ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

20 ความคิดทางการเมือง

320.5
ความคิดทางการเมืองของซิเซโร

ผู้แต่ง: กวี อิศริวรรณ
ชื่อเรื่อง: 20 ความคิดทางการเมือง

สรุปเนื้อหา

ความคิดทางการเมืองของซิเซโร
ในทางการเมือง ซิเซโรได้อธิบายว่าถ้าอำนาจสูงสุดอย่ในมือของคนๆเดียว เราก็เรียกบุคคลนั้นว่าเป็นกษัตริย์ และเรียกการปกครองแบบนี้ว่าราชาธิปไตย แต่ถ้ามีการเลือกราษฎรขึ้นมามีอำนาจกลุ่มหนึ่ง เราเรียกการปกครองเช่นนี้ว่า คณาธิปไตย และถ้าอำนาจทางการปกครองทั้งหมดอยู่ในมือของประชาชน เราเรียกว่า ประชาธิปไตย การปกครองทั้ง 3 แบบที่กล่าวมานั้น ซิเซโร บอกว่ามีความบกพร่องในตัวเอง กล่าวคือ ไม่มีความคงทนถาวร เพราะในที่สุดแล้วราชาธิปไตยอาจเปลี่ยนไปเป็นการปกครองแบบเผด็จการ และประชาธิปไตยอาจเปลี่ยนไปเป็นการปกครองโดยฝูงชนที่ขาดความรับผิดชอบได้

ความคิดทางการเมืองของอริสโตเติล
ประชาธิปไตยในความหมายของอริสโตเติล คือการปกครองแบบหนึ่งที่ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจโดยตรง ด้วยการประชุมพิจารณาตัดสินปัญหาในที่ชุมชนใหญ่โดยตรง และทำการเลือกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง บางคนมีความเห็นว่าประชาธิปไตย แบบต่างๆ ในสมัยกรีกโบราณ เป็นประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ทั้งนี้เพราะประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองด้วยตัวเองในทุกกรณีที่มีปัญหาขัดแย้งสำคัญไม่ต้องผ่านตัวแทน การที่ประชาชนทำการตัดสินปัญหาด้วยตัวของเขาเองโดยตรงนั้น เป็นลักษณะที่แท้จริงของประชาธิปไตยตามความคิดทางการเมืองของอริสโตเติล แต่อริสโตเติลกลับถามปัญหาข้อนี้ว่าประชาธิปไตยดังกล่าวนี้เป็นประชาธิปไตยบริสุทธิ์จริงหรือ

ความคิดทางการเมืองของเปลโต
อุดมรัฐเป็นผลงานกล้าแข็งทางความคิดของเปลโต เป็นงานชิ้นใหญ่ของปรัชญาการเมือง อุดมรัฐพิจารณาถึงการศึกษา เศรษฐกิจ ปรัชญาธรรม ประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องของมนุษย์ส่วนมาก ซึ่งมีส่วนต่อความเจริญเติบโตของชีวิตแลสังคม เรื่องทั้งหมดเกี่ยวข้องอยู่ภายในขอบเขตเรื่องราวของรัฐ เปลโตกล่าวว่าชีวิตที่ดีและสถานะของราษฎรที่ดีต้องอยู่ในรัฐที่ดีด้วยเช่นกันความคิดนี้ดูประหลาดไปจากสภาพความจริง แต่เปลโตก็มุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะให้เป็นเช่นนั้น และพยายามที่จะสร้างระบบซึ่งจะช่วยให้เกิดชีวิตที่ดี เปลโตถือว่าสิ่งดีและความจริงซึ่งถ้าหากค้นพบและได้ใช้ปฏิบัติแล้ว ก็จะเสริมสร้างและรักษาชีวิตที่ดีในรัฐที่ดี ดังนั้นจึงพยายามคิดสร้างศาสตร์ทางการเมืองหรือสังคมขึ้น เปลโตได้รู้ว่ารัฐในอุดมคติของตนไม่มีตัวตนอยู่ แต่ก็ตระหนักว่าที่จริงมันควรจะเป็นอย่างเช่นที่ตนคิด

ที่มา:

กวี อิศริวรรณ. (ม.ป.ป.). 20 ความคิดทางการ

เมือง. กรุงเทพฯ :สยามบรรณ.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com