|
ประชากรกับการพัฒนา
304.6
ประชากรกับการพัฒนา
ผู้แต่ง: เกื้อ วงศ์บุญสิน
ชื่อเรื่อง: ประชากรกับการพัฒนา
สรุปเนื้อหา
ประชากรกับการพัฒนาเป็นแนงคิดที่พยายามผสมผสานเอากระบวนการทางประชากรให้เข้ามามีส่วนสัมพันธ์กับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แนวความคิดดังกล่าวเริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974
จาการประชุมประชากรโลก ที่กรุงบูคาเรส ในประเทศรูมาเนียต่อมาในการประชุมระหว่างชาติทางประชากรที่ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี ค.ศ. 1984 แนวความคิดเรื่องความสัมพันธ์ดังกล่าว ได้รับการยืนยันอีกครั้งโดยเห็นว่าไม่ควรมีการแยกแผนประชากรออกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอ
แนะว่า ในการวางนโยบายและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนั้นควรนำตัววัดทางประชากรมาพิจารณาร่วมกับโครงการต่างๆ ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางประชากรทั้งนี้การผสมผสานระหว่างประชากรและการพัฒนาควรให้มีอยู่ในส่วนที่มีเป้าหมายและในการจัดาปองค์กรที่เกี่ยวกับการวาง
นโยบายและแผนในประเทศนั้นแม้ว่าจะมีการย้ำความสำคัญของการผสมผสานนโยบายประชากรเข้ากับนโยบายพัฒนา ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าลักษณะที่ว่านั้นเป็นเช่นไร อย่างไรก็ตาม ผลสรุปจาการประชุมของ UNFPAเกี่ยวกับการวางแผนประชากรและการพัฒนาในปี ค.ศ. 1983 ได้ให้คำจำกัดความที่ค่อนค้างจะชัดเจนว่าการผสมผสานนโยบายประชากรเข้ากับนโยบาย
ประชากรกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หมายถึงการวางแผนที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางประชากร กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้การวางนโยบายและเป้าหมายของการพัฒนานั้น จะต้องสนใจว่าตัวแปรทางประชากรได้รับหรือมีผลกระทบต่อตัวแปรอื่น ที่สำคัญต่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร
การประชุมในระดับภูมิภาค ได้ให้ความสำคัญเรื่องประชากรกับการพัฒนามากเช่นกัน โดยเน้นว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับการพัฒนาเป็นความสัมพันธ์แบบมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ตัวแปรทางประชากรมีผลกระทบต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจสังคมก็มีผลกระทบต่อตัวแปรทางประชากร เป้าหมายและนโยบายประชากรจะผสมผสานและเป็นส่วนหนึ่งของ
การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับและปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของประชากร ในแต่ละประเทศ
ลักษณะของการวางแผนพัฒนา
การผสมผสานนโยบายทางประชากรเข้ากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมจะต้องมองในแง่ของการวางแผนพัฒนา และคำว่า กางวางแผนพัฒนา เป็นเรื่องของเนื้อหาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในระยะกลางหรือระยะยาว อีกทั้งเป็นเรื่องของกระบงนการที่จะทำให้เนื้อหาบรรลุ คำว่ากระบวนการวางแผน นั้นมีลักษณะครอบคลุมทุกเรื่องที่แผน นโยบาย และโครงการเพื่อการพัฒนา ในระดับชาติ ภูมิภาค และเขตย่อยๆจะถูกนำออกมาใช้ปฏิบัติและประเมินผล ไปสู่ส่วนย่อยที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนา
ที่มา: เกื้อ วงศ์บุญสิน. (2536).ประชากรกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
|
|