banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

มนุษยสัมพันธ์

302
มนุษยสัมพันธ์

ผู้แต่ง: สมพร สุทัศนีย์
ชื่อเรื่อง: มนุษยสัมพันธ์

สรุปเนื้อหา

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสังคม ทั้งนี้เพราะมนุษย์ไม่อาจอยู่โดดเดี่ยวได้ มนุษย์ต้องพบปะพูดคุยกัน ต้องทำกิจกรรมร่วมกัน ต้องติดต่อประสานงานกัน และต้องพึ่งพาอาศัยกันเพื่อความอยู่รอด ตลอดจนทำให้กิจการงานต่างๆประสบผลสำเร็จ
ในโลกธุรกิจและอุตสาหกรรมปัจจุบัน บุคคลมักจะกล่าวถึงมนุษยสัมพันธ์ในแง่ของผลผลิตเพราะผลผลิตเป็นเป้าหมายของทุกกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง นายจ้างทุกคนคาดหวงให้ลูกจ้างรับภาระในการทำงาน ฉะนั้นนายจ้างจึงต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกันกับบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ลูกจ้างต้องเรียนรู้การทำงานกับผู้อื่น ต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์แบ่งไว้ 3 ลักษณะ
1. ความหมายทั่วๆไป มนุษยสัมพันธ์หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดความรักใคร่ชอบพอ ความร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรม และการดำเนินชีวิตใมีความราบรื่น
2. ความหมายในลักษณะวิชา มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ในการแสดงพฤติกรรมโต้ตอบต่อกันในสังคมเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
3. ความหมายที่ใช้ในองค์กร มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจเพื่อให้บุคคลเกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การและความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างบุคคลในองค์การ

จุดมุ่งหมายของมนุษยสัมพันธ์
1. เพื่อให้รู้จักและเข้าใจตนเอง
2. เพื่อให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่น
3. เพื่อให้เกิดความรักใคร่ เชื่อถือ ศรัทธา และไว้วางใจจากผู้อื่น
4. เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานไปสู่เป้าหมาย
5. เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในการทำงานและการอยู่ร่วมกัน
6. เพื่อให้ตนเองมีความสุข ผู้อื่นมีความสุข และสังคมมีความสุข

ที่มา:

สมพร สุทัศนีย์. (2538). มนุษย

สัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002