|
การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย
303.4
การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย
ผู้แต่ง: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ชื่อเรื่อง: การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย
สรุปเนื้อหา
ธรรมาภิบาลหรือ(good governance)ในความหมายแบบสากลนี้รวมถึง ระบบ โครงสร้าง และกระบวนการต่างๆที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศ เพื่อที่ภาคต่างๆของสังคมจะพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสงบ
จากความนี้แสดงให้เห็นว่า ธรรมมาภิบาลแบบสากลเน้นตรง กฎเกณฑ์ ที่วางระบบ โครงสร้าง กระบวนการ และความสัมพันธ์ของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในการบริหาร จัดการเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของรัฐซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่ดี โดยมีสมมติฐานว่าวิกฤตเศรษฐกิจ
ที่ผ่านมาเป็นผลมาจากอธรรมมาภิบาลส่วนหนึ่ง ดังนั้นการสร้างธรรมาภิบาลขึ้นจะเป็นการดำเนินการเพื่อกอบกู้ชาติเพราะกลไกประชารัฐที่ดี เป็นเรื่องของคนไทยในชาติจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นมาจากรากฐานการยอมรับและการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างจริงจัง เมื่อเรามีกลไกประชารัฐที่ดี(ธรรมาภิบาล)
ก็คงจะช่วยย่อนระยะเวลาการกอบกู้วิกฤตให้สั้นลงและประเทศไทยก็สามารถหลุดพ้นจากพันธะของ IMF ได้ในเวลารวดเร็วสิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการกอบกู้วิกฤต คือ จะเป็นการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับสังคมไทยให้เป็นสังคมเสถียรภาพ
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นรากฐานธรรมาภิบาลหากพิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีเนื้อหา 336 มาตรา จะพบว่ารัฐธรรมนูญได้วางรากฐานของธรรมาภิบาลได้อย่างครบถ้วน กล่าวคือในแง่วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยึดประโยชน์สาธารณะ
ของคนทุกภาคในสังคมในด้านโครงสร้างและกระบวนการ รัฐธรรมนูญได้เพิ่มภาคประชาสังคมเข้าสู่โครงสร้างการจัดการรัฐไทย และเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคโดยเฉพาะภาคประชาสังคมในทุกด้านทั้งระดับชาติ- ท้องถิ่น-ชุมชนและทุกในระดับตั้งแต่ร่วมรับรู้ไปจนถึงร่วมทำและรับผลในด้านของสาระของธรรมาภิบาลเอง
รัฐธรรมนูญได้วางหลักการให้เกิดการประสานประโยชน์ ของทุกคนในสังคม เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
1. ประโยชน์สาธรณะของคนทุกภาค คือเป้าหมายการจัดการรัฐไทยตามรัฐธรรมนูญ
2. โครงสร้างและกระบวนการในรัฐธรรมนูญอันเป็นรากฐานของธรรมาภิบาลสากล
3.สาระของธรรมาภิบาลตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ที่มา:
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542).การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
|
|