|
คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้น ความาวินัยและความเป็นประชาธิปไตย
303.37
คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้น ความาวินัยและความเป็นประชาธิปไตย
ผู้แต่ง: กรมวิชาการ กระทวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง: คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้น ความาวินัยและความเป็นประชาธิปไตย
สรุปเนื้อหา
วินัยในพระไตยปิก หมายถึง อุบายสำหรับการฝึกหัดกาย วาจา
นั้นคื่อเป็นเรื่องของศิล
ส่วน วินัยในการดำรงชีวิต ปราชญ์ทั้งหลายให้ความหมายว่า คือ กระบวนการปฏิบัติเป็นอุบายการฝึกหัดกาย วาจา และใจ
จริยธรรม ( Ethics ) มาจากภาษากรีกว่า Ethos คือ Habit นั้นคือนิสัย ดังนั้นจริยธรรมและจริยศาสตร์จึงเป็นเรื่องการฝึกนิสัย ซึ่งก็มีคำถามว่าฝึกอย่างไรจึงจะเป็นนิสัยบ้างก็มีข้อสงสัยว่านิสัยฝึกกันได้หรือไม่
Ethos หรือนิสัยตามทฤษฎีของชาวกรีกกล่าวว่า คนเราเกิดมาเหมือนผ้าขาวมาฝึกกันโดยต้องทำบ่อย ๆทำซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัย แล้วจะกลายเป็นคุณธรรม เป็นนการเริ่มจากภายนอกเข้าไปสู่ภายในสู่เป็นลักษณะนิสัยเป็นคุณสมบัติที่ดีในจิตใจ ฉะนั้นการทำดีต้องทำบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย
ตามหลักพุทธศาสนา มองวิธีฝึกเป็น 2 ส่วนคือ
1 ) ฝึกจากภายนอกเข้าสู่ภายใน เป็นกระบวนการฝึกกายวาจา ซึ่งจะส่งผลไปทางจิตใจ
2 ) ฝึกจากภายในออกสู่ภายนอก เป็นการฝึกจิตสิกขาโดยตรง ฝึกจิตให้มีกรรมฐาน มีสติ จนเกิดความสังวรระวัง จะได้ทำอะไรไม่ผิดพลาด
นอกจากนี้ยังมีวิธีฝึกอีกวิธีหนึ่งคือ ขาดตรงก็ปรุงแต่งตรงนั้น เช่น การฝึกเป็นผู้นำต้องรู้ว่าผู้นำจะต้องมีคุณธรรมอย่างไรก็ฝึกอย่างนั้น ซึงจะดีเฉพาะเรื่อง เป็นการพัฒนาบางส่วนของบุคลิกภาพ แต่จะไม่ลงถึงใจ ไม่ฝังลึกราก ไม่เป็นคุณธรรมตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการฝึกกาย วาจา ใจ เพื่อให้เข้าถึงใจ การฝึกตามหลักของศาสนาจะเป็นเรื่องของการฝึกบุคลิกภาพ จิตซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายของวินัย วินัยที่เราพูดกันนี้ น่าจะเป็นพื้นฐานของชีวิตที่ดี
การเรียนการสอนน่าจะเป็นเรื่องของชีวิตที่ดี แต่ทุกส่วนต้องเป็น part ที่ไปถึง goal คือแต่ละส่วนจะนำไปสู่เป้าหมาย เป็นองค์รวม เป็นภาพรวมของการเป็นคนดีที่พึงประสงค์ การไม่ว่าจะเป็นการฝึกจากภายนอกเข้าสู่ภายใน หรือจากภายในออกสู่ภายนอก ล้วนเพื่อต้องการฝึกกาย วาจา ใจ กระบวนการฝึกจะต้องเป็น ไตรสิกขา เป็นองค์รวม คือมรรค มีองค์ประกอบ 8 ประการ นั่นคือ เป็นทางเดียวที่มี 8 ประการ
ส่วนจริยธรรม ตามพจนานุกรมที่เราใช้คือ หลักที่ควรประพฤติ เพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนรวม ในการฝึกจริยธรรมต้องรวมถึงคุณธรรมด้วย จริยธรรมด้วย จริยธรรมคุณธรรมต้องไปด้วยกันคุณธรรมคือคุณสมบัติที่ดีของจิตใจ คนดีมีศีลธรรมเราเรียกว่า กัลยาณชน นั่นคือ คนดีอย่างน้อยต้องมี เบญจศีล เบญจธรรม เบญจธรรมเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลยาธรรม คือคนที่มีคุณธรรม คนมีศีล คือ มีวินัย ด้วยวินัยจะอยู่ได้ต้องมีฐานรองรับ คือคุณธรรม และสามารถที่จะสร้างเสริมวินัยให้กับเด็กได้โดยเริ่มจากการสร้างวินัย นั่นคือ ให้เขาทำซ้ำ ทำบ่อย ๆ วินัยเป็นเครื่องมือสร้างการศึกษา อบรม ให้เกิดกระบวนการที่เราประสงค์ นั่นคือ วินัยเป็นเครื่องมือให้การศึกษาอบรม
ในมางพุทธศาสนาจะมีบทลงโทษถ้าฝ่าฝืนวินัย และมีรางวัลถ้าปฏิบัติถูกต้อง วินัยที่เป็นแหล่งเสริมสร้างให้เกิดแรงจูงใจมี 3 ส่วนคือ
2 1. เกิดจากตัณหา กล่าวได้ว่าการที่คนเรารักษาวินัยส่วนหนึ่งเพราะต้องการรางวัลและหลีกเลี่ยงการลงโทษ
2. เกิดจากศรัทธา นั่นคือมีความเชื่อมั่นว่าวินัย ระเบียบนั้นดี ศรัทธาในแหล่งที่มาของวินัย ระเบียบ อนึ่ง ในการบัญญัติวินัยนั้นทุกคนต้องเห็นชอบ วินัยนั้นจึงจะกลายเป็นวินัยตนเอง
3. เกิดจากคุณธรรม นั่นคือคุณสมบัติที่ดีในจิตใจ ถ้ามีคุณสมบัติที่ดีในจิตใจจะมีวินัยโดยไม่ต้องฝืนใจ
หลักการสอนวินัย ประชาธิปไตยในโรงเรียน
1. สอนให้จำ นั่นคือต้องชี้แจงให้เห็นว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น ต้องสอนให้มีเหตุผลว่าถ้าตนเองมีวินัย สังคมจะเป็นอย่างไร ต้องชี้ให้เห็น การมีวินัยจะไม่เกิดขึ้นถ้าเขาไม่รับเป็นของตนและเห็นค่า
2. ทำให้ดู สาธิตให้ดู
3. อยู่ให้เห็น เรื่องบางเรื่อง การกระทำดีกว่าคำพูด เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ให้เห็น
ที่มา :
กรมวิชาการ กระทวงศึกษาธิการ. (2541).คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัมนาคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้น ความาวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : กระทวงศึกษาธิการ.
|
|