ศรัทธาในศาสนาพุทธ
ส่วนหนึ่งของ | |
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
ไตรรัตน์ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล
(ศีลห้า)
· ธรรม
(เบญจธรรม) สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
หลักธรรมที่น่าสนใจ | |
ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมศาสนาพุทธ | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
การจาริกแสวงบุญ | |
พุทธสังเวชนียสถาน
· การแสวงบุญในพุทธภูมิ |
|
ดูเพิ่มเติม | |
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |
ตามหลักพระพุทธศาสนา ศรัทธา (สันสกฤต: ศฺรทฺธา) หรือสัทธา (บาลี: สทฺธา) หมายถึงความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล
เนื้อหา |
[แก้] ศรัทธา ๔
ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
- กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
- วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
- กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
- ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
[แก้] ธรรมะที่เกี่ยวข้อง
ศรัทธา หรือ สัทธาเป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่
- พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
- สมชีวิธรรม ๔ (สมสัทธา สมสีลา สมจาคา สมปัญญา)
- เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา)
- อริยวัฑฒิ หรือ อารยวัฑฒิ ๕ (ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา)
- อริยทรัพย์ ๗ (ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา)
- สัปปุริสธรรม ข้อแรก คือ สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยธรรมเจ็ดประการ อันได้แก่ มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีสติมั่นคง มีปัญญา
- หมายเหตุ
จะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะขึ้นด้วยศรัทธา และมีปัญญากำกับอยู่ด้วย
[แก้] สัทธาเจตสิก
ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธาเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ
- มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ
- มีความเลื่อมใส เป็นกิจ
- มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
- มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้
สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้
เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่
- รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
- ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
- โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ
- ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
- "พระอภิธัมมัตถสังคหะ".และ"อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา".