันคัดเลือกขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในระดับอุดมศึกษาก็ให้ความสำคัญกับ คนเก่ง ดังเห็นได้จากการคัดเลือกคนเข้ามหาวิทยาลัยมักใช้การสอบเป็นสำคัญ การพิจารณา คุณสมบัติอื่น ๆ มีน้อยมาก

เรากำลังให้ความสำคัญกับคนเก่งทางความรู้มากเกินไปหรือเปล่า เรากำลังละเลย ความเป็นคนดีหรือเปล่า หรือเราคิดว่าถ้าคนเก่งแล้วก็จะเป็นคนดีได้โดยอัตโนมัติ จึงไม่ต้องให้ ความสำคัญกับการเป็นคนดี ซึ่งเป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ดังปัญหาที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวถึง มาแล้วข้างต้น จริง ๆ แล้วระบบการศึกษา ควรต้องให้ความสำคัญกับการสร้างคนให้เป็นคนดี ไม่น้อยกว่าการสร้างคนเก่ง

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 23 กล่าวว่า การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ การศึกษา…. นั่นคือทั้งความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญควบคู่กันไป

มาตรา 23 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดการศึกษา ต้องยึด หลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ ที่สุด…. เมื่อเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ทุกคนได้เรียนเพื่อพัฒนา ตนเอง ไม่ใช่ตัดโอกาสเพราะสอบไม่ได้ ไม่เก่ง ไม่มีความรู้พอ

การสร้างคุณธรรมก็คือ การสร้างให้คนเป็นคนดีนั่นเอง การสร้างให้ผู้เรียนเป็นคนดี ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาอบรมหรือคือส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ หลายคน เข้าใจผิดคิดว่าถ้าจะพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม ก็ต้องให้เรียนวิชาที่ว่าด้วยศีลธรรม จริยธรรม ตามหลักของศาสนามาก ๆ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่การสร้างคุณธรรมคงไม่สามารถแยกสร้าง ได้ต่างหากจากการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ คุณธรรมความเป็นคนดี เป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่ แสดงออกมาผ่านการประพฤติปฏิบัติ การตัดสินใจทำหรือไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง บนพื้นฐาน ความเชื่อที่เป็นค่านิยมทางคุณธรรมนั้น ๆ คือพฤติกรรมของคนที่ปรากฏจะส่อแสดงให้เห็นถึง ความคิดความเชื่อเชิงคุณธรรม และจะบ่งบอกได้ว่าเป็นพฤติกรรมของคนดีหรือคนไม่ดี พฤติกรรมเหล่านี้ที่สำคัญเช่น ความเป็นคนรู้จักหน้าที่ รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ความเป็น คนซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักเสียสละ อดทน ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น

กระบวนการเรียนรู้สามารถพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้โดยไม่ต้องมีวิชา คุณธรรมให้เรียนเป็นพิเศษ เพราะคุณธรรมที่พึงประสงค์สามารถสร้างให้เกิดได้ ผ่านกระบวน การปฏิบัติงาน ทั้งงานส่วนบุคคลและการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การเรียนรู้ที่ดีจึงควรเป็น การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่ง ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทดลองทำงาน ฝึกทดลองด้วยตนเอง ร่วมกับผู้อื่น ศึกษาค้นคว้า และ ทดลองปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และข้อค้นพบระหว่างผู้เรียนด้วยกันหรือระหว่างผู้เรียน กับผู้รู้ กระบวนการเหล่านี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องคุณธรรมโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องสอนวิชา คุณธรรม เพราะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เขาต้องเรียนรู้เรื่องความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา ความอดทน เสียสละ ความซื่อสัตย์ สุจริต ต้องรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ ถ้าเขาได้ทำมาก ๆ ก็จะสานก่อเป็นเจตคติ เป็นความเชื่อ และถ้าเขาปฏิบัติอยู่เสมอก็จะเป็นความเคยชิน เป็นสำนึก ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นอยู่เสมอ ดังนั้น ที่พระราช-บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า การศึกษาต้องให้ความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตาม ความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา จึงเป็นหลักการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่ง ที่จะทำให้ ผู้เรียนเกิดทั้งความรู้ และคุณธรรมไปพร้อม ๆ กัน

มีบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 เป็นโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งที่ผมท่องขึ้นใจมาตั้งแต่เด็ก สามารถเอามาอธิบายความสำคัญของคุณธรรมกับความรู้ที่จะต้องมีควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างดี นั่นคือบทที่ว่า

ความรู้คู่เปรียบด้วย    กำลัง กายเฮย

สุจริตคือเกราะบัง    ศาตรพ้อง

ปัญญาประดุจดัง    อาวุธ

กุมสติต่างโล่หป้อง    อาจแกล้วกลางสนาม

ขอฝากบันทึกนี้ไว้กับนักการศึกษา และเพื่อนครูทั้งหลาย อย่าได้หลงลืมใส่ใจ ให้คุณธรรม เกิดควบคู่กันไปกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของผู้เรียนและอย่าลืมว่า ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้เรียน ด้วย

แหล่งที่มา

Gotoknow.org. (2553). บันทึกปลัดกระทรวง 4 - ความรู้คู่คุณธรรม.

ค้นเมื่อ ตุลาคม 23, 2553, จาก
http://gotoknow.org/blog/panom/98345

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com