banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา

305.655
ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา

ผู้แต่ง: ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
ชื่อเรื่อง: ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา

สรุปเนื้อหา

วิธีการศึกษาเศรษฐกิจชาวนาและแหล่งที่มาทางทฤษฏีของสำนักองค์กรการผลิต

วิธีวิทยาทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในการศึกษาเศรษฐกิจชาวนา วิธีวิทยาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะนิสัย จะช่วยให้ค้นพบสภาวะการดำรงอยู่ และพลังการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของชาวนาอย่างเป็นระบบ การค้นพบดังกล่าวจะนำไปสู่แนวทางการ บูรณาการเศรษฐกิจของชาวนาได้อย่างมีอนาคต แม่นยำในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับสถาณการณ์จริง จะสามารถช่วยให้ชาวนา สร้างพลวัตทางเศรษฐกิจ เพื่อหลุดออกจากวงจรแห่งการเผชิญโชคอย่างเลื่อนลอยอย่างเช่นที่ผ่านมา
นักทฤษฎีสำนักองค์กรการผลิตของชาวนาในัสเซีย ช่วง ค.ศ. 1908 - 1930 ได้ศึกษาเศรษฐกิจชาวนาอย่างละเอียด แบ่งระดับการวิเคราะห์ ออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.แรงงานการผลิตของครอบครัวชาวนา
2.การจัดองค์กรของสหกรณ์
3.ภาคเกษตรกรรมในฐานะหน่วยหลักของการผลิตของเศรษฐกิจแห่งชาติ
แรงงานการผลิตของครอบครัวชาวนาเป็นกุญแจสำคัญ ที่ช่วยให้นักวิชาการกลุ่มนี้ เข้าใจมโนภาพเกี่ยวกับเศรษฐชาวนา ตั้งแต่รากฐานธรรมชาติ ของแรงงานการผลิตของครอบครัว จนถึงทฤษฎีของระบบเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ทุนนิยม เป็นครั้งแรกที่มีการคิดค้นเช่นนี้ในวรรณกรรมเศรษฐกิจของโลก
นักทฤษฎีกลุ่มนี้ใช้วิธีการศึกษาทางด้านจุลภาค ใช้สถิติระดับครอบครัวและชุมชน ไม่ใช่ศึกษาเพียงระดับมหภาคหรือประเทศ วิธีวิทยาเช่นนี้ทำให้สามารถ นำเอาลักษณะเฉพราะขององค์กรการผลิตของชาวนาออกมาแสดงให้ปรากฏได้ มำให้ค้นพบโครงสร้างองค์ประกอบ ( anatomy ) และหน้าที่ ( physiology ) ของกลไกการผลิตของครอบครัวชาวนา ต่างจากวิทยาการส่วนใหญ่ที่อธิบายเศรษฐกิจชาวนาโดยอาศัยคาติกกอรี่ ( categories ) ของเศรษฐกิจทุนนิยม ทำให้ไม่ พบว่าแรงงานครอบครัวเป็นพลังขับเคลื่อนของเศรษฐกิจชาวนา แต่วิธีศึกษาที่นักทฤษฏีกลุ่นนี้ใช้ เรียกว่าวิธีชีวเศรษฐกิจ ( bio - economic ) คือค้นคว้าหาชีวพันธุ์ ทางเศรษฐกิจในลักษณะเดียวกันกับการศึกษาทางชีววิทยา ค้นหาโครงสร้างองค์ประกอบ ( anatomy ) หน้าที่การทำงาน ( physiology ) และอินทรียภาพ ( organic ) ของเศรษฐกิจระบบต่าง ๆ มีวิธีการศึกษา 4 ขั้นตอน คือศึกษาสถิติ ( statistics ) ศึกษาพลวัต ( dynamic ) ศึกษาแนวโน้ม ( trend ) และศึกษาชีวพัธุ์ ( genetic )
แนวคิดของสำนักองค์กรการผลิตมาจากการรวมการวิจัย 2 กระแสเข้าด้วยกัน คือ
1.มาจากข้อมูลจำนวนมากที่สภาตำบล ( Zemstvo ) รัฐบาลกลางรัฐเซีย และนักวิจัยอิสระรวบรวม ว่าด้วยองค์กรการผลิตของชาวนา จากข้อมูลเชิงประจักษ์ จำนวนมากเหล่านี้ทำให้สามารถอนุมานสร้างเป็นกฎทั่วไปขึ้นมาได้
2.ข้อเท็จจริงจำนวนมากและความสำพันธ์ที่ปรากฏไม่เข้ากับกรอบททฤษฎีเดิม ทำให้ต้องคิดทฤษฎีใหม่ ว่าด้วยเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานของครอบครัวของตนเองทำงาน ต่างจากเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานรับจ้าง

ที่มา :

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2541).ทฤษฎีและแนวคิด

เศรษฐกิจชุมชนชาวนา. กรุงเทพฯ :
โครงการวิถีทรรศ์.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002