|
สังคมวิทยาภาวะผู้สูงอายุ
305.26
สังคมวิทยาภาวะผู้สูงอายุ
ผู้แต่ง: สมศักดิ์ ศรีสันติสุข
ชื่อเรื่อง: สังคมวิทยาภาวะผู้สูงอายุ
สรุปเนื้อหา
แนวความคิดภาวะสูงอายุ ภาวะสูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วๆไปเมื่อสมาชิกของสังคมที่มีอายุมากขึ้น จึงเป็นปรากฏกาณ์ทั้งทางชีวภาพและทางสังคมที่เกิดขึ้นได้ในทุกสังคม บุคคลที่อยู่ในภาวะสูงอายุก็คือ ผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละสังคมมีการปฏิบัติต่อ
ผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละสังคมมีการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุแตกต่างกันไป
ความหมานของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ โดยทั่วไปหมายถึง บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และหน้าที่การงานทางสังคม ซึ่งแต่ละคนจะปรากฏอาการเสื่อมแตกต่างกัน นอกจากอาการเสื่อมแล้ว ยังได้ใช้เกณฑ์อายุ 60 ปีเป็นเกณฑ์สากล เพื่อให้ทราบว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้สูงอายุ
นำมาพิจารณาประกอบกันด้วยแต่สิ่งที่ผู้สูงอายุมีความต้องการ คือ ต้องการความช่วยเหลือจากสังคม และต้องการความดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเวลาเจ็บป่วย
สำหรับความหมายผู้สูงอายุในทัศนะของผู้เขียน หมายถึง บุคคลที่สังคมได้กำหนดเกณฑ์อายุเมื่อมีอายุอยู่ในช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
ลักษณะของผู้สูงอายุ ชุมนุมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2506 ได้มีบัญญัติคำว่า ผู้สูงอายุ โดย พล.ต.อ.อรรถสิทธ์ สิทธิสุนทร กล่าวว่า ผู้สูงอายุจะต้องมีลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
2. เป็นผู้ที่มีความเสื่อมตามสภาพ มีกำลังลดลง เชื่องช้า
3. เป็นผู้สมควรให้การอุปการะ
4. เป็นผู้ที่มีโรคควรได้รับความช่วยเหลือ
เราอาจกล่าวสรุปได้ว่า ลักษณะของผู้สูงอายุมีลักษณะที่แตกต่างกันตามสังคมและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ และลักษณะของผู้สูงอายุสามารถที่จะพิจารณาได้หลายๆด้าน อาทิ ด้านชีววิทยา ด้านจิตวิทยา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ที่มา: สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539).สังคมวิทยาภาวะผู้สูงอายุ.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
|
|