ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ปรัชญาจีน

181.11น346ป
ปรัชญาจีน

ผู้แต่ง: น้อย พงษ์สนิท
ชื่อเรื่อง: ปรัชญาจีน

สรุปเนื้อหา

หนังสือ "ปรัชญาจีน" เล่มนี้บทที่ 1 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยย่อจะมีความมุ่งหมายอยู่ที่ต้องการให้ผู้ศึกษาได้รู้แนวโน้มทางปรัชญาของแต่ละสมัย ตลอดจนวิวัฒนาการและการแปรเปลี่ยนโยยึดหลักราชวงศ์ต่างๆ ที่ปกครองประเทศจีนเป็นแนวทาง ทั้งนี้เพราะปรัชญาจีนมิได้แยกตัวเองออกต่างหากจากแนวคิดทางการปกครอง สิ่งหนึ่งที่มีบทบาทต่อวัฒนธรรมของจีนอยางมากคือ ลัทธิปรัชญาซึ่งเป็นทรรศนะของนักปราชญ์ (Sage) จีนในอนาคต เป็นที่สนใจทั้งต่อชาวจีนและชาวต่างชาติ มีอิทธิพลต่อ ทัศนคติและการครองชีวิตของชนชาติเหล่านี้มิใช่น้อย อิทธิพลของปรัชญาจีนแพร่หลายออกไปในแถบเอเชียตะวันออก
บทที่2 ปรัชญาสมัยโปราณ ความหมาย ลักษณะ และจุดมุ่งหมาย ของปรัชญาจีน คำว่าปรัชญาโดยความหมายในปรัชญาจีน ความรู้ซึ่งเป้นสัมฤทธิผลของการคิด ไตร่ตรองตามหลักเหตุผลและเป็นอุปกรณ์ อันจะก่อให้เกิดในชีวิตนี้ และสังคมนี้นักปรัชญาจีนไม่มีค่านิยมแนวทางที่ว่า จลแสวงหาความรุ้เพื่อความรู้แต่ควมรู้นั้นจะต้องนำมาเป้น หลักปฎิบัติเพื่อก้าวเข้าสู่อุดมคติอันสูงของชีวิต
บทที่ 3 ปรัชญาจีนยุคฟื้นฟู ลัทธิเต๋าใหม่ โดยลักษณะทางปรัชญา เต๋ายุคใหม่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. กล่มนิยมเหตุผล ( The Rationalis)
2. กลุ่มนิยมแรงผลักไสบริสุทธิ์ ( The Sentimentalist)

กลุ่มนิยมเหตุผล

นักปราชณ์ที่จัดว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มนี้คือ เกาเซียง และเซียงฮุ้ย ในกลุ่มนี้มีทรรศนะทางปรัชญา
บทที่ 4 สถานภาพและบทบทาของปรัชญาในอารยธรรมจีน สถานภาพของปรัชญาจีนกล่าวได้ว่า มีบทบาทต่ออารยธรรมจีนเป็นอย่างมาก เปรียบได้กับศาสนา มีบทบาทอารยธรรมของชนชาติอื่นๆ
บทที่ 5 ความเปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่ การเกิดขึ้นของปรัชญาที่เรียกว่า ปรัชญาขงจื้อยุคใหม่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งก็คือ ชื่อที่ใช้เรียก ปรัชญาขงจื้อ ที่เปลี่ยนแปลง มาในช่วงราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์เหม็งและราชวงศ์ชิง
ขงจื้อได้สอนปรัชญาทั้งทางสังคมและการปกครองเพื่อจุดหมายคือ การเพิ่งพูนความรู้ความมีจิตใจซื่อตรง ความรับผิดชอบในหน้าที่ การสร้างสรรค์ ชีวิตส่วนตัว การจัดระเบียบของสังคม ต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 พวกขลจื้อยุคใหม่ได้แปรเปลี่ยนปรัชญาซึ่งมีลักษณะเป็นปรัชญาทางสังคม การปกครอง ให้กลายป็นอภิปรัชญา แบบ อัตวิสัย และเก็งความจริง

ที่มา :

น้อย พงษ์สนิท. (2533).

ปรัชญาจีน. กรุงเทพฯ:
โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, หน้า 152.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com