|
เศรษฐศาสตร์จุลภาค MICROECONOMICS
338.5
การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ผู้แต่ง: พรพิมล สันติมณีรัตน์
ชื่อเรื่อง: เศรษฐศาสตร์จุลภาค MICROECONOMICS
สรุปเนื้อหา
ระบบทุนนิยม ปัญหา ผลิตอะไร ถูกตัดสินโดยภาคเอกชน เพราะเอกชนจะเป้นเจ้าของของทรัพยากรในฐานะผู้ผลิต เช่นเดียวกับเป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายดังคำที่ว่า "ผู้บริโภค คือ ราชา" ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าและบริการ จะเป็นสิ่งตัดสินว่า สินค้าใดถูกผลิต และเป็นจำนวนเท่าไร ทรัพยากรจะถูกนำไปผลิต
สินค้าเหล่านั้น ปัญหาต่อไปจะผลิตอย่างไร การแก้ปัญหานี้มีกำไร (Profits) เป้นสิ่งจูงใจ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมจะพยายามเสียค่าใช่จ่ายน้อยที่สุดในการจ้างทรัพยากร และใช้วิธีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับปัญหา เพื่อใคร กลไกราคา (Price) จะเป็นตัวตัดสินผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรการผลิตได้รับรายได้ ขณะเดียวกันจะเป็นผู้จ่ายซื้อสินค้า
และบริการเพื่อบริโภค ในระบบทุนนิยมกล่าวได้ว่า การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ตลาด (Market) จะมีบทบาทสำคัญ ตลาดคือ สถานภาพที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้พบกันเพื่อการเจรจาต่อรองและตกลงราคา จนเกิดการซื้อขายในที่สุด
ระบบสังคมนิยม รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนจากส่วนกลางในการตัดสินใจว่า ผลิตอะไร รัฐบาลจะสั่งการให้ผลิตสินค้าและบริการ โดยเชื่อมั่นว่าเป้นเป้าหมายที่ดีที่สุดต่อสังคมส่วนรวม จากนั้นจะกำหนดจำนวนทรัพยากร และใช้วิธีการผลิตอย่างไร รัฐบาลจะจัดสรรทรัพยากรในลักษระที่เชื่อว่าเป้นแนวทางที่เหมาะสม โดยไม่คำนึงถึงความพอใจ แม้แต่ผู้เป็นเจ้าของแรงงานเอง
ปัญหาผลิตเพื่อใคร ยังคงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการกำหนดว่าใครจะได้รับสินค้าและบริการไปบริโภคในที่สุด เช่น ใช้วิธีแจกใครมาก่อนได้ก่อน หรือการปันส่วน เป็นต้น กลไกราคา หรือ กลไกตลาด ไม่ทำงานในระบบสังคมนิยม
ปัจจุบันพบว่า ระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะเป็นระบบผสมแม้แต่ สหภาพโซเวียตหรือสาธาณรัฐประชาชนจีน ก็ยินยอมให้เอกชนเป็นเจ้าของทรัพยากรในสังคมได้ เช่น พื้นที่การเกษตร และอุตสาหกรรมบางแห่ง ฉะนั้นระบบเศรษฐกิจแบบผสม พบว่า กิจการบางชนิดรัฐบาลจะเป็นผู้ดำเนินการ และกิจการบางชนิดเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการเอง เช่น ในระบบเศรษฐกิจไทย
พบว่า รัฐบาลจะเป็นผู้ดำเนินการสำหรับสินค้าและบริการด้านสาธาณูปโภค เช่นไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การคมนาคม อาวุธและการป้องกันประเทศส่วนเอกชนมีสิทธิดำเนินการในสินค้าและบริการทั่วไป ทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่ว่าสังคมใด จะเป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนไปทางระบบทุนนิยม หรือค่อนไปทางระบบสังคมนิยม
ที่มา: พรพิมล สันติมณีรัตน์. (2541). เศรษฐศาสตร์ จุลภาค (Microeconomics).
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
|
|