รัฐบาลกับช่องว่างทางรายได้ของประชาชน
332.1
ความสำคัญของปัญหาการกระจายรายได้
ผู้แต่ง: เมธี ครองแก้ว
ชื่อเรื่อง: รัฐบาลกับช่องว่างทางรายได้ของประชาชน
สรุปเนื้อหา
ความจริงแล้ว การกระจายรายได้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งวิชาเศรษศาสตร์มาตั้งแต่ดังเดิม ถ้าหากเรรสรุปง่ายๆ ว่า เศรษฐศาสตร์คือ วิชาที่ศึกษาถึงปัญหาว่า เราจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดทำอะไร (what) อย่างไร (how)
และเพื่อใคร (for whom) จึงจะได้ประโยชน์สุทธิมากที่สุด การกระจายรายได้ก็คือการศึกษาเกี่ยวกับภาคว่าจะผลิตเพื่อใครนั่นเอง เดวิด ริคาร์โด เคยกล่าวว่า ผลผลิตของโลกสามารถแบ่งออกได้เป็น ค่าเช่า กำไรและค่าจ้าง การกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะใช้กับการกระจายผลผลิต
นี้แหละ คือปัญหาหลักของวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือเศรศฐกิจการเมือง (Political economy) และจอห์น สจ๊วท มิลล์ ก็ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า มีแต่ประเทศที่ด้อยพัฒนาในโลกนี้เท่านั้นที่การเพิ่มผลผลิตยังเป็นเป้าหมายที่สำคัญอยู่ สำหรับประเทศที่เจริญแล้วสิ่งซึ่งมีความจำเป็นกว่า
ในทางเศรษฐศาสตร์ คือ การกระจายผลผลิตที่ดีขึ้น แสดงว่าผู้ริเริ่มการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ได้เห็นความสำคัญของการกระจายรายได้มาตั้งแต่สมัยเริ่มต้นของวิชานี้
แต่ความสนใจในการกระจายรายได้ในยุคต้นๆ นั้น ส่วนใหญ่เป็นการกระจายรายได้ของกลุ่มปัจจัยการผลิต (Functional Distribution of Income หรือ Factor Pricing) เช่นศึกษาว่า ค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่าที่ดิน หรือ อัตราดอกเบี้ย ถูกกำหนดขึ้นได้อย่างไรซึ่งในปัจจุบันนี้ได้คลายความสำคัญลงไป
เนื่องจากมีเรื่องการกระจายรายได้อีกประเภทหนึ่งเข้ามาแทนที่ การกระจายรายได้ประเภทที่เรากำลังพูดถึง และกำลังจะทำการศึกษาวิจัยนี้ คือการกระจายรายได้ระหว่างบุคคล (Personal Income Distribution) หรือการกระจายรายได้ตามขนาดชั้นของผู้มีรายได้ (Distribution of Income by Size)
ซึ่งเพิ่งจะเริ่มมีผู้ศึกษาอย่างจริงจังในระยะ 30-40 ปีที่แล้วมานี้เอง ความสำคัญจองการกระจายรายได้ประเภทหลังนี้อยู่ที่ตรงที่การใช้บุคคลหรือครอบครัวเป็นหน่วยในการศึกษา ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจมากกว่าการพิจารณาผลตอบแทนของปัจจัยในการผลิตรวมๆ กันไป
ที่มา:
เมธี ครองแก้ว.(2523).รัฐบาลกับช่องว่างทาง รายได้ของประชาชน.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
|