|
ความคิดทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์
320.5
ความคิดทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์
ผู้แต่ง: ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ชื่อเรื่อง: ความคิดทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์
สรุปเนื้อหา
ความคิดทางการเมืองของ ปรีดี พนมยงค์ : การทบทวน
หลังจากที่ได้เสนอแนวความคิดทางการเมืองของท่านปรีดีแล้ว ในตอนนี้เราจะพิจารณาทบทวนประเด็นสำคัญๆ ซึ่งจะช่วยให้เห็นแก่นความคิดในโครงร่างทางทฤษฎีชัดเจนขึ้น เราได้เห็นมาแล้วว่า
ความคิดทางการเมืองของท่านทั้งสองระยะมีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน และบรรลุถึงจุดสุดยอดอันเป็นระบบความคิดในระยะหลัง การทบทวนในบทนี้จึงมุ่งที่ประเด็นความคิดโดยไม่แบ่งแยกระยะเวลา หากแต่จะพิจารณาในโครงร่างส่วนรวม
ว่าด้วยรากฐานความเป็นจริงของโลกและชีวิต
ตามปรัญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย รากฐษนของทั้งสังคมนิยมและประชาธิปไตยคือ วิทยาศาตร์ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาแบบสสารธรรม ด้วยความพยายามที่จะอธิบายปรัชญาสสารธรรม ตามลักษณะแบบประเพณีของปรัชญาตะวันตก
คือเริ่มจากสมุฏฐานของสรรพสิ่ง (โลกและชีวิต) ท่านปรีดีได้เสนอว่า องค์ประกอบพื้นฐานนั้นคือ สสาร โดยใช้ความหมายของวิทยาศาสตร์
ธรรมชาติบ่งว่า สสารหมายถึง ของแข็ง ของเหลว และก๊าส อันเป็น 3 สถานะ
การอธิบายเช่นนี้ เป็นที่เข้าใจได้สำหรับวัตถุ (เช่นในการศึกษาแขนงฟิสิกส์) ซึ่งสามารถชั่งตวง วัด ได้ แต่การนำมาใช้อธิบายตัวมนุษย์กลับมีข้อน่าสงสัย ท่านปรีดีเห็นว่ามนุษย์ต่างจากวัตถุทั้งหลายตรงที่เขามี "จิตสำนึก" หรือ 'จิตใจ' ซึ่งท่านอธิบายว่าเกิดจากอวัยวะสมอง หรือกล่าวอีกแง่หนึ่งคือ จิตใจมีพื้นฐานมาจากร่างกาย (วัตถุ)
มิได้ดำรงอยู่อย่างอิสระเอกเทศในตัวเอง หากแต่เป็น "ปรากฎการณืทางกาย" อย่างหนึ่ง ปัญหาที่ท่านเผชิญในเรื่องนี้ โดยที่ท่านมิได้ให้คำตอบไว้ก็คือ สสารประกอบกันขึ้นเป็นตัวมนุษย์อย่างไร? มันทำงานในลักษณะใด? ข้อพิสูจน์เรื่องที่ว่า "จิตใจ" เกิดจาก
อวัยวะสมองเป็นอย่างไร? นี่เป็นปัญหาซึ่งทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาตร์ก็ยังครุ่นคิดกันอยู่
ที่มา: เฉลิมเกียรติ ผิวนวล. (2529). ความคิดทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
|
|