สิทธิในความเป็นส่วนตัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สิทธิในความเป็นส่วนตัว เป็นหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายไทย อันจะเห็นได้จากการบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ซึ่งได้ถูกยอมรับจากนานาอารยประเทศ จึงถือได้ว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวนี้ ถือได้ว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวในส่วนของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ย่อจาก information technology และการสื่อสารเป็นอย่างมากทั่วทุกมุมโลก โดยเน้นหนักไปใบส่วนของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารแบบไร้สาย การละเมิดสิทธิเหล่านี้นับวันจะยิ่งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

เนื้อหา

[แก้] สิทธิในความเป็นส่วนตัว

สิทธิ (อ่านว่า สิด-ทิ) หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้ เช่น หากเรามีสิทธิในการซื้อสินค้าจากตลาดเมื่อชำระเงินให้แม่ค้า หากได้ชำระเงินแล้ว ผู้ใดจะบังคับมิให้เราซื้อได้ไม่ หากบังคับ กฎหมายย่อมคุ้มครอง การได้รับสิทธิตามกฎหมายนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นๆ ในทางนิติศาสตร์และกฎหมาย, สิทธิ หมายถึง สิทธิตามกฎหมายหรือศีลธรรม ที่จะทำหรือไม่ทำบางอย่าง หรือที่จะได้รับหรือไม่ได้รับบางอย่างในสังคมอารยะ (civil society) สิทธิทำหน้าที่เหมือนกฎในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นอกจากคำว่า สิทธิ (สิด-ทิ) แล้ว ใน ราชบัณฑิตยสถาน ยังสามารถใช้ได้อีกคำหนึ่งว่า สิทธิ์ (สิด) ซึงมีความหมายอย่างเดียวกันแต่เขียนต่างกัน[1]

ความเป็นส่วนตัว หรือ สิทธิส่วนบุคคล คือ การกระทำทั้งหลายที่เป็น การกระทำเฉพาะตัว เฉพาะบุคคล[2]

[แก้] ความหมาย

สิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือ สิทธิส่วนบุคคล ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Privacy means หมายถึงสิทธิของบุคคลที่ประกอบไปด้วยสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ในเรื่องดังกล่าวน่าจะจัดอยู่ในเรื่องของความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งหมายความว่า สถานะที่บุคคลจะรอดพ้นจากการสังเกต การรู้เห็น การสืบความลับ การรบกวนต่างๆ และความมีสันโดษ ไม่ติดต่อสัมพันธ์กับสังคม โดยทั้งนี้ ขอบเขตที่บุคคลควรได้รับการคุ้มครองและการเคารพในสิทธิส่วนบุคคลก็คือการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ มีการพัฒนาบุคลิกลักษณะตามที่ต้องการ สิทธิที่จะแสวงหาความสุขในชีวิตตามวิถีทางที่อาจเป็นไปได้และเป็นความพอใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น[3]

ซึ่งสิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิส่วนบุคคล นี้เป็น สิทธิขันพื้นฐาน มีบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35

มาตรา 35 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูล ส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ[4] เป็นต้น

[แก้] ข้อตกลงระหว่างประเทศ

สามารถกระทำได้โดย สนธิสัญญา (อังกฤษ: Treaty หรือ ฝรั่งเศส: Traité) คือข้อสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้กระทำระหว่าง 2 รัฐขึ้นไป เมื่อทำสนธิสัญญาแล้ว ภายในประเทศของคู่สัญญา อาจต้องมีการออกกฎหมายใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสนธิสัญญานั้น ๆ ซึ่งความตกลงในทางระหว่างประเทศนี้อาจเรียกได้หลายชื่อนอกจากสนธิสัญญาแล้ว เช่น อนุสัญญา( Convention ) ความตกลง(Agreement) กติการะหว่างประเทศ(International Covenant) กฎบัตร(Protocol) บันทึกแลกเปลี่ยน(Exchange of Notes) ธรรมนูญ(Statute) กรรมสาร(Act) บันทึกความเข้าใจ(Memorandom of Understanding)เป็นต้น [5]

สิทธิในความเป็นส่วนตัวตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ สามารถกระทำการใดๆ ก็ได้แต่การกระทำดังกล่าวต้องอยู่ภายในข้อตกลงระว่างประเทศ และต้องไม่ส่ง ผลกระทบต่อประเทศสมาชิกในข้อตกลงนั้น แต่พลเมืองของรัฐมิอาจอ้างสิทธิความเป็นส่วนตัวในกฎหมายระหว่างประเทศได้ เนื่องจากพลเมืองของรัฐนั้นไม่มีสภาพบุคคลในทางกฎหมายระหว่างประเทศ การที่พลเมืองของรัฐดังกล่าวจะอ้างสิทธิของตนเองได้นั้นต้องใช้สิทธิผ่านรัฐของตนเอง แต่การที่รัฐจะใช้สิทธิของตนแทนพลเมืองนั้นต้องปรากฏว่ารัฐนั้นเป็นรัฐสมาชิกของสนธิสัญญา ( Treaty) ดังกล่าว เช่น การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายของต่างประเทศ นั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย แต่หากบุคคลดังกล่าวได้มาสมรสครั้งใหม่ในประเทศไทยถือได้ว่า บุคคลนั้นได้กระทำการสมรสซ้อน ตามกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ ๕ ครอบครัว มาตรา ๑๔๕๒ (บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง รัฐ และ องค์การระหว่างประเทศ)[6]

[แก้] การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว

สิทธิในความเป็นส่วนตัว หรือ สิทธิส่วนบุคคล นี้นับวัน จะยิ่งถูกละเมิดสิทธินี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก ฝ่ายรัฐเอง หรือ เอกชนก็ตาม ซึ่งมีตัวอย่างของการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวอาธิเช่น

1.ห้ามไม่ให้มีการสื่อสารผ่านทางเครื่อข่าย Blackberry Messenger

2.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

3.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

4.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

5.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนต่อการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันทุกพื้นที่ของโลกเลยก็ว่าได้

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ สิทธิ์-สิทธิ[1]
  2. ^ ความเป็นส่วนตัว>[2]
  3. ^ สิทธิในความเป็นส่วนตัว>[3]
  4. ^ รัฐธรรมนูญแห่งราชจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 35[4]
  5. ^ กฎหมายสนธิสัญญา(THE LAW OF TREATIES)ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  6. ^ กฎหมายสนธิสัญญา(THE LAW OF TREATIES)ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ