รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัย
306.8
รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัย
ผู้แต่ง: จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ
ชื่อเรื่อง: รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัย
สรุปเนื้อหา
พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ความคิด และศักยภาพเชิงสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของเด็กแต่ละคน ดำเนิน และการเปลี่ยนแปลงไปในสภาพเงื่อนไขแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต่างๆทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และองค์ประกอบทางสังคมไทยที่ห่อหุ้มคลุมวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน ความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนและเชื่อถือได้เกี่ยวกับสถาวะของเด็กและเยาวชนจะเป็นพื้นฐานในการค้นคว้าวิจัยในเชิงวิชาการและนำไปสู่การกำหนดนโยบายสังคมต่อไป
คณะทำงานได้ตรวจสอบทบทวนวรรณกรรมเรื่องเด็ก เยาวชน และครอบครัวเท่าที่จะบันทึกไว้ในระยะ 10-20 ปีที่ผ่านมา สามารถสรุปสถานะและขอบเขตคล่าวๆขององค์ความรู้เท่าที่มีเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมและสถานะภาพของเด็ก เยาวชน และครอบครัวไทย
1. ครอบครัว สถาบันแรกของเด็กและเยาวชนไทยการศึกษาวิจัยที่ผ่านมามีข้อสรุปที่บ่งชี้ว่า ครอบครัวไทยทั้งในชนบทและในเมืองมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปเป็น ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น จำนวนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น
2.สถานภาพความรู้เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนไทย ครึ่งหนึ่งของเยาวชน 13-24 ปีเข้าสู่แรงงาน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมแต่มีแนวโน้มลดลงทุกที พบว่าแรงงานเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นในภาคพาณิชยกรรมและบริการ และภาคอุตสาหกรรมโดยที่จะย้ายตามครอบครัวเข้าสู่แรงงานในเมือง
3.เด็กในสภาวะยากลำบาก เด็กปรมาณ 6 ล้านคนอยู่ในครอบครัวยากจน เด็กถูกทอดทิ้งเกือบแสนคน เด็กกำพร้าประมาณ 3 แสนห้าหมื่นคน เด็กเร่ร่อนประมาณ 3 แสนเจ็ดหมื่นกว่าคน
4. สถานภาพของเด็กในพื้นฐานวัฒนธรรมและความเชื่อของสังคมไทย พื้นบานแต่ดั้งเดิมที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม ความเชื่อของสังคมไทยในการมองและให้คุณค่าต่อเด็กและเยาวชน คือลักษณะการปกครองแบบพ่อกับลูก
5. การลงทุนเพื่อเด็กในสังคมไทย รัฐบาลไทยลงทุนเพื่อเด็กและเยาวชนประมาณ 7000 บาทต่อคนต่อปีหรือ 3.9%
6. นโยบาย องค์กร และการดำเนินงานเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่ผ่านมายังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ โดยละเลยศักยภาพภาคธุรกิจและเอกชน
7. สถานภาพการวิจัยเรื่องเด็ก เยาวชน และครอบครัวเกือบทั้งหมดเป็นการศึกษาเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวาง ใช้การสำรวจ แบบสอบถาม หรือทดสอบปัจจัยต่างๆ
8. ประเด็นการวิจัยที่อยู่ในอันดับสำคัญ การศึกษาพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลแก้ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานต่างๆนำไปปรับนโยบายและวิธีการทำงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาชนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
9.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายบางประการในการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว
รัฐพึงประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และผลกระทบอันเนื่องจากการที่สังคมไทยลงทุนเพื่อเด็กและเยาวชน
มาตราการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และครอบครัวในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง
ที่มา : จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2541).รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับ สนุนการวิจัย.
|