|
ลัทธิโยคีและมายาศาสตร์
181.45 ห313ล
ลัทธิโยคีและมายาศาสตร์
ผู้แต่ง: หลวงวิจิตรวาทการ
ชื่อเรื่อง: ลัทธิโยคีและมายาศาสตร์
สรุปเนื้อหา
หลักของโยคีเรื่องส่วนผสมของมนุษย์และอธิบายถึงร่างกาย เจตภูต และปราณ
อันคำอธิบายคำว่าโยคนั้น เราไปจำเป็นต้องไปหาคำอธิบายที่ไหนให้ลำบาก ปทานุกรมของกระทรวงธรรมการอธิบายไว้อย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ใช้ลัทธิเหลวไหล เป็นวิชชาที่ผู้แต่งปทานุกรมของเราก็เห็นว่า เป็นคำที่อธิบาย จึงได้ทำคำอธิบายไว้ถึงเกือบครึ่งหน้ากระดาษ รวมใจความลงได้ว่า โยค หมายถึง การผูก การเกี่ยวข้อง ความเพียรความพยายาม ความตั้งใจจริง การสบงตัว ความเพ็งเล็งแน่วแน่ คือปทานุกรมภาษาบาลีของซิลเดอร์ แปลแปลกออกไปอีกอย่างหนึ่งว่า ความเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือแถวแนวของธรรมต่างๆ
1. ร่างกาย ในบรรดาส่วนประกอบตัวมนุษย์ทั้ง7 นั้น ร่างกายเป็นส่วนที่เห็นได้ชัดที่สุด เป็นส่วนที่ต่ำที่สุดและหยาบที่สุดในตัวคน แต่ทั้งที่ไม่มีความหมายว่าเราจะควรเลินเล่อไม่เอาใจใส่แก่ร่างกาย ตรงกันข้าม ร่างกายเป็นเหมือนที่บรรจุหรือเครื่องห่อหุ้มอันสำคัญของวิญญาณ เราจึงต้องรักษาให้มาก เพราะเมื่อร่างกายไม่ดีแล้ว ก็แปลว่าเครื่องห่อหุ้มหรือเครื่องกำบังส่วนหนึ่งไม่สมบูรณ์อาจกระทบกระเทือนถึงส่วนสูงๆ ต่อไปด้วย ฉะนั้นจึงเป็นการจำเป็น ที่คนทุกคนจะต้องรักษาร่างกายให้ดี เพื่อให้มีกำลังสมบูรณ์สำหรับการปฏิบัติการตามคำสั่งของดวงจิต
เมื่อความตายถึง ช่องเหล่านั้นก็ไม่มีชีวิตครอง และช่องต่างๆก็แยกออก เหมือนหนึ่งบ้านที่ไม่มีคนอยู่ ประตูหน้าต่างอาจจะออกจะถูกเปิดหรือพังทลายไปได้ อาการที่ช่องรูเล็กๆ ในตัวเผยแยกออกนี้เอง ที่ทำให้ศพคนตายขึ้นอืดพองโตขึ้น และต่อจากนี้นธาตุต่างๆ ที่ปกครองเข้าเป็นร่างกายที่แยกกันออกไป ที่แข็งก็กลายให้เป็นดิน ที่เหลวก็กลายให้เป็นน้ำ แต่เมื่อร่างกายทำลายไปแล้ว ส่วนปราณและดวงวิญญาณก็ออกจากร่างกายเข้าไปสู่ในตัวสัตว์บ้าง ในต้นไม้บ้าง ในร่างกายมนุษย์บ้าง เริ่มที่กำลังเกิดอยู่บ้าง ยังคงวนเวียนหาที่เกาะไม่ได้บ้าง
ด้วยเหตุนี้เองลัทธิโยคีจึงถือว่า ความตายไม่ได้ทำอะไรให้สูญ ความตายเป็นการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น และเมื่อเป็นดังนี้ความตายก็ไม่มช้ของที่น่าพึงกลัวเลย
2. เจตภูต หรือ กายทิพย์ เป็นสิ่งที่รู้กันมาและเห็นกันอยู่ทุกยุคทุกสมัย และเรื่องเจตภูตหรือกายทิพย์นี้เอง ที่ทำให้เกิดความเชื่อความกลัวเรื่องผีสางต่างๆ เพราะเหตุที่ไม่รู้กันมากความจริงคืออะไร เจตภูตหรือกายทิพย์ก็เป็นกายอันหนึ่งแต่ส่วนผสมของกายนี้ละเอียดกว่าร่างกายธรรมดา เมื่อร่างกายแตกดับไปแล้ว เจตภูตหรือกายทิพย์นี้ยังคงอยู่ชั่วคราว และบางทีก็ได้แสดงตนให้ปรากฏแก่ตามนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เราจึงเรียกว่าผีปีศาจหรือ อนึ่ง ลัทธิโยคีอธิบายว่า ผู้ที่มีอำนาจดวงจิตอย่างแรง หรือมีทิพจักษุ ย่อมจะแลเห็นกายทิพย์ออกจากกายธรรมดา
แต่ยังมีความเกี่ยวพันเหมือนเป็นเส้นด้ายเล็กๆ ติดต่อกับร่างกายธรรมดาอยู่ เส้นด้ายๆ นี้เป็นเครื่องผูกโยงให้กายทิพย์ติดต่อกับร่างกายธรรมดาเสมอ ปัญหาเรื่องกายทิพย์หรือเจตภูตนี้ ยังมีอีกมากมาย ดังจะกล่าวต่อไปนี้บทหลังๆ และข้าพเจ้าผู้แต่งเรื่องลัทธิโยคีนี้ ใคร่ขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านอ่านพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ให้ชื่อว่า มฤตยูกถา หรือ มรณานุสร พิมพ์ในไทยเขษม รายเดือน ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 เป็นคำอธิบายดีที่สุดอันหนึ่งในเรื่องนี้
3. ปราณ ปราณนั้นเป็นกำลังที่มนุษย์ได้มาจากธาตุต่างๆ ในโลก ปราณไม่มีเฉพาะในตัวมนุษย์เท่านั้น ปราณมีอยู่ในชีวิตทุกๆอย่าง ทั้งมนุษย์ สัตว์และต้นไม้ สำหรับตัวมนุษย์เหล่านั้น เมื่อปราณได้เข้ามาอยู่ในตัวแล้วแต่ต้นไม้กับมนุษย์เราผิดกัน ต้นไม้แม้จะไม่มีหัวใจ ปราณก็ใช้ทำอะไรไม่ได้และในที่สุดปราณก็หมด เมื่อปราณหมดไปแล้ว คราวนี้ร่างกายก็มีแต่จะเน่าเปื่อย ปราณเป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่งในทางจิตศาสตร์ เพราะปราณไม่แต่จะสามารถให้ชีวิตและความแข็งแรงแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของปราณเท่านั้น ปราณยังเป็นสิ่งสำคัญในการที่มีความสามารถ ในดวงจิตศาสตร์
สำหรับรักษาโรคผู้อื่น เป็นเครื่องดึงดูดหัวใจและอื่นๆ อีกเป็นอันมาก เพราะฉะนั้นปราณจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งอันหนึ่ง ที่ต้องระมัดระวังรักษา และหามาสะสมไว้ให้มากๆปราณเป็นของที่หาได้จากภายนอก และวิธีหาก็หาได้อย่างง่ายๆ โดยมิต้องซื้อต้องขอใคร วิธีหาปราณคือการหายใจอากาศบริสุทธ์และหายใจให้แรงให้ลึกอยู่เสมอ เมื่อทำดังนี้เราก็จะมีปราณอยู่ในตัวมาก สำหรับจะใช้เป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ดังจะกล่าวในบทหลังๆ
ที่มา :
หลวงวิจิตรวาทการ. (2541).
ลัทธิโยคีและมายาศาสตร์. กรุงเทพฯ:
สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 124.
|
|