|
พุทธปรัชญามองจากทรรศนะทางวิทยาสาสตร์
181.043 ส291พ
ศาสนาวิทยาและจริยสังคมวิทยา
ผู้แต่ง: สมัคร บุราวาศ
ชื่อเรื่อง: พุทธปรัชญามองจากทรรศนะทางวิทยาสาสตร์
สรุปเนื้อหา
ศาสนาวิทยาและจริยสังคมวิทยา
1. ศาสนวิจารณ์ แต่การนึกคิดเช่นนี้เป็นเพียงการนึกคิดของผู้เลื่อมใสศรัทธาเท่านั้น ผู้ไม่มีศรัทธาหรือผู้ที่ต่างศาสนากับเรามักจะตั้งปัญหาถามต่างๆ นานา ซึ่งถ้าเราไม่ใช่นักประชาธิปไตยที่ดี หรือไม่มีเหตุผลที่เพียงพอที่จะตอบแล้ว ก็มักจะกล่าวคำเสียดสีออกมาว่า พวกที่ซักเป็น " เดียรถีย์" เป้นพวกมิจฉาทิฏฐิ เป็นพวกที่ไร้ศีละรรม ความจริงมีคนในโลกอยู่มากมาย ที่ยอมรับว่าตัวไม่นับถืออะไรเลยแต่ก็ปรากฏว่าพวกนี้มีการศึกษาดีและมีศีลธรรมดี เมื่อเป้นดังนี้ก็
เป็นนิสัยที่น่าคิดว่า ผู้ที่เป็นปักใจเลื่อมใสในศาสนาใดศาสนาหนึ่งอาจเป้นพวกงมงายก็ได้ ฉะนั้น เมื่อถูกต้อนด้วยเหตุผลจึงไม่อาจโต้เถียงสู้ฝ่ายค้านได้ มันักศาสนาอยู่จำนวนมากมายเหมือนกันซึ่งเมื่อตอบปัญหาที่ฝ่ายแย้งถามมาไม่ได้ ก็อ้างความลึกลับหรือความสูงส่งวิสัยสามัญชนของความเข้ามาอ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายแย้งจำเป็นจะต้องเงียบไปแต่การกระทำดังนี้ย่อมเป็นการเสี่ยงตัวอยู่มากอยู่ เพราะฝ่ายแย้งอาจหาว่านักศาสนาผู้นั้นอาจเอาความเท็จหรือสิ่งที่มิได้มีอยู่จริงๆ
นี่หมายความว่า เราจะศึกษาศาสนาด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเฉยๆ ไม่ได้แล้ว เพราะว่าคำสอนที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดในทุกๆ ศาสนาคือ " จงแสวงหาความจริงและละทิ้งความเท็จ" คำสอนนานัปการในศาสนาหนึ่งๆ อาจถูกบ้าง ผิดบ้าง ล้าสมัยบ้าง เป็นคำสอนของพระอรรถกถาจารย์ชั้นหลังๆ ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่คำสอนแต่เดิมของเจ้าศาสนาบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นหน้าที่ของนักคิดที่ต้องเลือกสรรเอาคำสอนที่แท้ของศาสดาออกมาเผยแพระ และกระทำวิจารณ์คำสอนนั้นๆ หรือชี้ให้เห็นความผิดถูกของมัน
2. ภารกิจที่แท้ของศาสนา ความจริงถ้าเราจะถามกันอย่างคาดคั้นว่า มีศาสนาไปทำไมกันเราก้จะได้คำตอบที่เป็นการสิ้นสุดว่ามีศาสนาไว้สอนให้คนประพฤติดี ประพฤติดีไปเพื่ออะไร คำตอบคือประพฤติดีไปเพื่อจะได้ไม่เบียดเบียนกันเอง จะได้สามัคคีและช่วยเหลือกัน ทำให้สามารถอยู่ในโลกกันได้ด้วยความพอใจและความสุข ทำได้เพียงแค่นี้ก็จะเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่แล้ว เพราะแม้จนกระทั่ง ณ บัดนี้ มนุษย์ก็ยังประพฤติชั่วกันอยู่และเลยเข้าเบียดเบียนกันเอง เข้าทำลาย
ความสามัคคีซึ่งกันและกันและแตกแยกกันเอง ทำให้ไม่อาจร่วมช่วยเหลือกัน ร่วมทำโลกให้น่าอยู่ยิ่งกว่านี้ได้ มิหนำซ้ำยังก่อทุกข์ให้แก่กันเสียอีกด้วยเล่า ฉะนั้นศาสนวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์จึงไม่ไคร่สนใจต่อปัญหานรกสวรรค์ ชาติหน้า อมฤตภาพ หรือภาวะพรหมซึ่งว่าเป็นผลตอบแทนความดีของคนเป็นส่วนบุคคลหลังจากเขาได้ตายไปแล้ว ศาสนวิทยาย่อนดำเนินไปตามมติของขงจื้อที่ว่า"เรื่งของคนเป็นๆ ยังไม่ไคร่รู้กัน จะไปสนใจอะไรกับเรื่องของคนตายเล่า"
3.ศาสนาเกิดในกลียุค ความจริงเมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ตามแผนวิทยาศาสตร์ดังกล่าวเราก็จะไดคำตาบต่อปัญหาที่ถามว่า"มีศาสนาไว้เพื่ออะไร" ดังได้กล่าวมาแล้ว เพราะไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม ปรัวัติศาสตร์บอกเราว่ามันเกิดมาในขณะที่มนุษย์กำลังระส่ำระสาย เบียดเบียนแตกแยกกันอย่างรุนแรงทั้งสิ้น และสิ่งเหล่านี้เองได้ผลักดันให้บรมศาสนาคิดค้นหาทางขึ้นแก้ไข และทางดังกล่าวก็คือคำสอนของท่านนั้นเอง การใช้คำว่า "ยุคทอง" กับเวลาที่ศาสนาเกิดจึงผิด
ถนัด เพราะศาสนาย่อมเกิดใน "กลียุค" ทั้งสิ้น สังคมอินเดียในสมัยพุทธกาลปั่นป่วนเพียงใด เราจะทราบได้จากข้อความในบทต่อไป และในบท...ฉะนั้นผู้ที่กล่าวเอาเองจากการอนุมานอย่างผิดๆว่า "คนดีต้องเกิดเวลาที่บ้านเมืองดี" จึงผิดถนัดเพราะพระไตรปิกฏเอง ก้มีคำระบุไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงเกิดในกลียุค รายละเอียดในพุทธประวัติหลายชิ้นช่วยส่งเสริมความจริงในข้อนี้
4. ศาสนาแต่เบื้องบุพพกาล อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเราจะทิ้งเสียไม่กล่าวถึงกำเนิดของศาสนาแต่เบื้องบุพพกาล เราก็อาจจะเข้าใจคลุมเครือในเรื่องความเชื่อถือต่างๆ ที่มีในศาสนาปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะปรากฏว่า เราได้นำศรัทธาในศาสนาบุพพกาลเข้าปะปนกับศาสนาสมัยใหม่มากอยู่ฉะนั้นถ้าเราไม่ทำการศึกษาสะสางเสียก่อน เราจะเกิดความเข้าใจจริงในเรื่องของศาสนาไม่ได้เลย ข้อความเกี่ยวกับศาสนาบุพพกาลนั้นเราจะหาอ่านได้จากตำราสังคมวิทยา ปรัชญา หรือประวัติศาสตร์โลก
และเพื่อให้เข้าใจความประพฤติและความนึกคิดของมนุษย์ให้ดีขึ้น เราก้ต้องอ่าน The origin of fanilies ของ Englels เพราะว่าความประพฤติทางด้านครอบครัวแต่เบื้องบุพพกาลของคนเราก็เป็นต้นเหตุ ผลักดันจิตใจคนเรา ณ บัดนี้อยู่มาก จึงสามารถใช้อธิบายได้ว่าเหตุใดคนเราจึงชอบมีชู้
ที่มา :
สมัคร บุราวาศ. (2537).
พุทธปรัชญามองจากทรรศนะ ทางวิทยาสาสตร์. กรุงเทพฯ:
เคล็ดไทย , หน้า263.
|
|