ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

294.391 พุทธศาสนานิกายเถรวาท (หินยาน) นิกายฝ่ายใต้

นิกายเภรวาท

เถรวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (บาลี: therav?da เถรวาท, สันสกฤต: ????????? sthavirav?da สฺถวิรวาท; อังกฤษ: Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: ??????)

นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า นิกายเถรวาทได้รับการนับถือเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไทย และสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน

สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด)

กายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน)

ความเป็นมาของนิกายเถรวาท

การแพร่กระจายของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำปฐมสังคายนา ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี[3]

คณะสงฆ์เถรวาท

คณะสงฆ์เถรวาทในแต่ละประเทศ ได้แบ่งย่อยออกเป็นหลายนิกาย โดยยังคงยึดถือพระธรรมวินัยเดียวกัน

ประเทศบังกลาเทศ:

สังฆราชนิกาย (Sangharaj Nikaya)

มหาสถพีรนิกาย (Mahasthabir Nikaya)

ประเทศพม่า :

สุธัมมนิกาย (Thudhamma Nikaya)

ชเวจินนิกาย (Shwekyin Nikaya)

ทวารนิกาย (Dvara Nikaya)

ประเทศศรีลังกา:

สยามนิกาย (Siam Nikaya)

มัลวัตตะ (Malwaththa)

อัสคิริยะ (Asgiriya)

วาทุลวิลา (Waturawila) หรือ มหาวิหารวามสีกาสยาโมวนาวาสนิกาย (Mahavihara Vamshika Shyamopali Vanavasa Nikaya)

อมรปุรนิกาย (Amarapura Nikaya) ธรรมรักษิต (Dharmarakshitha)

คันดุโบดา (Kanduboda) หรือนิกายชเวจิน (Swejin Nikaya)

ตโปวนะ (Tapovana) หรือกัลยาณวงศ์ (Kalyanavamsa)

รามัญนิกาย กัลดุวา (Galduwa) หรือกัลยาณโยคศรามายะ สัมสตายะ(Kalyana Yogashramaya Samsthava)

เดวดูวา (Delduwa)

ประเทศไทย, ประเทศกัมพูชาและประเทศมาเลเซีย(ในกลุ่มชาวไทย)

มหานิกาย (Maha Nikaya)

ธรรมยุติกนิกาย (Dharmmayuttika Nikaya)

แหล่งที่มา

วิกิพีเดีย สารนานุกรมเสรี. (2557). เถรวาท. ค้นจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A3%
E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC.
Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are
registered trademarks of OCLC
Revised:March 2013


Send comments to wachum49@hotmail.com