ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม

ANUBAN CHAICHUMPOLCHANASOGNCRAM SCHOOL
คำขวัญโรงเรียน ศึกษาดี กิจกรรมเด่น เน้นคุณธรรม นำสังคม

ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม

โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ตั้งอยู่ที่ 202 ถนนไชยชุมพล ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71000 โทรศัพท์ 034-511264 โทรสาร 034-517529 สอนตั้งแต่ระดับ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม เดิมชื่อ โรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม เริ่มจัดตั้งเป็นโรงเรียนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นสถานที่เรียน มีนายบัว อำนวย เป็นครูใหญ่คนแรก

พ.ศ. 2480 นายสนอง บุณยปรรณานนท์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในปีนี้ทางอำเภอได้มอบหมายกิจการของโรงเรียนให้เทศบาลเมืองกาญจนบุรีดำเนินการถึง พ.ศ. 2483 เทศบาลได้โอนให้อำเภอดำเนินการ เพราะเทศบาลไม่สามารถดำรงโรงเรียนอยู่ได้

พ.ศ. 2488 กระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้โรงเรียนในเขตเทศบาล ให้เทศบาลเป็นผู้ดำเนินการอีก เพราะเทศบาลเป็นท้องที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่จึงต้องโอนไปเทศบาลเป็นครั้งที่ 2

พ.ศ. 2490 เทศบาลได้โอนกิจการของโรงเรียนให้ อำเภอเป็นผู้ดำเนินการ โดยให้อยู่ในความปกครองดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2494 นายสุพัฒน์ ฟูศันศนียโรจน์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญสร้างอาคารเรียน ขนาด 8 ห้องเรียน แต่ก็ยังไม่พอเรียน

พ.ศ. 2497 นายจำรูญ คำเทศ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ในปีนี้จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องอาศัยเรียนที่โรงเรียนปริยัติธรรมอีก 2 ห้องเรียน

พ.ศ. 2498 นายจำเนียร คำปุ้ย มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในปีนี้โรงเรียนมัธยมจังหวัดชาย “วิสุทธรังษี” ซึ่งมีอาคารเรียนอยู่ในบริเวณเดียวกันได้ย้ายไปสถานที่ใหม่ ทางราชการจึงมอบอาคารเรียนตึก 2 ชั้น ขนาด 14 ห้องเรียน ของโรงเรียนวิสุทธิรังสีให้กับโรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ซึ่งเพียงพอกับจำนวนนักเรียนในขณะนั้น

พ.ศ. 2499 ทางราชการได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นเป็นโรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม และแต่งตั้ง นายกูล มณีกุล เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2501 ทางราชการได้รวมเป็นโรงเรียนเดียวกัน โดยให้ นายจำเนียร คำปุ้ย เป็นครูใหญ่ โดยย้าย นายกูล มณีกุล ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนพนมทวนชณูปถัมภ์

พ.ศ. 2502 นายบุญทรง พ่วงผล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายจำเนียร คำปุ้ย ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ฝ่ายสามัญศึกษาประจำจังหวัดกาญจนบุรี

พ.ศ. 2504 นายจำรูญ คำเทศ ดำรงตำแหน่งแทน นายบุญทรง พ่วงผล ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดกาญจนบุรี

พ.ศ. 2505 นายอัมพร บุณยายน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายจำรูญ คำเทศ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดถ้ำมังกรทอง

พ.ศ. 2507 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา สร้างโรงฝึกงาน (อาคารเอนกประสงค์) แบบ 312 ขนาด 7 ? 17.50 เมตร เป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท

พ.ศ. 2508 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา สร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 แบบ 015 อาคารไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 330,000 บาท และคณะกรรมการศึกษาของโรงเรียนซึ่งมีพระมหาไพบูลย์ กลีบทอง เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงครามผู้อุปการะโรงเรียนได้ขอเปลี่ยนแปลงรายการเป็น อาคารตึก 2 ชั้น ผนังภายนอกฉาบหินล้าง คณะกรรมการศึกษาได้หาเงินสมทบอีก 200,000 บาท และทำพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยมีนายชวย แสงชูชาติ รองอธิบดีกรมสามัญเป็นประธาน

พ.ศ. 2509 นายอัมพร บุณยายน ลาออกจากราชการ ทางราชการจึงแต่งตั้ง นายบุญช่วย ถนอมมิตร ทำหน้าที่ครูใหญ่แทน

พ.ศ. 2510 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา สร้างอาคารหลังที่ 3 โดยส่วนหนึ่งได้รับงบประมาณจากทางราชการ และอีกส่วนหนึ่งได้จากการอุปการะของ “พระธรรมคุณาภรณ์” เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม

พ.ศ. 2516 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารเรียนหลังที่ 4 เป็นอาคารตึก 2 ชั้น จำนวน 6 ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นห้องประชุม และห้องเรียนจำนวน 2 ห้อง งบประมาณทั้งสิ้น 1,170,000 บาท และคณะกรรมการศึกษาขอเปลี่ยนแปลงรายการผนังภายนอกเป็นหินล้าง และพื้นหินขัด

พ.ศ. 2518 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติงบประมาณให้สร้างบ้านพักครูแบบเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง ขนาด 2 ห้องนอน 1 หลัง เป็นเงิน 75,000 บาท

พ.ศ. 2519 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง งบประมาณเท่ากับหลังที่ 1 และให้งบประมาณสร้างส้วมขนาด 8 ที่นั่ง อีก 1 หลัง เป็นเงิน 40,000บาท

พ.ศ. 2520 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้โรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม เปิดเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยกำหนดให้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน และงดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้ยุบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเดิม

พ.ศ. 2523 กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้โอนโรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม จากสังกัดกองการประถมศึกษากรมสามัญศึกษา มาขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2526 โรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนที่มีผู้บริหารเป็นระดับผู้อำนวยการ ระดับ 7 มีนายบุญช่วย ถนอมมิตร เป็นผู้อำนวยการคนแรก

พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 54,000 บาท สร้างห้องน้ำ ห้องส้วม สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก จำนวน 5 ห้อง

พ.ศ. 2528 นายชัยวัฒน์ คำอินทร์ รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน นายบุญช่วย ถนอมมิตร ซึ่งลาออกจากราชการ

พ.ศ. 2536 นายสำรวย คล้ายสินธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนจัตุรัสวิทยานุกูล จังหวัดชัยภูมิ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน นายชัยวัฒน์ คำอินทร์ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี

พ.ศ. 2541 ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในปีเดียวกัน นายดำรงรัตน์ เชื้อรุ่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดทุ่งมะสัง (มิตรภาพที่ 9) อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน นายสำรวย คล้ายสินธุ์ ซึ่งได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี

พ.ศ. 2542 ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนศูนย์ปฏิรูปการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1) ห้อง สหวิทยาการวิทยาศาสตร์ 2) ห้องวิทยาการภาษาไทย 3) ห้องสหวิทยาการพลานามัย

พ.ศ. 2543 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาต้นแบบ (Modern School NetWork: MSN) ในปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งเป็นโรงเรียนสหวิทยาเขตอนุบาลอำเภอเมืองกาญจนบุรี โดยใช้ชื่อว่า“โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม” และเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น

9 มีนาคม 2545 พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ได้มอบห้องสมุด จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,000,000 บาท ทั้งนี้ การดำเนินงานของโรงเรียน นอกเหนือจากงบประมาณของทางราชการ ได้รับความอุปการะส่งเสริมด้านการศึกษา สนับสนุน และอุปถัมภ์ในทุกเรื่อง เช่น สร้างห้องประชุม สร้างอาคารเรียนใหม่ ฯลฯ จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมคุณาภรณ์ (ไพบูลย์ กลีบทอง) เปรียญ 8 เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงครามเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าประสงค์ มีผู้ปกครองไว้วางใจส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียน โดยมีจำนวนนักเรียนสูงขึ้นทุกปี

6 ตุลาคม 2547 วัดไชยชุมพลชนะสงคราม มอบอาคารเรียน 72 ปี เจ้าคุณไพบูลย์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนแบบกรมการปกครอง ขนาดสูง 4 ชั้น จำนวน 16 ห้องเรียน ให้กับโรงเรียนอนุบาล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง เป็นเงิน 9,350,000 บาท (เก้าล้านสามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

8 ธันวาคม 2554 นายบุญเสริฐ เกิดแย้ม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังลาน มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน นายดำรงรัตน์ เชื้อรุ่ง ซึ่งเกษียณอายุราชการ

วิสัยทัศน์/ปรัชญา

จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก มีวิถีชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สุขภาพดี มีคุณธรรม ด้วยการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ มุ่งสู่มาตรฐานสากล

พันธกิจ/เป้าประสงค์

1.บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดยเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ

2.สร้างผู้เรียนให้มีความเป็นพลโลกและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย มีวิถีชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีสุขภาพดี

4.ส่งเสริมศักยภาพบุคลากรให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ พัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน

อัตลักษณ์

เด็กวัดไชย ไหว้สวย

เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน

หมู่ที่ 1 หมู่บ้านลิ้นช้าง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

หมู่ที่ 2 หมูบ้านเขาแหลม ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

หมู่ที่ 12 หมู่บ้านลุ่มดงกระเบา ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

แนะนำโรงเรียน โดย นางสาวชฎารมย์ สุทธิอภิวัฒน์

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:September 2010


Send comments to Chumpot@hotmail.com