หน้าแรก     บทเรียนออนไลน์     ดาวน์โหลด     เว็บลิงค์   เว็บบอร์ด   ผู้สอน     ผู้จัดทำ      
 

Menu
 บทที่ 1
 บทที่ 2
 บทที่ 3
 บทที่ 4
 บทที่ 5
 บทที่ 6
เว็บลิงค์
เรียนฟรี!วิชาโหราศาสตร์
หัตถศาสตร์ (วิชาดูลายมือ)
ศูนย์รวมความสนุกสนาน
ศูนย์รวมโปรแกรมเยอะแยะมากมาย
สุดยอดสำหรับนักโอเวอร์คล็อค
โหลดไดร์เวอร์ต่าง ๆ มากมาย
แลกเปลี่ยนความบันเทิง
หาทุกอย่างในนี้เจอหมด สบายไป Google !!
อ่านข่าวให้ทันชาวบ้านหน่อย !! MANAGER !!
แจ้งเตือนเรื่องไวรัสร้าย
แก้ปัญหาและเทคนิคอื่นๆ
แก้ปัญหา Internet
สอนการใช้คอมพิวเตอร์
สอนการใช้คอมพิวเตอร์
รวมพลคนทำเวบ
เขียนโปรแกรมด้วย VB
พัฒนาโปรแกรม [thaidev]
สร้างเว็บด้วย PHP
สอน VB พื้นฐาน



แนวความคิดของจิตวิทยากลุ่มต่างๆ

แนวความคิดของจิตวิทยากลุ่มต่างๆ

1. กลุ่มโครงสร้างของจิต ( Structuralism )
กลุ่มนี้เกิดจากผลงาน ของ อีบี. ทิสเชอเนอร์ วัตถุประสงค์ของจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ การวิเคราะห์ภายในจิตใจของมนุษย์ห ( introspection ) หรือ การพินิจภายใน ด้วยความระมัดระวัง ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับลักษณะและประสบการณ์เกี่ยวกับจิตสำนึกแบบง่ายๆ แล้วนำมาหาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆ กลุ่มนี้เห็นว่าควรทำการวิเคราะห์สิ่งย่อยๆ หลายๆ อัน ทั้งสิ่งที่ยากและง่ายรวมเข้าเป็นกลุ่มก้อน พยายามมองว่าจิตประกอบด้วยประสบการณ์ย่อยๆ หลายๆ อัน นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาถึงเรื่องจิตธาตุ ( mental elements ) คือ เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย กับจิตใจ ซึ่งต่างก็เป็นอิสระแก่กัน แต่ก็ทำงานสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของบุคคลเกิดการจากกระทำของร่างกาย ซึ่งการกระทำของร่างกายนั้นเกิดจากการควบคุมและสั่งการของจิตใจ ซึ่งกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าโครงสร้างของจิตประกอบไปด้วย จิตธาตุ (mental elements ) ซึ่งจิตธาตุนี้ประกอบด้วยสัมผัส ( sensation ) รู้สึก ( feeling ) และจิตนาการหรือภาพจิต หรือจิตภาพ หรือจินตภาพ หรือมโนภาพ ( image ) จิตธาตุทั้ง 3 นี้ เมื่อมาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดรูปจิตผสมขึ้น เช่น เกิดความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผล ฯลฯ ซึ่งจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญคือความเชื่อในเรื่ององค์ประกอบของบุคคลว่า บุคคลประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจ จิตใจยังแบ่งย่อยได้ เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการคิด การจำ ฯลฯ และสิ่งที่นำใช้ในการจัดการศึกษานักการศึกษาเชื่อว่าหากต้องการฝึกจิตธาตุส่วนใดให้มีความสามารถต้องฝึกฝนเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เช่น วิชาที่เกี่ยวกับการท่องจำ วิชาที่ต้องใช้ทักษะ วิชาที่ต้องใช้ความคิด เป็นต้น

2. กลุ่มหน้าที่ของจิต ( Function a lism )
ผู้พัฒนากลุ่มนี้ คือ วิลเลียม เจมส์ ผู้บุกเบิกเริ่มต้น คือ จอร์ห ดิวอี้ และ เจมส์ แองเจิล นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ การทดสอบทางจิต และการใช้เนื้อหาวิชาต่างๆ โดยเน้นเกี่ยวกับ “ อะไร ” . ” เพื่ออะไร ” สนใจเกี่ยวกับว่ามีสิ่งมีชีวิตทำอะไร และการกระทำนี้จะรวมถึงอากัปกริยาที่แสดงออกรวมกับความตั้งใจในการกระทำ ซึ่งจิตจะมีหน้าที่ควบคุมการกระทำกิจกรรมของร่างกายในการที่ร่างกายในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

แนวความคิดของกลุ่มหน้าที่ของจิตสรุปได้ 2 ประการ
1. การแสดงออก หรือการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของบุคคล เป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าต้องการจะศึกษาจิตใจของคนต้องศึกษาที่การแสดงออก หรือการกระทำของเขาในสถานการณ์ต่างๆ
2. พฤติกรรมการกระทำ และการแสดงออกของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับมา
นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการเรียนรู้ การจูงใจ การแก้ปัญหา ความจำของคนเพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้กับสิ่งแวดล้อมได้ แนวคิดของกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาคือเพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสูข ซึ่งตรงกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ว่า การศึกษาคือการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม วิธีการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ให้มากที่สุด
3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )
ผู้นำกลุ่มนี้ คือ จอห์น บี วัตสัน ( John B. Watson ) กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการพินิจภายในหรือวิธีการตรวจสอบตนเอง และถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในเรื่องที่ว่าพยายามทำให้มนุษย์เป็นเหมือนเครื่องจักรวัตสันมีความเห็นว่า พฤติกรรมเป็นการกระทำที่ทุกคนเห็นได้ ส่วนจิตสำนึกเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถมองเห็นได้ดังนั้นศาสตร์ควจจะเกี่ยวข้องกับความจริงทุกคนเห็นได้ มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเราเกิดขึ้นจากการแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และการตอบสนองติดต่อกันไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เชื่อว่าพฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้า จิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชื่อว่าการฝึกอบรมเด็กให้มีพฤติกรรมตามที่ปรารถนได้ พฤติกรรรมของคนเกิดการเรียนรู้มากกว่าที่จะเป็นไปเองธรรมชาติ
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis )
ผู้นำจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) ฟรอยด์เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย ฟรอยด์ได้วิเคราะห์ภาวะจิตใจของคนเราออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ภาวะจิตรู้สำนึก ( conscious mind ) คือภาวะที่คนเราความรู้สึกตัวว่าเราคือใคร กำลังทำอะไร รู้ตัว รู้ตนว่าเป็นอะไร คือเป็นภาวะที่คนเรารู้สึกตัวมีสตินั่นเอง ส่วนจิตใต้สำนึก ( subconscions mind ) คือ สภาพที่ไม่รู้ตัวบางขณะ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่จำและไม่ได้ลืมเสียทีเดียว แต่ไม่ได้นึกถึงในขณะนั้น จะนึกขึ้นมาได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเตือนทำให้นึกออกหรือคิดได้ทันที เป็นประสบการณ์ต่างๆ ที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เป็นสภาวะที่คนเราสามารถระลึกได้ และจิตไร้สำนึก ( unconscious mind ) เป็นสภาวะที่คนเราเก็บกดบางสิ่งบางอย่างเอาไว้ในส่วนลึกของจิตใจ บางครั้งเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้ว่าการทำสิ่งนั้นเพราะอะไร เป็นสิ่งที่เก็บกดเอาไว้หรือพยายามที่จะลืม บางครั้งก็อาจลืมไปได้จริงๆ เพราะอาจเป็นสถานการณ์ที่เจ็บปวดไม่อยากจะจำไว้ การออกของจิตไร้สำนึกหรือสิ่งที่เราเก็บกดเอาไว้เหล่านี้มักจะออกมาในรูปของความฝัน การละเมอการพลั้งปากพูดออกไป หรือการสะกดจิตของจิตแพทย์เพื่อต้องการรู้ถึงจิตไร้สำนึกซึ่งเป็นความขัดแย้งในใจและเชื่อว่าเป็นสาเหตุของพฤติกรรม
ที่เบี่ยงเบนหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติและบุคลิกภาพที่เป็นปัญหาของบุคคล นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้วิเคราะห์องค์ประกอบของจิต หรือ พลังจิต ออกเป็น 3 ส่วน คือ อิด ( id ) หรือ ตัณหา คือ ความอยากทั้งหลายทั้งปวง ความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์ รวมทั้งสัญชาติญาณและแรงขับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจิตที่คอยกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามหลักแห่งความพอใจ ( pleasure principle ) เพื่อตอบสนองความต้องการของตน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้ขัดเกลา ไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น แสดงออกให้มาซึ่งสิ่ งท ี่ตนต้องการ ทำพฤติกรรมต่างๆ ตามความพอใจ พฤติกรรมที่แสดงออกมาภายใต้อิทธิพลของอิดนี้จึงมีลักษณะค่อนข้าง ก้าวร้าว หยาบคาย เห็นแก่ตัว บางครั้งโหดร้าย เป็นต้น ส่วนอีโก้ ( ego) คือ พลังจิตที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมซึ่งบุคคลได้รับมาจากการในสังคม ได้ผ่านการอบรมมาแล้ว การแสดงออกของอีโก้นั้นยึดหลักของเหตุผล ( reality principle ) เป็นเหตุเป็นผลหาทางให้อิดได้ตอบสนองโดยไม่ขัดกับคุณธรรม หรือค่านิยมของสังคม ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมดำเนินไปอย่างเหมาะสม และตัวสุดท้าย คือ ซุปเปอร์อีโก้ ( super ego ) คือ ส่วนที่เป็นอุดมการณ์ ค่านิยมอุดมคติ เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของความรู้สึกชอบชั่วดีบทบาทของกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้จะเน้นหนักไปทางด้านบุคลิกภาพ การแนะแนว และมักเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ใช้ประโยชน์ในจิตวิทยาคลีนิค การให้คำปรึกษา ศึกษาพวกอปติ โดยจะศึกษาถึงสาเหตุของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติของมนุษย์โดยทั่วไป
5. กลุ่มเกสตัสท์ ( Gestalt Psychology )
ผู้นำจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไธเมอร์ กับคณะ คือ เคิร์ท คอฟกา และวูฟแกง โดห์แลอร์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ที่ประเทศเยอรทมันนี ส่วนคำว่า “ เกสตัลท์ ” ( Gestalt ) นั้นเป็นคำในภาษาเยอรมันซึ่งตรงกับคำในภาษาอังฤกษ “ form ” หรือ “ figure ” หรือ “ configuration ” หมายถึง แบบหรือรูปร่างรูปแบบ การรวมหน่วยย่อย การรวมเป็นรูปร่าง หรือโครงรูปแห่งการรวมหน่วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยืดถือเอาส่วนรวมทั้งหมดเป็นสำคัญ หลักสำคัญที่เกี่ยวกับจิตวิทยาเกสตัลท์ ได้แก่
1) การรับรู้ภาพและพื้น ( figure and ground ) การที่คนเรารับภาพต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือรูปภาพทางเรขาคณิต เป็นรูปต่างๆขึ้นมาได้นั้น เพราะเส้นต่างๆตัดพื้น ทำให้เกิดภาพขึ้นมามองเห็นเป็นกระสวน ( pattern ) ของรูปภาพต่างๆ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้น บางครั้งเราจะมองเห็นภาพและพื้นสลับกัน การเห็นเป็นแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับการมองหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2) การรับรู้เป็นหมวดหมู่และเป็นกระสวน ( perceptal grouping and pattern ) กระสวนที่เรียบง่ายของเส้น ของจุด ย่อยมีความสัมพันธ์กับจนเรามองเห็นเป็นกลุ่มเดียวกันได้ง่ายเนื่องจากโครงสร้างของภาพต่างๆ มีอิทธิบังคับให้เราเห็นเป็นกระสวนไปตามที่จงใจจัดไว้
3) การพิสูจน์การรับรู้ ( perceptual hypothesis ) ภาพที่มองอาจจะกลับไปกลับมาก็ได้ ( reversible figure ) การเห็นภาพกลับได้เช่นนี้ชี้ว่าในเมื่อสิ่งเร้าเสนอภาพมาให้เลือกเป็นสองแง่เช่นนี้ เราก็ต้อง
กำหนดไว้ว่าการมองของเรานั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิสูจน์ให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าเราจะรับรู้ความหมายอัน่ไหน
4) มายาแห่งการรับรู้ในการมองภาพ ( visual illusion ) บางครั้งเราเลือกรับรุ้ภาพผิดอันเป็นผลจากการพิสูจน์สมมุติฐานไม่ออก เราจะพบภาพมายาทันที แบ่งออกเป็น
4.1 มายาแห่งการรับรู้อาจได้จากปัจจัยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของขนาด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆ ที่ห้อมล้อมอยู่
4.2 มายาแห่งการรับรู้อาจเกิดขึ้นจากเอาภาพหนึ่งฉายเข้าไปในมิติที่สาม ทำให้เกิดการตัดกันของเส้นตรง
4.3 มายาที่เกิดจากเส้นขนานที่ถูกอิทธิพลของระยะไกล เช่น เราทราบว่าทางรถไฟนั้นขนาดเดียวกันตลอด กระนั้นเราก็เห็นส่วนที่ใกล้กว้างกว่าส่วนที่ไกล เราเรียกว่า ponzo illusion
5) การหยั่งเห็น ( insight ) กลุ่มนี้เชื่อว่าความสามารถในการแก้ปัญหาของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น คนเราจะหยั่งเห็นได้ต้องอาศัยการมีประสบการณ์เป็นตัวช่วยในการรับรู้การนำหลักของจิตวิทยาเกสตัลท์มาใช้

จิตวิทยาเกสตัลท์เน้นเรื่องการรับรู้และการรับรู้ มีการนำหลักมาใช้ดังนี้
1. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะแสวงหาข้อยุติ หากมีสถานการณ์ หรือปัญหาใดยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์มนุษย์จะมุ่งความสนใจจนกว่าจะได้รับคำตอบในเรื่องนั้นอย่างบูรณ์
2. มนุษย์มุ่งสนองความต้องการในปัจจุบันให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่ละคนจะรับรู้ต่างๆ ตามความต้องการในขณะนั้นของตน เช่น วัตถุทรงบกลม สำหรับที่กำลังหิวอาจเห็นเป็นลูกแอปเปิ้ล ส่วนเด็กที่กำลังอยากเล่นจะเห็นเป็นฟุตบอลก็ได้
3. พฤติกรรมของมนุษย์เป็นหน่วยรวม ที่มีความสำคัญมากกว่าพฤติกรรมย่อยหลายๆ อันมารวมกัน เช่น การฟังดนตรี เป็นกระบวนการที่เกิดจากการรวมเสียงตัวโน้ตแต่ละตัวรวมกันเป็นทำนองเพลง
4. พฤติกรรมของมนุษย์จะเป็นที่เข้าใจและมีความหมาย เมื่อทราบถึงที่มาของพฤติกรรมนั้นเช่น เด็กที่ถูกพ่อแม่เฆี่ยนตีเสมอ เมื่อเห็นครูเดินถือไม้บรรทัดเข้ามาหาก็อาจคิดว่าครูกำลังจะเขามาโทษตัวเอง
5. ประสบการณ์ที่มนุษย์ได้รับเป็นผลจากหลักการภาพและพื้น ถ้าเราให้ความสนใจต่อสิ่งใดในขณะนั้น สิ่งนั้นเป็นภาพและสิ่งอื่นจะเป็นพื้น เช่น ในขณะที่เราดูภาพวาดสีและรูปทรงถือเป็นภาพจะเปลี่ยนเป็นพื้น

จะเห็นได้ว่าจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์นี้เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ได้ผลดีกับปัญหาต่างๆ หลายด้าน เช่น การบรรลุสัจการแห่งตน การาพัฒนาสภาพจิต การสื่อสารระหว่างบุคคล การตัดสินใจแก้ปัญหา การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์

6. กลุ่มมนุษย์นิยม ( Humaniam )

ผู้นำกลุ่มนี้ คือ คาร์ โรเจอร์ ( Carl R. Rogers ) และ อับราฮัม มาสโลว์ ( Abraham H. Maslow ) มีแนวคิดดังนี้ ( กันยา สุวรรณแสง .2540 )
1)เชื่อว่ามนุษย์ทีจิตใจ มีความรู้สึก มีความรัก ต้องการความอบอุ่น ต้องการความเข้าใจและมีความสามารถเฉพาะตัว
2) เชื่อว่ามนุษย์พยายามที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองอื่นและและยอมรับในความสามารถของตนเอง
3) มีความเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็เข้าใจผู้อื่นและยอมรับตนเองอยู่แล้ว ต่างก็มุ่งสร้างความเป็นที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง
4) มนุษย์ควรมีอิสระที่จะเลือกกระทำ เลือกประสบการณ์ให้แก่ตนเอง
5) มีความเห็นว่าวิธีการค้นคว้า และ แสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงต่างๆ นั้น เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญกว่าตัวความรู้หรือข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวความรู้จึงไม่คงที่ตายตัว ดังนั้นที่สำคัญก็วิธีการแสวงหาความรู้
กลุ่มนี้มองว่ามนุษย์มีแต่สิ่งที่ดีงาม ทุกคนอยากทำความดี จะเน้นคุณค่าของความเป็นเพราะมนุษย์มีความเป็นอิสระในการคิดการตัดสินใจและมีความรับชอบด้วยกันทุกคน

7. มนุษย์ตามหลักพุธทศาสนา
จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสนานี้ กล่าวว่ามนุษย์ประกอบด้วยกาย ( รูปขันธ์ ) และจิต ( นามขันธ์ ) ขันธ์ แปลว่า หนวด หมู่ กอง ซึ่งมนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ห้า หรือเบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบ 5 ส่วน ที่ประชุมรวมกันเป็นหน่วยรวม ซึ่งสมมุติเรียกว่าบุคคล ( a human beig ) หรือตัวเรา ( a person ) นั่นเองขันธ์ 5 ( the five aggregateas ) ประกอบด้วย ( จำลอง ดิษยวณิช . 2541 )
1) รูปขันธ์ ( corporeality ) คือ กองรูปได้แก่ส่วนที่เป็นร่างกาย รวมทั้งพฤติกรรมอาการและคุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผม เล็บ ฟัน หนังปอด ตับไต การยืน การเดิน การยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นสภาพทางกายจับต้องได้ มองเห็นได้อย่างชัดเจน
2) เวทนาขันธ์ ( feeling ) คือ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดจากการทำงานของรูป โดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า เป็นความรู้สึกจากการเสวยอารมณ์ซึ่งความรู้สึกนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สุขเวทนาคือความรู้สึกที่เป็นสุข ทุกขเวทนาคือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ และอุเบกขาเวทนาคือความรู้สึกเฉยๆหรือไม่สุขไม่ทุกข์
3) สัญญาขันธ์ ( perception ) คือ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดจากการทำงานของรูป โดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสแล้วประทับอยู่ในความทรงจำ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้นรส การสัมผัสและการนึกคิด สัญชานยังมีความคล้ายกันอย่างมากกับความรู้สึกจากการสัมผัสหรืออินทรีย์สัมผัส ( sensation ) และสัญชาน หรือการกำหมดรู้ ( Perception ) ในทางจิตวิทยาความรู้สึกจากการสัมผัสคือการเปลื่ยนรูปของสิ่งเร้าทีมากระทบอวัยวะรับสัมผัสไปเป็นกระแสประสาท
ที่ถูกส่งมาเป็นข้อมูลทางสรีรวิทยาให้เป็นข้อมูลทางจิตใจที่มากระทบอวัยวะรับสัมผัสไปเป็นกระแสประสาทที่ถูกส่งมา
เป็นข้อมูลทางสรีวิทยาให้เป็นข้อมูลทางจิตใจที่สามารถจะรู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร
4) สังขารขันธ์ ( mental formation ) หรือความคิดคือกอ
สังขารเป็นส่วนของความคิดที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากรูปขันธ์ มาประกอบกันเป็นมโนกรรม แบ่งเป็น การคิดกุศล การคิดอกุศล การคิดอกุศล และการคิดตามปกติวิสัยในเรื่องทั่วๆ ไป ความคิดเหล่านี้ก่อให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจาและใจที่เป็นบุญ บาป หรือกลางๆ ดังนั้นกิเลสที่แท้จริงก็คือตัวสังขารหรือกิเลสอยู่ที่สังขารนั่นเอง
5) วิญญาณขันธ์ ( consciousness ) คือ กางวิญญาณ ได้แก่ส่วนที่เป็นการรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า อารมณ์ในทางพุทธศาสนาแตกต่างจากอารมณ์หรืออาเวค ( emotion ) ในทางจิตวิทยา อารมณ์ทางพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งเร้าภายนอก 6) ซึ่งได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องกาย และสิ่งที่ใจนึกคิด ส่วนในทางจิตวิทยาอารมณ์ หรือ อาเวค หมายถึง ความสะเทียนใจที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายถูกยั่วยุโดยสถานการณ์บางอย่างจนเกิดการตอบสนองทางสรีวิทยาอย่างซับซ้อน เช่น ความโกรธ ความกลัว ความสุข ความสะเทือนใจ เป็นต้น เวลาโกรธ จะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งความจริงแล้วอารมณ์ในทางจิตวิทยาก็คือเวทนาในลักษณะหนึ่งนั่นเอง

ดังนั้นแนวความคิดที่ว่ามนุษย์ประกอบด้วยกายและจิตว่าเป็นอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง ยังคงถกเถียงกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นักจิตวิทยาก็ยังคงศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ทั้งสองอย่าง โดยศึกษาทั้งพฤตกรรมนอก (กาย) และพฤติกรรมภายใน (ใจ)

 

ก่อนหน้า   หน้าหลัก   ถัดไป

LINK..

หน้าแรก  |   บทเรียนออนไลน์  |   ดาวน์โหลด  |   เว็บลิงค์   |   เว็บบอร์ด  |   ผู้สอน  |   ผู้จัดทำ
SNRU.ac.th. All Rights Reserved.