|
คู่มือการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย
302.34
คู่มือการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย
ผู้แต่ง: ชไมพร สุธรรมวงศ์
ชื่อเรื่อง: คู่มือการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย
สรุปเนื้อหา
คำว่า กลุ่มย่อย หมายถึง กลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของบุคคลไม่มากนัก
การรวมตัวเป็นกลุ่มคนเล็กๆ เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกันนั้น ไม่ใช่ว่ามีคนจำนวนน้อย แล้วจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเสมอไป
การสร้างกลุ่มให้ดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีผลงานนั้น จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างละเอียดละออ และถ้วนทั่ว เพื่อสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการคงคุณภาพของกลุ่มให้ได้สม่ำเสมอ
ขั้นตอนการดำเนินงานกลุ่มย่อย
1. ช่วยกันหาปัญหาในที่ทำงานรอบๆตัว
2. คัดเลือกหัวข้อของกลุ่ม
3. ร่างแผนการทำงาน
4. วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน
5. จับสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
6. ตั้งเป้าหมายในการแก้ไข
7. หารือวิธีการ
8. ลงมือปรับปรุงจริงๆ
9. วัดผลที่ได้
10. ทิ้งไว้จนวิธีใหม่คงตัว
วิธีตั้งกลุ่มกิจกรรม
รวบรวมสมาชิก ทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกแต่ละคน มีบุคลิก มีความสามารถต่างกันสภาพแวดล้อมของกลุ่มก็มีส่วนต่อการกำหนดจำนวนสมาชิก หากมีสมาชิกประมาณ 6-7 คนจะเป็นจำนวนที่สามารถหารือทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ถ้าจำนวนสมาชิกมากเกินไปแต่ละคน
จะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่
ซอยเป็นกลุ่มย่อยๆในกรณีที่มีสมาชิกมาก
ถ้าสมาชิกในกลุ่มต้องเกินกว่า 10คน ควรแบ่งกลุ่มออกมาเป็นกลุ่มย่อยๆสัก 2 กลุ่ม การแบ่งกลุ่มซอยลงมาอีกมีข้อดี คือ ทำให้มีการแข่งขันกันเองภายในกลุ่มซึ่งทำให้การดำเนินกิจกรรมทั้งกลุ่มได้ทดลองสิ่งที่ดีมากขึ้นด้วย
ตั้งจุดประสงค์ของกลุ่มให้ชัดเจนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. กลุ่มเพื่อแก้ปัญหาในที่ทำงาน
2. กลุ่มดำเนินตามวัตถุประสงค์อย่างไดอย่างหนึ่ง
3. กลุ่มเพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
กลุ่มแก้ปัญหา เป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ตามแผนกหรือสาย การทำงาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดอยู่ในที่ทำงาน หรือเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น
กลุ่มดำเนินการ เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นจากคนที่มาจากหลายแผนก ครอบคลุมหลายที่ทำงานและเป็นปัญหาที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมาย ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายแผนก
กลุ่มศึกษา เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาหาความรู้หรือเทคนิคใหม่ๆที่จำเป็นสำหรับบริษัทและกลุ่มมีหน้าที่ต้องคิดและดำเนินการเพื่อนำความรู้ใหม่ๆนั้นไปปรับใช้กับบริษัท
บทบาทของหัวหน้าและสมาชิก กิจกรรมกลุ่มย่อยมาจากการรวมพลังของแต่ละสมาชิก เพื่อแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงสิ่งไม่ดีต่างๆ ให้ดีขึ้น ดังนั้นหัวหน้ากลุ่มซึ่งจะเป็นผู้รวมพลังจากสมาชิกนั้น จึงมีบทบาทและความรับผิดชอบที่สำคัญมาก อาจเรียกได้ว่า การดำเนินกิจกรรม
จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าหัวหน้ากลุ่มจะแสดงความเป็นผู้นำได้ดีเพียงใด ดังนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะเลือกผู้ที่เป็นผ้นำที่ดี และที่สำคัญจะต้องมีความสนใจ เอาใจใส่ต่อกิจกรรมของกลุ่มที่ตนถูกเลือกมา
ที่มา: ชไมพร สุธรรมวงศ์. (2542).คู่มือการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย. กรุงเทพฯ : ส.เอเซียเพรส
|
|