|
หลักนิเทศศาสตร์
302.2
หลักนิเทศศาสตร์
ผู้แต่ง: ปรมะ สตะเวทิน
ชื่อเรื่อง: หลักนิเทศศาสตร์
สรุปเนื้อหา
นิเศศาสตร์มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Communication Arts แปลว่า ศาสตร์แห่งการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงการสื่อสารทุกรูปแบบของมนุษย์
ความสำคัญ
การสื่อสารนั้นจัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในชีวิตมนุษย์ นอกเหนือจากปัจจัยสี่ที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
แม้การสื่อสารจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรง แต่การที่จะได้มาซึ่งปัจจัยทั้งสี่นั้นต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือแน้นอน การสื่อสารเป็นพื้นฐานของการติดต่อของมนุษย์ และเป็น
เครื่องมือสำคัญของกระบวนการสังคม การสื่อสารมีความสำคัญหลักๆต่อมนุษย์ 5 ประการ คือ
1. ความสำคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน
3. ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสำคัญต่อการปกครอง
5. ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ
นิเทศศาสตร์กับประโยชน์ทางสังคม
1. การรักษาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดำเนินต่อไป
2. การขจัดสิ่งที่ไม่ดีให้หมดสิ้นไปจากสังคม
3. การพัฒนาประเทศ
บทบาทด้านการพัฒนาสังคมของนิเทศศาสตร์นี้เป็นบทบาทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำประโยชน์แก่สังคม กล่าวคือ หากเราสามารถพัฒนาบุคคลแต่ละคนได้ ประชาชนแต่ละคนจะมีรายได้ดี มีความรู้มากขึ้น
มีสุขภาพดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ที่มา:
ปรมะ สตะเวทิน. (2538).หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
|