บันทึกอิสรชน: ทินกรณ์ของผู้ต้องคุมขังโดยข้อหากบฏ
364.13
บันทึกอิสรชน: ทินกรณ์ของผู้ต้องคุมขังโดยข้อหากบฏ
ผู้แต่ง: กุหลาบ สายประดิษฐ์
ชื่อเรื่อง: บันทึกอิสรชน: ทินกรณ์ของผู้ต้องคุมขังโดยข้อหากบฏ
สรุปเนื้อหา
ระหว่างปลายสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง โดย
พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้นำคนหนึ่งของคณะราษฎรที่ฝักใฝ่ในระบอบเผด็จการ ปกครองประเทศด้วยระบอบอัตตาธิปไตยและคณาธิปไตย
นั้น นามของคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ชั้นนำของยุคก็เป็นเสมือนธงชัยแห่งการเรียกร้องเสรีภาพหนังสือพิมพ์ที่สูงเด่นจนกระทั่งถึงมี
บทบาทต่อต้านการปกครองที่เป็ฯเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นอัตตาธิปไตยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ.2481 ถึง พ.ศ. 2487 และคณาธิปไตย(โดยคณะรัฐ
ประหาร) พ.ศ. 2491 ถึง พ.ศ.2500ระหว่างยุคดังกล่าวประชาธิปไตยของไทยกำลังแตกหน่อรอการรดน้ำพรวนดินจากนักประชาธิปไตยทั้งหลาย ซึ่งสืบสานความริเริ่ม
ของคณะราษฎร โดยเฉพาผู้นำที่เป็นทหารอาชีพและผู้นำพลเรือนที่มีจิตใจสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงซึ่งได้แก่พระยาพหลพลพยุหเสนาและหลวงประดิษฐ์
มนูธรรมหากแต่หลวงพิบูลสงครามไม่เป็ฯแม่ทัพผู้ชนะในสงครามกลางเมือง(กบฏบวรเดช) จึงได้เป็น strong man ของเมืองไทย และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สืบต่อพยาพหลฯ จากวาระนั้นเป็ฯต้นมา หลาวงพิบูลสงครามก็ได้เป็ฯผู้นำประเทศ ตั้งตนเป็นจอมพลและผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ที่มา:
กุหลาบ สายประดิษฐ์.(2544). บันทึกอิสรชน: ทินกรณ์ของผู้
ต้องคุมขังโดยข้อหากบฏ. กรุงเทพฯ: มติชน.
|