ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสะพายแร้ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสะพายแร้ง ได้รับการถ่ายโอนจากกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544

ที่ตั้ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสะพายแร้ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสร้างบนพื้นที่ของเอกชนซึ่งยินยอมให้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน สภาพอาคาร เป็นอาคารชั้นเดียว สร้างด้วยปูน แบ่งห้องเรียนเป็น ดังนี้

(1) ห้องเรียนสีฟ้า (เด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป) 1 ห้อง
(2) ห้องเรียนสีชมพู (เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี) 1 ห้อง
(3) ห้องจัดกิจกรรมรวม 1 ห้อง
(4) ห้องนอนรวม 1 ห้อง
(5) ห้องครัว 1ห้อง
(6) ห้องน้ำ 2 ห้อง

บุคลากร ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสะพายแร้งประกอบด้วย พนักงานส่วนตำบล จำนวน 1 คน คือ นางสาวสรัลชนา เกียรติแสงทอง ตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 3 คน คือ

1. นางสาวศิริมา ศรีวิชัย ตำแหน่งผู้ดูแลเด็ก
2. นางสาวจำลอง สงโสด ตำแหน่งผู้ดูแลเด็ก
3. นางจันทิมา วัชรินทร์ปรีชา ตำแหน่งผู้ดูแลเด็ก

จำนวนเด็ก ในปีการศึกษา 2555 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสะพายแร้ง รับเด็กเข้าเรียน ดังนี้
(1) ห้องเรียนสีฟ้า (เด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป) มีเด็กจำนวน 23 คน
(2) ห้องเรียนสีชมพู (เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี) มีเด็กจำนวน 47 คน

รวมทั้งสิ้นรับเด็กเข้ารับการดูแลจำนวน 70 คน

งานที่ทำ ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีหน้าที่ดังนี้

1.กำหนดแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามนโยบาย แนวทางการจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็ก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้ได้คุณภาพและมาตรฐานภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น
2.เสนอแนะให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแก่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.เสนอแนะให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ เลิก หรือรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
4. พิจารณาเสนอผู้บริหารองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น เกี่ยวกับการตั้งงบประมาณค่าใช้จ่าย และการบริหารงานบุคคล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5. พิจารณาเสนอแผ่นงาน/โครงการและงบประมาณในการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์ฯตามหลักวิชาการ
6. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ปกครอง สังคมและชุมชนมีส่วนรวมในการจัดการศึกษา และพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
7. ส่งเสริมสนับสนุนความรวมมือระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่น
8. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ระเบียบ หรือตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและจังหวัดกำหนด และมีพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา(ผู้แนะนำ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการประสานงานระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับต้นสังกัดคือ อบต.สนามแย้ และปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกเรื่อง เช่น การบริหารงานบุคคล ส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพผู้ดูแลเด็ก การส่งผู้ดูแลเด็กเข้ารับการอบรม การส่งเสริมการศึกษาต่อ การจัดทำคำสั่งเงินเดือน ประสานการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ที่ใช้ภายในศูนย์เด็กเล็ก ควบคุมการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเล็กให้ตรงตามมาตรฐษนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการตรวจรับรองจากหน่วยงานต่าง ๆ การจัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ให้กับเด็กเช่น วันปฐมนิเทศ วันแม่ วันพ่อ วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ตลอดจนนำเด็กเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยการทัศนศึกษานอกสถานที่ งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประมาณ 1,300,000 บาทต่อปีงบประมาณ แบ่งเป็นเงินเดือนของครูผู้ดูแลเด็ก ค่าตอบแทนของผู้ดูแลเด็ก เงินสมทบประกันสังคม ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรบ ค่าวัสดุการศึกษา ค่าอาหารเสริม(นม) ค่าอาหารกลางวัน ค่าจัดซื้อครุภัณฑ์ต่างๆ โดยงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี ส่วนหนึ่งได้รับการจัดสรรจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จากเงินบริจาค และจากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ อบต.สนามแย้

รายชื่อผู้แนะนำ

นางสาวสุมาลี ท่าฉลาด

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:September 2010


Send comments to Chumpot@hotmail.com