|
สาระน่ารู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า
332.1
พลังงานไฟฟ้า
ผู้แต่ง: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: สาระน่ารู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า
สรุปเนื้อหา
พลังงานไฟฟ้าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ การใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ การนำพลังานไฟฟ้ามาใช้นั้นเริ่มต้นจากการสร้างระบบ
ผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือโรงไฟฟ้า แล้วจึงส่งพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงไปยังระบบจำหน่ายเพื่อแจกจ่ายไปขายแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละส่วนดังนี้
ระบบพลังงานไฟฟ้า (Power Generation System) หมายถึง ระบบที่มีการแปรสภาพพลังงานในรูปอื่นๆ มาเป็นพลังงานไฟฟ้า ในปัจจุบันการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีปริมาณมากๆ ได้จาการแปร
สภาพพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานกลดังกล่าวใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องกังหันทีมีแกนร่วมกันกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยที่แหล่งกำเนิดพลังงานกลอาจได้จากการแปรสภาพพลังงานรูปอื่นๆ เช่น พลังงานความร้อนและพลังงานน้ำ
ฯลฯ เป็นต้น นั่นคือระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือโรงไฟฟ้าเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญที่ทำให้มีไฟฟ้าใช้ การผลิตไฟฟ้ามีสาระสำคัญ 2 ประการคือ
(1) "กำลังผลิต" หมายถึงความสามารถที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด หน่วยของกำลังผลิตเรียกชื่อเป็น "วัตต์ กิโลวัตต์และเมกะวัตต์"
(2) "พลังงานไฟฟ้า" ซึ่งหมายถึงกำลังผลิตควบคู่กับระยะเวลาที่ทำการผลิตหรือในแง่ของการใช้ไฟฟ้าจะหมายถึงความสิ้นเปลืองไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งก็คือกำลังไฟฟ้าที่ใช้ควบคู่กับระยะเวลาในการใช้ไฟฟ้ามีหน่วยเรียกเป็น "วัตต์-ชั่วโมง" หรือ "กิโลวัตต์-ชั่วโมง"
โดยทั่วไปแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีระดับไม่เกิน 20 กิโลโวลต์ (kV) ทั้งนี้เนื่องมาจากขีดจำกัดทางด้านฉนวนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจะส่งผ่านหม้อแปลง เพื่อยกระดับแรงดันให้สูงขึ้นและส่งพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบส่งพลังงานไฟฟ้าต่อไป
ที่มา: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2542). สาระน่ารู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
|
|