กฎหมายสัญชาติคืออะไร
กฎหมายสัญชาติ คือ กฎหมายที่ว่าด้วยการกำหนด ข้อเท็จจริงอันทำให้บุคคลคนหนึ่ง ได้มา , เสียไป หรือกลับคืน ซึ่งสัญชาติ อันจะทำให้มีผลเป็นการจำแนกบุคคลในทางระหว่างประเทศว่าบุคคลคนนั้นเป็นคนของรัฐใด กล่าวคือ เป็นกฎหมายพื้นฐานที่สื่อแนวคิดที่แสดงถึงความผูกพันหรือความเกี่ยวเนื่องที่แท้จริงระหว่างรัฐและเอกชน (คน)
ดังนั้นโดยหลักในทุกประเทศจะมีกฎหมายสัญชาติที่คอยกำหนดว่าบุคคลคนใดบ้างที่จะเป็นคนของรัฐตน ไม่ว่าจะเป็น ประเทศไทย พม่า เวียดนาม เป็นตน
สัญชาติต่างกับคำว่าเชื้อชาติ ดังนั้นคำว่าสัญชาติในความหมายของกฎหมายจะต้องผูกพันกับรัฐเสมอ หากไม่มีรัฐก็ย่อมไม่มีสัญชาติครับ
กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติของไทยทั้งหมด
กฎหมายสัญชาติโดยตรงของประเทศไทย ได้แก่
1. มูลนิติธรรมประเพณี (ใช้ก่อนวันที่ 10 เมษายน 2456) 2. พระราชบัญญัติแปลงชาติ รศ.130 (พ.ศ.2454) 3.พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ซึ่งเป็นกฎหมายเก่าแก่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 4.กลุ่มพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 แก้ไขเพิ่มเติมด้วย พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2496 พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2499 และ พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2503 และ 5. กลุ่มพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ตัวใหม่ซึ่งถูกปรับเปลี่ยนแก้ไขด้วยโดย ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337, พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2535และ พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดข้อเท็จจริงแห่งความมีสัญชาติได้แก่
1.
กฎหมายลักษณะผัวเมีย (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่อดีต จนถึง 2 กรกฎาคม
2470)
2.
กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง พ.ศ.2470 (บังคับใช้ 2 กรกฎาคม
2470)
3.
พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 (บังคับใช้ 1 ตุลาคม 2478)
Timeline การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวสัญชาติของประเทศไทย
**อ้างอิงจาก “ความรู้เบื้องต้นเรื่องสถานะบุคคลตามกฎหมายและความมีสัญชาติตามกฎหมายไทย” ของสำนักงานกฎหมายธรรมสติ
เพิ่มเติม
-ปัจจุบันมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551แล้วในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ดังนั้นคนเกิดหลังจาก 19 กุมภาพันธ์จึงตกอยู่ให้การบังคับของพระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551
- วิธีการเลือกใช้ว่าจะใช้กฎหมายสัญชาติตัวไหนต้องดูช่วงเวลาการเกิด(วันเกิด)ของบุคคลที่มุ่งศึกษาด้วยนะครับ ต้องดูเงื่อนไขของตัวบุคคลว่าตรงกับการได้มาซึ่งสัญชาติในช่วงที่ใช้กฎหมายนั้นอยู่หรือเปล่า และยังต้องดูกฎหมายใหม่(หรือประกาศต่างๆ) อีกด้วยว่ามีผลย้อนกลับไปใช้อะไรกับบุคคลนั้นหรือไม่ครับ(ดูกรณีของสุชาติ แซ่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมาก) จึงจะสรุปได้ว่ามีสัญชาติไทยหรือไม่
นอกจากนี้ผมยังได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายสัญชาติแต่ล่ะตัวว่าจะใช้ยังไงและมีผลอย่างไรไปพบบทความหนึ่งที่มีการสร้างตารางเปรียบเทียบตารางเปรียบเทียบการได้สัญชาติไทย ซึ่งวิเคราะห์และประยุกต์โดย คุณ มานะ งามเนตร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ,ผู้ไร้สัญชาติ,แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น
เปิดดูได้จากลิงค์นี้เลยครับ http://learners.in.th/file/siravich-human-rights/nationality_law