|
วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย
306.1
วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย
ผู้แต่ง: วิเชียร รักการ
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย
สรุปเนื้อหา
เมื่อกล่าวสรุปวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติ วัฒนธรรมของไทยทำให้กลุ่มคนไทยแตกต่าง
ไปจากคนชาติอื่นในโลกความแตกต่างที่เราเห็นได้เรียกว่า เอกลักษณ์ เอกลักษณ์ของไทยที่ได้รับตกทอดจาก
บรรพบุรุษทำให้ สังคมไทยแตกต่างจากชนชาติอื่น แม้ว่าลักษณะดังกล่าวจะไม่เหมือนเดิมจากบรรพบุรุษแต่เมื่อ
พิจารณาจากกระแสรวมแล้วก็ยังมีแนวโน้มให้เห็นไม่มากก็น้อย ถ้าพิจารณาถึงลักษณะถึงลักษณะของวัฒนธรรม
ไทยที่มีการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันอาจกล่าวถึงเอกลักษณ์บางประการของวัฒนธรรมได้ดังนี้
1.การทำบุญและการประกอบการกุศล เนื่องจากคนไทยเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม จึงนิยมทำบุญและประกอบ
การกุศลโดยทั่วไป
2.พิธีกรรม วัฒนธรรมโดยทั่วไปจะแสดงออกในรูปของงานพิธีหรือพิธีการ
3.ความสนุกสนาน คนไทยชอบรักสนุก ฉะน้นแบบแผนของพฤติกรรมต่างๆจึงอยู่บนพื้นฐานแห่งความสนุก
เช่นจัดงานวันเกิด
4.ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมของไทยจะมีลักษณะเด่นที่มีความละเอียดอ่อน และประณีต ทั้ง
ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ดนตรี และนาฏศิลป์
ลักษณะของวัฒนธรรม
1.วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในอาณาบริเวณหนึ่ง
2.พฤติกรรมที่เห็นว่าเป็นวิถีชีวิตมนุษย์นั้นไม่ใช่เป็นพันธุกรรม แต่เป็นการเรียนรู้
3.พฤติกรรมต่างๆจะสืบทอดกันต่อๆไป โดยอาศัยตัวมนุษย์เองและมนุษย์ก็อาศัยสัญลักษณ์เป็นตัวสื่อ
วัฒนธรรมของแต่ละละสังคมจะแตกต่างกันออกไปมากน้อยบ้างแล้วแต่ควมจำเป็น และความจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์
และทรัพยากรต่างๆ แต่โดยที่วัฒนธรรมเปรียบเสมือนเขี้ยวเล็บของมนุษย์แต่ละสังคมเพื่อช่วยดำรงชีพของมนุษย์สามารถ
สืบต่อกันไปได้อย่างน้อยที่สุดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง วัฒนธรรมจึงมีลักษณะขั้นพื้นฐานหรือลักษณะความจำเป็นต่างๆอยู่ร่วม
กันเสมอลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรมช่วยให้วัฒนธรรมต่างๆได้กลายมาเป็นของสิ่งเดียวกัน
ที่มาของวัฒนธรรม
1.ปัจจัยทางชีวภาพ นั้นเป็นลักษณะสากลที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมมนุษย์ชาติฉะนั้นการวิวัฒนาการทางชีวภาพจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมาก
2.ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการครองชีพ
3.ปัจจัยทางจิต ร่างกายและจิตใจต่างก็เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันเพราะต่างก็เกี่ยวข้องกัน
สถาบันสังคมไทย หมายถึง แบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมกำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตร่วมกันของ
สมาชิกในสังคม สถาบันเป็นวัฒนธรรมประเภทปทัสถานที่มีลักษณะเป็นนามธรรมอยู่มากซึ่งทำหน้าที่ประการสำคัญคือรักษาไว้และถ่ายทอดวัฒนธรรมสืบต่อไป
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม คือ ลักษณะทางสังคมนั้นไม่ได้อยู่ในสภาพที่หยุดนิ่ง หากแต่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา
ดังนั้นแนวโน้มโดยทั่วไปของสังคมไทยจึงอยู่ในสภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยความหมายของการเปลี่ยนแปลงแล้วพิจารณา
ในลักษณะเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งๆหนึ่งในเวลาต่างกัน การเปลี่ยนแปลงจึงเกี่ยวข้องกับเวลา
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยทั่งไปจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่เรียกว่าเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ
การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นไปในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับบุตร เป็นต้น เป็นการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆเป็นระยะเวลานานๆ
อาจมีผลให้เกิดความสัมพันธ์แบบมีแผน อย่สงไรก็ตาม ความสัมพันธ์ย่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแต่ความสัมพันธ์ในระดับโครงสร้าง
จะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะว่าอาจมีความสัมพันธ์ใหม่ที่ถือปฏิบัติเกิดขึ้นมาแทนที่ ทำให้สังคมอยู่ในสภาพที่สมดุลย์ ต่อไป นอกจากนี้สังคมที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมอื่นแล้ว
อาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
ที่มา:
วิเชียร รักการ. (2529). วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย. กรุงเทพฯ : โอ เดียนสโตร์.
|
|