ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

การให้เหตุผล

การให้เหตุผล คือ การอ้างหลักฐาน เพื่อยืนยันว่า ข้อสรุปนั้นเป็นความจริง ซึ่งการให้เหตุผลในแต่ละครั้งจะมีส่วนประกอบอยู่  2 ส่วน คือ
  1. ส่วนที่เป็นข้ออ้าง (หลักฐานหรือเหตุผล)
  2. ส่วนที่เป็นข้อสรุป (ผล หรือ สิ่งที่เราต้องการบอกว่าเป็นจริง)

ในการอ้างเหตุผลแต่ละครั้งอาจจะเขียนข้อสรุปขึ้นก่อนข้ออ้าง หรือ จะเขียนข้ออ้างขึ้นก่อนข้อสรุปก็ได้

ประเภทของการให้เหตุผล โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. การให้เหตุผลแบบอุปมัย
     เป็นการให้เหตุผลโดยอ้างหลักฐานจากประสบการณ์ นั่นคือ การที่เชื่อว่าสิ่งนั้นๆ เป็นจริง ก็เพราะเคยมีประสบการณ์มาก่อน เมื่อมีประสบการณ์แบบเดียวกันหลายๆ ครั้ง จึงสรุปว่าเป็นกฎ หรือ เป็นความจริงทั่วๆ ไป เกี่ยวกับสิ่งนั้น
     แต่การสรุปความจริงด้วยวิธีการอุปมัยนี้ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจเกิดผิดพลาดได้ง่าย

2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย
     เป็นการให้เหตุผลโดยนำเอาความจริงจากความรู้เดิมมาพิจารณาตามหลักเหตุผล แล้วสรุปความจริงใหม่ออกมา โดยไม่ต้องอาศัยการทดลอง หรือ การสังเกตจากประสบการณ์

ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล หมายถึงข้อสรุปที่เป็นจริงและสอดคล้องกับ เหตุ โดยที่เหตุจะต้องเป็นจริงทุกข้อ
ดังนั้น ในการตรวจสอบว่าข้อสรุปใด "สมเหตุสมผล" หรือไม่
จะต้องเริ่มจาก "เหตุที่เป็นจริงทุกข้อ" แล้วใช้เหตุที่เป็นจริงแต่ละข้อตรวจสอบว่า "ข้อสรุป" เป็นจริงหรือไม่ ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าข้อสรุปเป็นจริงเสมอ จะได้ว่า "ข้อสรุปนั้นสมเหตุสมผล"  ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่า "ข้อสรุปนั้นเป็นเท็จ" หรือ เป็นเท็จบางครั้ง จะได้ข้อสรุป ว่า "ไม่สมเหตสมผล"

ตัวอย่างที่ 1  จงตรวจสอบว่าการให้เหตุผลต่อไปนี้ สมเหตุสมผลหรือไม่

เหตุ       1. p -> q
            2. ~p ->r
            3. ~q

ผล         r

วิธีทำ ตรวจสอบว่า [(p -> q) ^ (~p ->r) ^ (~q)] -> r เป็นสัจนิรันดร์หรือไม่

วิธีที่ 1 สร้างตารางค่าความจริง

p

q

r

p -> q

~p -> r

[(p -> q) ^ (~p ->r)

[(p -> q) ^ (~p ->r)] ^ (~q)

[(p -> q) ^ (~p ->r) ^ (~q)] -> r

T

T

T

T

T

T

F

T

T

T

F

T

T

T

F

T

T

F

T

F

T

F

F

T

T

F

F

F

T

F

F

T

F

T

T

T

T

T

F

T

F

T

F

T

F

F

F

T

F

F

T

T

T

T

T

T

F

F

F

T

F

F

F

T


แสดงว่า [(p -> q) ^ (~p ->r) ^ (~q)] -> r  เป็นสัจนิรันดร์


วิธีที่ 2 พิจารณาค่าความจริงบางกรณี

ให้ [(p -> q) ^ (~p ->r) ^ (~q)] มีค่าความจริงเป็นจริง
จะได้ (p -> q) (เป็นจริง) ^ (~p ->r) (เป็นจริง) ^ (~q) (เป็นจริง)
ซึ่งทำให้ได้ว่า q มีค่าความจริงเป็นเท็จ

เนื่องจาก p->q ? T  และ q ? F
ดังนั้น p มีค่าความจริงเป็นเท็จ
เนื่องจาก ~p ->r ? T และ p ? F

ดังนั้น r มีค่าความจริงเป็นจริง
จึงสรุปได้ว่า การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล


การอ้างเหตุลผที่สมเหตุสมผลนั้น อาศัยสัจนิรันดร์เป็นหลัก โดยนิยมเขียนในรูปของการให้เหตุผล ดังต่อไปนี้

  1. การแจงผลตามเหตุ
  2. การแจงผลค้านเหตุ
  3. กฎของตรรกบท
  4. ตรรกบทแบบคัดออก
  5. การอนุมานร่วม
  6. การอนุมานโดยกรณี
  7. กฎของการทำให้ง่าย
  8. กฎของข้อความแย้งสลับที่

ตัวอย่างการให้หตุผลตามรูปแบบต่างๆ

1. การแจงผลตามเหตุ

ถ้า      a เป็นจำนวนคู่            แล้ว      a2 เป็นจำนวนคู่

           a เป็นจำนวนคู่

ดังนั้น   a เป็นจำนวนคู่

2. การแจงผลค้านเหตุ

ถ้า      a เป็นจำนวนเฉพาะ                แล้ว      a เป็นจำนวนเต็ม

           a ไม่เป็นจำนวนเต็ม

ดังนั้น   a ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ

3. กฎของตรรกบท

ถ้า      a เป็นจำนวนเต็ม                   แล้ว a เป็นจำวนตรรกยะ

         a  เป็นจำนวนตรรกยะ             แล้ว a เป็นจำนวนจริง

ดังนั้น   ถ้า a เป็นจำนวนเต็ม แล้ว a เป็นจำนวนจริง

4. ตรรกบทแบบคัดออก

ถ้า      a เป็นจำนวนเต็ม                   หรือ a เป็นจำนวนอตรรกยะ

         a  ไม่เป็นจำนวนตรรกยะ         

ดังนั้น  a เป็นจำนวนอตรรกยะ

5. การอนุมานร่วม

          a เป็นจำนวนเต็ม                  

          a  มากกว่า b            

ดังนั้น   a เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า b

6. การอนุมานโดยกรณี

ถ้า      a เป็นจำนวนคู่            แล้ว a2 + a  เป็นจำนวนคู่

ถ้า      a  เป็นจำนวนคี่           แล้ว เป็นจำนวนคู่

ดังนั้น   ถ้า a เป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ แล้ว a2 + a  เป็นจำนวนคู่

นั่นคือ  ถ้า a เป็นจำนวนเต็ม แล้ว a2 + a  เป็นจำนวนคู่


7. กฎของการทำให้ง่าย

           a เป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นบวก              

ดังนั้น   a เป็นจำนวนเฉพาะ

8. กฎของข้อความแย้งสลับที่

ถ้า      ?abc เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า แล้ว ?abc เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ดังนั้น   ถ้า ?abc ไม่ใช่รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว       แล้ว ?abc ไม่ใช่รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

 

ตัวอย่างที่ 2  จงตรวจสอบว่า การให้เหตุผลต่อไปนี้ สมเหตุสมผลหรือไม่

เหตุ     1. ถ้าฝนตกแล้วอากาศจะเย็น

          2. ถ้ามีอากาศเย็นแล้วมีลมแรง

          3. ฝนตก

ผล      มีลมแรง

 

วิธีทำ   ให้       p แทนข้อความ ฝนตก

                    q แทนข้อความ อากาศเย็น

                    r  แทนข้อความ มีลมแรง

ดังนั้น เหตุ คือ  1. p -> q

                    2. q -> r

                    3. p

          ผล                r

จากการพิจารณารูปแบบข้างต้น เราจะสามารถสรุปได้ว่า การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล เนื่องจากสอดคล้องกับรูปแบบ ที่ 3 กับ 1 กล่าวคือ

ดังนั้น เหตุ คือ  1. p -> q        กำหนดให้

                    2. q -> r        กำหนดให้

                    3. p -> r        1, 2 และรูปแบบ 3

                   4. p              กำหนดให้

ผล                r                  3, 4 และรูปแบบ 1

แหล่งที่มา
คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศ. (2555). การให้เหตุผล. ค้นจาก

http://www.scimath.org/index.php/socialnetwork/
groups/viewbulletin/466-4+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%
A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AB%
E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%
B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%
A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%
B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%
9C%E0%B8%A5?groupid=134

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com