|
ความรู้เกี่ยวกับสาระทางสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาทาง สังคมศาสตร์ คือสาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์้ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์
มานุษยวิทยา การสื่อสารศึกษา ประวัติศาสตร์ และ คติชนวิทยา สามารถจัดว่าเป็นทั้งสาขาวิชาในสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การศึกษามานุษยวิทยาโดยใช้แนวทางเชิงนิเวศหรือเชิงชีววิทยานั้น จะเกี่ยวข้องอย่างมากกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาหลักในสาขาสังคมศาสตร์คือ
มานุษยวิทยา
การสื่อสารศึกษา - การไหลของสารสนเทศผ่านทางสื่อต่าง ๆ
อาชญาวิทยา
เศรษฐศาสตร์ - การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่งในสังคม
คติชนวิทยา
รัฐศาสตร์ - ศึกษาการปกครองในระดับกลุ่มและในระดับประเทศ
นิติศาสตร์
สังคมวิทยา - วิเคราะห์สังคมมนุษย์และความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม
แหล่งที่มา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2552). สังคมศาสตร์. ค้นเมื่อ มีนาคม 31, 2552, จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%
E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8
%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
|
|