|
สหภาพยุโรป
สหภาพยุโรป
European Union: EU
สหภาพยุโรป พัฒนามาจาก ประชาคมยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือตลาดร่วมยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น
โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศสมาชิก
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ.2493 ประเทศฝรั่งเศสมีโครงการจะก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (The European Coal and Steel
Community: ECSC) ขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปแล้ว ยังเป็นการสร้างพื้นฐานในการที่จะก้าวไปสู่
การเป็นสหพันธ์รัฐในอนาคตด้วย ฝรั่งเศสจึงขอความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป โดยการแถลงการณ์ต่อบรรดาผู้แทนของหนังสือพิมพ์ทั่วโลก
และเมืองฝรั่งเศสแถลงการณ์ออกไปแล้ว ประเทศเยอรมนี เบลเยียม อิตาลี ลักเซมเบอร์ก และเนเธอร์แลนด์ ได้ตกลงร่วมมือสมัครเข้าเป็นสมาชิก และได้จัดตั้งเป็นองค์การ
ECSC อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2494
ต่อมาผู้นำประเทศทั้ง 6 ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การป้องกันยุโรป (European Defence Council: EDC) ขึ้นอีกองค์การหนึ่ง
เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มีความร่วมมือกันทางการเมือง และเพื่อเป็นการสนับสนุนองค์การนาโตด้วย และในการจัดตั้งองค์การนี้จะทำให้ยุโรปมีกองทัพที่สมบูรณ์ แต่
EDC ก็ไม่สามารถดำเนินงานไปได้ เพราะรัฐสภาของฝรั่งเศสไม่ยอมให้สัตยาบัน แต่ด้วยความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องมีนโยบายต่างประเทศร่วมกัน เพื่อจะให้กองทัพมีบูรณภาพ
รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้ง 6 จึงมอบหมายหน้าที่ให้สภาของ ECSC เตรียมโครงการจัดตั้งประชาคมการเมืองยุโรป (European Political
community: EPC) ขึ้น เพื่อเสนอต่อรัฐบาลของประเทศทั้ง 6 องค์การ EPC มีจุดประสงค์ที่จะดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ
แต่ก็ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง ดังนั้น EPC จึงต้องเลิกล้มโครงการไป ต่อมาประเทศทั้ง 6 ก็เปลี่ยนแนวทางจากการรวมตัวทางการเมืองมาเป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจแทน
และได้ร่วมมือกันก่อตั้งกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือตลาดร่วมยุโรป (The European Economic Community : EEC )
และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป หรือยูเรตอม (European Atomic Energy Community : EAEC หรือ Euratom)
ขึ้นใน พ.ศ.2500 การก่อตั้งองค์การทั้ง 2 นี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญของยุโรปตะวันตก คือ ECSC, EEC
และ EAEC โดยเฉพาะองค์การ EEC และ EACE นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ECSC มาก แต่มีอำนาจน้อยกว่า ECSC และต่อมาเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่งคง
ให้แก่ทวีปยุโรป จึงมีการรวมองค์การบริหารของ ECSC, EEC และ EAEC เข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า ประชาคมยุโรป (European Community): EC)
ในพ.ศ. 2510 เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 EC เปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพยุโรป (European Union :
EU) เพราะนอกจากจะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นองค์การความร่วมมือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกด้วย
ในปัจจุบัน สหภาพยุโรป มีสมาชิกทั้งสิ้น 15 ประเทศ (พ.ศ. 2543) โดยได้รับสมาชิกใหม่เข้าร่วมตามลำดับก่อนหลังดังนี้
สมาชิกดั้งเดิม คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์
พ.ศ.2516 คือ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร
พ.ศ.2522 คือ กรีซ
พ.ศ.2529 คือ โปรตุเกส สเปน
พ.ศ.2538 คือ ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
1. เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
2. เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรขาวยุโรปให้ดีขึ้น
3. เพื่อจัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ ทางการค้าระหว่างประเทศ
ผลการปฏิบัติงาน
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2525 ปรากฏว่าสหภาพยุโรป ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน มีมูลค่าสูงถึง 25 เท่าของ พ.ศ. 2501
และในการค้ากับต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หากเปรียบเทียบการค้าใน พ.ศ. 2501 และ 2525 แล้ว ปรากฏว่าสหภาพ ยุโรปส่งสินค้าออก
ไปยังกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีมูลค่าถึง 18 เท่า และสั่งสินค้าเข้าสูงถึง 13 เท่าของ พ.ศ.2501 ทั้งนี้เพราะสหภาพยุโรปได้เลิกการจำกัดปริมาณสินค้าเข้า
และยกเลิกระบบภาษีศุลกากรจากประเทศสมาชิกอย่างเด็ดขาดและลดหย่อนข้อจำกัดอื่นๆ แก่ประเทศนอกลุ่มสมาชิกลง
สหภาพยุโรปได้พัฒนาไปจนเกือบถึงระดับเป็สหภาพเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบอันเป็นชั้นสูงสุดของการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปจึงได้ก้าวขึ้นมาเป็น
องค์การความร่วมมือทางด้านการเมือง คือ พ.ศ. 2534 สภาสหภาพยุโรป ได้คัดเลือกเจ้าหน้าที่บริหารขึ้นมา 20 คน เพื่อจัดให้มีการประชุมมาระหว่างประเทศ
และดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญามาสตริกต์ (Maastricht Treaty, 1992) ในการที่จะให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เงินหน่วยเดียวกัน
ตั้งแต่ พ.ศ.2542 หรืออย่างช้าไม่เกิน พ.ศ.2545 และกำหนดกรอบนโยบายป้องกันประเทศ และนโยบายต่างประเทศร่วมกัน แต่การดำเนินการดังกล่าวยังต้องประชุมปรึกษาหารือกันต่อไป ทั้งนี้เพราะประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ต่างมีภาวะเศรษฐกิจ สังคม และประชากรแตกต่างกัน
สำหรับความคืบหน้าในด้านความร่วมมือกันทางการเงิน สหภาพยุโรปได้ตั้งธนาคารกลางยุโปรขึ้น เมื่อ พ.ศ.2541 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2542 สมาชิกสหภาพยุโรป 11 ประเทศ (ยกเว้น สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ) ได้เริ่มร่วมกันใช้เงินสกุลเดียว เรียกว่า เงินยูโร
โดยในระยะแรกจะใช้เงินนี้ในระบบบัญชีไปก่อน ส่วนการใช้เงินสดยังคงใช้เงินประจำชาติจนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 จึงจะมีธนบัตรและเหรียญยูโรเข้าสู่ระบบเงิน
ของสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 11 ประเทศที่ใช้เงินสกุลเดียว
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มสหภาพยุโรป
1. ด้านการเมือง ไทยกับประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์อันดีตลอดมา โดยมีผู้นำของแต่ละฝ่ายได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับ
ความสัมพันธไมตรีต่อกัน
2. ด้านการค้าขาย ไทยได้มีการค้าขายกับประเทศสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรปมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน โดยเฉพาะกับสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส
เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และเดนมาร์ก กระทั่งถึงปัจจุบัน ไทยก็ยังมีสัมพันธไมตรีทางการค้ากับประเทศเหล่านี้อยู่ สินค้าสำคัญของไทยที่ส่งให้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มประเทศ
ในสหภาพยุโรป ได้แก่ มันสำปะหลัง สิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล และยานยนต์
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยมักจะได้รับความสนใจและความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรปอยู่บ่อยๆ เช่น การส่งนักวิชาการและ
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ มาให้คำแนะนำหรือเป็นที่ปรึกษาโครงการต่างๆ และการให้ทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเหล่านั้น
ที่มา
สหภาพยุโรป. (2553). ค้นเมื่อ กันยายน 22, 2553, จาก
http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/
Org-Inter/EU.htm
|
|