กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)
กระทรวงคมนาคม ราชอาณาจักรไทย |
|
---|---|
ตราพระรามทรงรถ | |
ที่ทำการ | |
ภาพรวม | |
วันก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2455 |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
งบประมาณ | 88,852,675,400 บาท (พ.ศ. 2555)[1] |
รัฐมนตรีว่าการ | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ, รัฐมนตรี พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก, รัฐมนตรีช่วย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, รัฐมนตรีช่วย |
ผู้บริหาร | ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ, ปลัด จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ, รองปลัด ศรศักดิ์ แสนสมบัติ, รองปลัด |
ลูกสังกัด | ดูในบทความ |
เว็บไซต์ | |
MOT.go.th |
กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ยกระดับการให้บริการประชาชน ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และบริการคมนาคมขนส่ง ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ทำให้ระบบคมนาคมขนส่ง มีความปลอดภัย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผสานและเชื่อมโยง โครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งคนและสินค้า และขยายโอกาสการเดินทางสัญจร อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ) เป็นแม่กอง [2] ทำถนนในพระนครทุกสาย ในสมัยนั้นก็คือ ถนนรอบพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ด้วยก่อนนี้เป็นเพียงถนนดินคนเดินไปมา จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นบุกเบิกการคมนาคมทางบก แบบยุโรปขึ้นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะก่อนหน้านี้จะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก และทำถนนต่อจากถนนท้ายวัง ก็คือถนนเจริญกรุง เป็นถนนสายแรกของประเทศไทย
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น ในปี พ.ศ. 2425 และให้รวมหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการสื่อสารข่าว มารวมไว้ในกระทรวงคมนาคม อย่างไรก็ตาม กิจการด้านขนส่งทางบกก็ยังไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแม้แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พ.ศ. 2476 ก็มิได้กำหนดให้มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งทางบกโดยตรงอีกเช่นกัน
จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2476 จึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการ บริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476 ) กำหนดให้มีกรมการขนส่งขึ้น ในกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจแห่งชาติ รวมทั้งหน้าที่ในราชการ ส่วนคมนาคมด้วย แต่ก็ยังไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งทางบก เพราะตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พ.ศ. 2476 ได้กำหนดส่วนราชการของกรมการขนส่งไว้เพียง 2 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม และกองการบินพลเรือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายกิจการบินพาณิชย์ของประเทศ
[แก้] หน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม
กระทรวงคมนาคมแบ่งหน่วยงานออกเป็น 8 หน่วย และ 13 รัฐวิสาหกิจ ดังนี้
[แก้] ส่วนราชการ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
- กรมเจ้าท่า
- กรมการขนส่งทางบก
- กรมการบินพลเรือน
- กรมทางหลวง
- กรมทางหลวงชนบท
- สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เปิดในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2549
[แก้] รัฐวิสาหกิจ
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
- บริษัท ขนส่ง จำกัด
- บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- สถาบันการบินพลเรือน
- บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (จัดตั้งในฐานะบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงคมนาคม)
- บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด
- บริษัท ไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีสต์ เอเชีย จำกัด
[แก้] ในอดีต
- องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ยุบตามมติคณะรัฐมนตรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2548)
- บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (ยุติการดำเนินงานเนื่องจากโอนกิจการไปรวมกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) แล้ว)
[แก้] อ้างอิง
- ^ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
- ^ ภาพเก่าในสยาม : 66
[แก้] ดูเพิ่ม
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- กระทรวงคมนาคม
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
- แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′32″N 100°30′30″E / 13.758946°N 100.508273°E
|