สารบัญ
ทดสอบก่อนเรียน
จิตสาธารณะ
การสร้างจิตสาธารณะ
ทดสอบหลังเรียน
หน่วยต่อไป
หน้าแรก

วัตถุประสงค์ทั่วไป
       1. ทราบถึงความสำคัญของจิตสาธรณะ
       2. เข้าใจการยกตัวอย่างการมีจิตสาธารณะในการรับผิดชอบตนเองและต่อสังคม
      
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
      1. อธิบายความสำคัญของจิตสาธรณะได้
      2. อธิบายและ ยกตัวอย่างการมีจิตสาธารณะในการรับผิดชอบตนเองและต่อสังคมได้

      
เนื้อหาสาระ
    
 ความเจริญทางด้านวัตถุปัจจุบัน ทำให้สังคมมีค่านิยม ให้ความสำคัญและแสวงหาเงินทองอำนาจ มากกว่า
ให้ความสำคัญด้านจิตใจ สังคมจึงกลับเสื่อมโทรมลง ปัญฆามากมาย การปลูกฝังจิตใจให้บุคคลมีความรับผิดชอบ
ต่อตนเองและสังคมจึงควรเกิดขึ้นในสังคม ด้วยเหตุนี้จึงมีการกล่าวถึงคำว่า "จิตสาธารณะ" มากขึ้นเพื่อประโยชน์
ที่จะเป็นแนวคิดต่อตนเอง อันจะสร้างประโยชน์ ก่อให้เกิดการพัฒนาแก่สังคม      

จิตสาธารณะ
      การปลูกฝังจิตใจให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรมซึ่งเป็นเรื่อง
ที่เกิดจากภายใน "จิตสาธารณะ" เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักเสียสละ ร่วมแรง
ร่วมใจ มีความร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยลดปัญหารที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพ
ชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม  
      
  ความหมายของจิตสาธารณะ

      จิตสารธารณะ (Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้
้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่
ที่จะดูแลและบำรุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้ง ขยะลงในแหล่งน้ำ
การดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่นโทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟที่ให้แสงสว่างตามถนนหนทาง แม้แต่การ
ประหยัดน้ำประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าตลอดจนช่วยดูแลรักษาให้ความ
ช่วยเหลือผู้ทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อให้เกิดปัญหา
หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนร่วม

      จิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม
      จิตสำนึกเพื่อสวนรวมนั้นสามารถกระทำได้ โดยมีแนวทางเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
      1. โดยการกระทำตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหาย
ต่อส่วนรวม

จิตสาธรณะเพื่อส่วนร่วมคือต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม

      2. มีบทบาทต่อสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหา สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็น
ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

การช่วยกันเก็บขยะ วิธีหนึ่งแสดงถึงการมีจิตสารณะส่วนร่วม

ความสำคัญของจิตสาธารณะ
       
จิตสาธารณะเป็นความรับผิดชอบที่เกิดจากภายใน คือ ความรู้สึกนึกคิด จิตใต้สำนึกตลอดจจนคุณธรรม
จริยธรรม ซึ่งอยู่ในจิตใจ และส่งผลมาสู่การกระทำภายนอก
      ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าเกิดจากการขาดจิตสำนึกของคนส่วนรวมในสังคมเป็นสำคัญ เช่น
      1. ปัญหายาเสพติด ซึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัวของผู้ชาย ไม่นึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไปกับสังคม

ผู้ขาดจิตสำนึกค้ายาเสพติดถูกตำรวจจับดำเนิคดี

      2. ปัญหามลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากความไม่รับผิดชอบ ขาดจิตสำนึกเช่น

 - การปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงาน โดยไม่ผ่านการบำบัด

          - การจอดรถยนต์โดยไม่ดับเครื่องยนต์ ทำให้เกิดควันพิษ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่
          - ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย
          - ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง
          - การใช้ทางเท้าสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม
          - การทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง
          - การฉีดสารเร่งเนื้อแดงในสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุกร ซึ่งมีผลต่อโรคภัยไข้เจ็บในมนุษย์
เช่นโรคมะเร็งเป็นต้น
       จิตสาธารณะจึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคม เยาวชนต้องให้ความสำคัญและตระหนักในสิ่งนี้
        ความรับผิดชอบต่อตนเอง

       จิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง นับว่าเป็นพื้นฐานต่อความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตัวอย่างความ
รับผิดชอบ ต่อตนเองดังนี้
        1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้
        2. รู้จักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้แข็งแรงสมบรูณ์
        3. มีความประหยัดรู้จักความพอดี
        4. ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย
        5. ทำงานที่รับมอบหมายให้สำเร็จ
        6. มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้

        ความรับผิดชอบต่อสังคม

       เป็นการช่วยเหลือสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนได้รับความ เสียหายเช่น
       1. มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ
       2. มีความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์
ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของโรงเรียน ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียน
       3. มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นเช่นให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำไม่เอาเปรียบเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
       4. มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษา
สมบัติของส่วนรวม ให้ความรร่วมมือต่อสังคมในฐานะพลเมืองดี ให้ความช่วยเหลือ

แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ

       การสร้างจิตสาธารณะ เป็นความรับผิดชอบในตนเอง แม้ว่าจะได้รับการอบรมสั่งสอนถ้าใจตนเองไม่ยอมรับ จิตสาธารณะก็ไม่เกิด ฉะนั้นคำว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" จึงมีความสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสาธารณะ
ถ้าตนเองไม่เห็นความสำคัญแล้วคงไม่มีใครบังคับได้
       นอกจากใจของตนเองแล้ว แนวทางที่สำคัญในการจิตสาธารณะยังมีอีกหลายประการถ้าปฏิบัติได้ก็จะเป็น
ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ดังน
ี้       1. สร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ
หน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม
       2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเอง คือส่วนหนึงของสังคมต้องมีความรับผิดชอบ
ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ และโลกใบนี้
       3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เช่นกันอย่าง
หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ไข เช่น ช่วยกันดำเนินการให้โรงงานอุตสาหกรรมสร้างบ่อพักน้ำทิ้งก่อน
ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
       4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่นับถือ สอนให้คน
ทำความดีทั้งสิ้น ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจานี้ยังก่ิอให้เ้กิดประโยชน์ต่อสังคมด้วย
ทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
      ตัวอย่างหลักธรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
      พระพุทธศาสนา
      หลักคำสอนในการช่วยเหลือ หรือพึ่งพาตนเอง ที่พุทธศาสนิกชนได้ยินจากพุทธสุภาษิตอยู่เสมอ คือ
อัตตาหิ อัตตโน นาโถ หรือตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
      คริสต์ศาสนา
      หลักคำสอนในศาสนาคริสต์ คือ ต้องรู้จักช่วยเหลือตนเองก่อน แล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน
      ศาสนาอิสลาม
      หลักคำสอนจะคล้ายกับคริสต์ศาสนา ก็คือ ให้รู้จักช่วยตนเอง และรู้จักเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดี
เสียก่อนแล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน

    

หน่วยการเรียนที่