banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

วิทยาศาสตร์กับสังคม

306.46
วิทยาศาสตร์กับสังคม

ผู้แต่ง: เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช
ชื่อเรื่อง: วิทยาศาสตร์กับสังคม

สรุปเนื้อหา

ปัจจุบันวทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์ซึ่งเป็นผู้สร้างและใช้เทคโนโลยี จึงมีความพยายามที่จะศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ ทางวิทยาศาสตร์สะสมไว้เพื่อสร้างศักยภาพและเมื่อมีความจำเป็น ก็ จะได้นำความรู้ที่ค้นพบนั้นไปสร้างเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกสบายและประโยชน์ต่างๆในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์

ความหมายของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นความรูที่ได้มาโดยวิธีการที่เริ่มต้นด้วยการสังเกตุ และการทดลองที่เป็นระเบียบมีขั้นตอนโดยปราศจากอคติ แล้วมีการเปรียบเทียบจัดหมวดหมู่สรุปตั้งเป็นเกณฑ์ขึ้น ต่อจากนั้นอาจจะใช้ทฤษฏีเสียใหม่ แล้วนำไปใช้กับการสังเกตุอีกครั้งหนึ่ง ทำอย่างนี้จนหมดข้อขัดแย้ง

ความหมายของเทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการและความชำนาญที่จะสามารถนำไปปฏิบัติภาระกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั่นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เท๕โนโลยีเป็นดสนนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจำเป็นต้องมีวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน เทคโนโลยีที่ขาดการสะสมความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องจะพัฒนาไปไม่ได้ไกล
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆหลายด้านด้วยกัน คือ การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเกษตรกรรม การพัฒนาชนบท และการป้องกันประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ในปัจจุบันความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลง สารพันธุกรรมเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ การหลอมเซลล์ และการใช้พันธุวิศวกรรม สำหรับวิธีการแรกนั้นมีขีดจำกัดตรงที่เซลล์ที่กลายพันธุ์ไม่สามารถพิ่ม ส่วนวิธีการที่สอง มีขีดจำกัดระหว่างเซลล์ที่มีสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกัน แต่การใช้วิศวกรรมโดยยีนตัดต่อดีเนเอ จะ ไม่มีขีดจำกัดระหว่างสายพันธุ์
ความก้าวหน้าในทางพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพได้ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์อาจจะได้รับประโยชน์มากมายจาก จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ สายพันธุ์ใหม่นั้นเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค แต่ในทางตรงกันข้ามมนุษย์ก็ต้องระวังไม่ให้เซลล์ลูกผสมที่สร้างขึ้นใหม่แพร่กระจายซึ่งจะยากแก่การควบคุม ด้วนสาเหตุนี้เองเทคโนโลยีชีวภาพ จึงมีศักยภาพสูงที่จะนำมนุษย์เข้าสู่ยุคแห่งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุคใหม่ได้ในอนาคต

ที่มา:

เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช. (2539).

วิทยาศาสตร์กับสังคม. กรุงเทพฯ : ฝ่าย
เอกสารและตำรา สถาบันราชภัฏสวน
ดุสิต.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002