ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

วิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ไทย

332.12
ธนาคารพาณิชย์

ผู้แต่ง: เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
ชื่อเรื่อง: วิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ไทย

สรุปเนื้อหา

ความเป็นมาของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น อาจจะพิจารณาควบคู่กับการถูกบังคับให้ เปิดประตูทำการค้ากับต่างประเทศด้วยการทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับประเทศอังกฤษในปี 2398 กับประเทศฝรี่งเศสและสหรัฐอเมริกาในปี 2499 และกับประเทศยุโรปอื่นๆ และญี่ปุ่นในสมัยต่อมา การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตั้งแต่เริ่มครั้งแรกในปี 2431 เป็นต้นมาจนถึงการเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองในปี 2484 เป็นการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น การขยายกิจการ ของระบบธนาคารพาณิชย์มีส่วนเกี่ยวพันโดยตรงกับปริมาณการค้าต่างประเทศ
การก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ของไทยก่อตั้งโดยพระราชวงศ์ร่วมกับชาวจีน การก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ของพระราชวงศ์ได้เริ่มต้น อย่างมีขั้นตอนโดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยทรงเป็นผู้ริเริ่ม เริ่มต้นในรูปของสำนักงานรับฝากเงินโดยเรียกชื่อว่า "บุคคลุภย์" หรือเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Book Club" โดยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2447 ด้วยทุนดำเนินการ 30,000 บาท กิจการของบุคคลัภย์ได้ขยายตัวเจริญเติบโตเป็นลำดับ และได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นธนาคารเรียกชื่อว่า " แบงก์สยามกัมมาจลจำกัด" เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2449 โดยได้กำหนดไว้ว่าหุ้นของธนาคารส่วนใหญ่จะต้องเป็นของคนไทย

ที่มา:

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2536).

วิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ไทย.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com