banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

กฏหมายเบื้องต้นสำหรับประชาชน

340
การคุ้มครองผู้บริโภค

ผู้แต่ง: กระทรวงยุติธรรม
ชื่อเรื่อง: กฏหมายเบื้องต้นสำหรับประชาชน

สรุปเนื้อหา

คำว่า "ผู้บริโภค" หมายถึงผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบการธุรกิจและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วยซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2522 และกำหนดสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 4 ว่าผู้บริโภคมีสิทธิได้ร้บความคุ้มครอง 4 ประการคือ
1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
2.สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้า หรือบริการ
3.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจาการใช้สินค้า หรือบริการ
4.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย
ทั้งนี้ตามที่กฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ หรือพระราชบัญญัตินี้ บัญญัติไว้
โดยกำหนด องค์กรขึ้นเรียกว่า "คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค" ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรม กรรมการซึ่งมีคณะกรรมการทั้งสิ้นไม่เกิน 13 คน สำหรับในส่วนภูมิภาคได้แก่ คระอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการและผู้แทนส่วนราชการต่างๆเป็นอนุกรรมการ
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ
2.ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป้นอันตรายแก่ผู้บริโภคตามมาตรา 36
3.แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้บริโภคในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือบริการหรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจด้วยก็ได้
4.ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องและพิจารณาวินิจฉัยการอุทธรณ์คำสั้งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
5.วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องและคณะอนุกรรมการ ฯลฯ

ที่มา:

กระทรวงยุติธรรม. (2540). กฏหมายเบื้องต้น

สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ :
ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002