ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ครูยุคปฏิรูป

ครูยุคปฏิรูป
ผู้แต่ง: สิริมา หมอนไหม
ชื่อเรื่อง: ครูยุคปฏิรูป
เลขหมู่หนังสือ: 371.1/ส732ค

สรุปเนื้อหา

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2542 ประเด็นการปฏิรูปการศึกษาของชาติได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงและอยู่ในความสนใจของนักวิชาการ และประชาชนทั่วไป โดยมีความพยายามที่จะแก้ไขจุดบกพร่องของกระบวนการจัดการศึกษาของประเทศ และพัฒนาการศึกษาให้สามารถพัฒนาคนของประเทศให้มีศักยภาพ เพียงพอที่จะดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ความพยายามดังกล่าวปรากฎผลชัดเจนนับแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เจตนาให้การศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน คุ้มครองสิทธิ สร้างความเสมอภาคให้โอกาสทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและให้โอกาศแก่ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาซึ่งบัญญัติ ไว้มาตรา 43 ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการสคกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ เป็นฉบับคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารงานและจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้กับทุกคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม เด็กพิการ หรือดอยโอกาศกลุ่มต่างๆ ที่ระบุไว่อย่างชัดเจน ในหมวด 2 สิทธิและหน้าที่ในการศึกษา มาตรา 10วรรค 2 ว่าการจัดการศึกษา สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลที่ไมาสามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาศ ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาศได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษโดยมีหลักการจัดการศึกษาที่ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนความสำคัญที่สุด

ที่มา:

สิริมา หมอนไหม. (2543).การศึกษาพิเศษ: องค์ความรู้และ

กระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com