|
พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย
321.4
พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย
ผู้แต่ง: ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ชื่อเรื่อง: พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย
สรุปเนื้อหา
สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศ
กล่าวโดยทั่วไป ประมุขของประเทศซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ ย่อมมีจุดเด่นเหนือประมุขของประเทศแบบอื่น ๆ และย่อมทรงแก้ไขวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าประมุขของประเทศแบบอื่น
ฐานะของพระมหากษัตริย์กับประมุขของประเทศแบบอื่นๆ
โดยปกติพระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง ดังนั้นจึงทำให้พระมหากษัตริย์กลายเป็นสถาบันหลักอีกสถาบันหนึ่ง
ซึ่งไม่อาจจะแยกออกจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยได้ เราจึงเรียกระบอบการปกครองนี้กันโดยทั่วไป ว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ย่อมมีจุดเด่นกว่าประมุขของประเทศในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดี หรือประธานสภาประชาชน ในรูปแบบการปกครองใดก็ตาม ทั้งนี้
เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ด้วยเหตุนี้ กิจการใดก็ตามที่เกี่ยวพันกับการเมือง จะต้องมีผู้รับผิดชอบแทนพระองค์อยู่เสมอ ซึ่งได้แก่ผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั่นเอง นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์
จะไม่ทรงแสดงพระราชทรรศนะใดๆ อันเกี่ยวกับการเมือง หรือสถานการณ์บ้านเมือง ในลักษณะที่จะเป็นการส่งเสริมพรรคการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ด้วยทรงเกรงว่าอาจจะไปกระทบกระเทือนทั้งคณะ
รัฐบาลผู้บริหารประเทศหรือพรรคการเมืองฝ่ายค้าน แม้กระนั้นก้ตามประชาชนก็ยังใคร่ที่จะฟังพระราชทรรศนะของพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองอยู่เสมอ
ที่มา: ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2520). พระมหากษัตริย์ไทยใน ระบอบประชาธิปไตย.กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
|
|