|
สู่สังคมวนเกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร่
306.349
สู่สังคมวนเกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร่
ผู้แต่ง: วิบูลย์ เข็มเฉลิม
ชื่อเรื่อง: สู่สังคมวนเกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร่
สรุปเนื้อหา
วนเกษตรเป็นเกษตรพึ่งตนเอง พึ่งตนเองไม่ได้หมายความว่าไม่พึ่งใครเลย ทุกอย่างทำเอง กินเอง ใช้เอง ไม่ต้องซื้อไม่ต้องขาย นั่นเป็นความคิดที่แคบมาก การพึ่งตนเองเป็นเรื่องการจักชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆอย่างเหมาะสม สัมพันธ์กับคน สังคมและะรรมชาติรอบตัวเรา พึ่งตนเองหมายถึง การมีสวัสดิการและความมั่นคง
ให้กับชีวิตของตัวเองในปัจจุบันจนถึงอนาคต สวัสดิการตัวนี้พร้อมที่จะสนองต่อเราทันที โดยที่เราไม่ต้องไปเรียกให้ใครมาจัดสวัสดิการให้ หรือให้ใครมาช่วยเหลือ เราสามารถจะช่วยตัวเราเองหรือพึ่งพาตัวเราเองได้ในโอกาสนั้นๆ
การพึ่งตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อม เราไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีใหม่ ถ้าหากสิ่งนี้สนับสนุนให้เรามีเวลามากพอที่จะไปเสริมสร้างสิ่งที่เราทำด้วยความยากลำบากให้มันง่ายขึ้น ฉะนั้น ถ้าเราจะใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสิ่งที่เอื้อต่อการพึ่งตนเองแล้วก็เป็นเรื่องถูกต้อง แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีเพื่อมาอำนวยความสะดวกทำให้เราพึ่งตนเองไม่ได้ ก็ไม่น่าจะถูกต้อง
วนเกษตรทำให้คนมีความเชื่อมั่นในตัวเอง พอเรามีความเชื่อประการนี้ ก็ทำให้เรามีเสรีภาพทางความคิด เราคิดอย่างไรก็ไม่กลัวใครปฏิเสธความช่วยเหลือเรา คมมีเสรีภาพย่อมกล้าคิด เราเริ่มจะมีการตัดสินใจได้เองในเรื่องต่างๆ คิดอะไรก็ได้ที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง สามารถกำหนดได้ว่า ชีวิตคนควรเป็นอย่างไร เราจะวิเคราะห์ได้มากขึ้นว่า
อะไรเป็นตัวส่งเสริม อะไรเป็นตัวบั่นทอนสำหรับชีวิต เราจะรู้อะไรถูกอะไรผิดมากขึ้น
ปัญหาสังคมไทยทุกวันนี้มาจากการขาดพื้นฐานทางความคิด และทิศทางที่ชัดเจนของสังคม จากสภาพการณ์ทางการเมือง ผู้มีบทบาทกระจุกอยู่ในหมู่คนชั้นสูงหลากหลายกลุ่มล้วนแต่มุ่งสร้างฐานทางเศรษฐกิจขึ้นมาเพื่อรับใช้กลุ่มของตัวเอง จนกลายเป็นความโลภหลงในอำนาจ คนชั้นล่างกลับไร้สิทธิ
วนเกษตรเป็นกระบวนการทางสังคม เป็นการอยู่ร่วมกัน เป็นอำนาจต่อรอง หรืออำนาจทางการเมืองซึ่งชาวบ้านสามารถตัดสินใจได้เอง เป็นฐานเศรษฐกิจและหลักประกันการมีอยู่มีกินสำหรับปัจเจกบุคคล สำหรับ ชุมชน หมู่บ้าน ชนบท ตลอดจนประเทศชาติด้วย
ที่มา :
วิบูลย์ เข็มเฉลิม. (2534).สู่สังคมวนเกษตร สำนึกอิสระของชาวนาชาวไร. กรุงเทพฯ : หมู่บ้าน.
|
|