ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

จริศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน

170.4ก671จ
จริศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน

ผู้แต่ง: กีรติ บุญเจือ
ชื่อเรื่อง: จริศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน

สรุปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์จริยะ
ประวัติศาสตร์จริยะมีหลายสาขาตามความต้องการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายและจะพิจารณาเฉพาะประวัตืศาสตร์มาตรการของสังคม ซึ่งผู้ไม่ได้เรียนจริยะศาสตร์ย่อมยึดถืออยู่ แม้ผู้ได้เรียนจริยะศาสตร์แล้วก็ยังอาจจะยึดถือต่อไป
แววแห่งมโนธรรม:ก่อนเป็นมนุษย์
มนุษย์เราเริ่มมีแววแห่งความสำนึกทางจริยะตั้งแต่เมื่อไร เป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะค้นคว้าหาหลักฐานมายืนยันให้แน่ลงไปได้ในขณะนี้ จาก การสังเกตุดูความเป็นอยู่ของสัตว์ชั้นสูง เราพบว่ามันดูเหมือนจะรู้จักปฏิบัติจริยธรรมบ้างแล้ว เช่น เราสังเกตุเห็นว่า มดเละผึ้งมีความเสียสละและ ความสามัคคี อูฐมีความรอบคอบ นกรู้จักคิดถึงอนาคต ลิงรู้จักอยู่กันเป็นสังคม ช้างรู้จักเชื่อฟังผู้นำ ฯลฯ
ยึดประเพณี:ตั้งแต่เริ่มเป็นมนุษย์เป็นต้นมา
ระยะนี้มนุษย์มีความสำนึกทางจริยะธรรมพอสมควรแล้ว เห็นความสำคัญของการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามประเพณีที่รวบรวมไว้ในหมู่ คณะ เพราะเชื่อว่าการปฏิบัติตามประเพณีเท่านั้นที่จะช่วยให้หมู่คระอยู่รอด การปกครองในหมู่คณะก็เป็นไปตามประเพณี ไม่ต้องมีกฏหมาย ผู้ปกครอง ไม่ต้องตรากฏหมายออกใช้บังคับ เพราะทุกคนรู้ประเพณี และทุกคนรู้ว่าการละเมิดประเพณีจะต้องถูกลงโทษ และจะลงโทษมากน้อยแค่ไหนก็เป็นไปตาม ประเพณี ผู้ปกครองจึงเป็นตัวแทนของหมู่คณะในการดำเนินการให้หมู่คณะปฏิบัติตามประเพณี
ยึดกฏหมาย:ตั้งแต่เริ่มมีกษัตริย์เป็นต้นมา
กฏหมายจะเกิดขึ้นเมื่อหมู่คณะมีสมาชิกมากขึ้น จนประเพณีไม่พอคุ้มกันเอารัดเอาเปรียบกันได้อย่างทั่วถึง เกิดการแบ่งกลุ่มย่อยในหมู่คณะ มีการช่วยเหลือพรรคพวกกลุ่มย่อยของตน มีผู้ที่ใช้อิทธิพล ฯลฯ จนเกิดการละเมิดประเพณีโดยไม่ได้รับโทษมากขึ้นทุกที เกิดความหวาดระแวง และ ความไม่แน่ใจในความปลอดภัยในหมู่คณะ หมู่คณะจึงพร้อมใจกันมอบหมายอำนาจให้คนดีมีความเสียสละและมีความสามรถ ให้จัวางระเบียบให้สังคมมี ความสุขร่มเย็น เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งได้รับมอบอำนาจเหนือสมาชิกอื่นๆ อย่างเด็ดขาด
ยึดศาสตร์หรือเจ้าลัทธิ:ตั้งแต่เริ่มมีศาสตร์เป็นต้นมา
เมื่อกฏหมายออกมากขึ้น ความสลับซับซ้อนก็มากขึ้น จนในที่สุดเกิดความขัดแย้งขึ้นในกฏหมาย นอกจากนั้น กฏหมายระยะต่อๆมามักจะ ส่อให้เห็นอย่างโจงแจ้งบ่อยๆว่า ผู้ออกกฏหมายแย้งกันเองเราควรปฏิบัติอย่างในกรณีต่างๆ และถ้าเราเห็นชัดเจนว่ากฏหมายไม่ยุติธรรมหรือไม่ถูกต้อง เราควรปฏิบัติอย่างไร และที่ถูกนั้นคืออย่างไร ผู้ที่สามารถวางวิถ๊ชีวิตจนมีผู้นิยมนำมาสั่งสอนและปฏิบัติต่อๆ มาจะได้ชื่อว่าศาสดา หากคำสอนของศาสดา ไม่ชัดเจน ก็จะมีลัทธิตีความต่างๆกัน รวมกันเป็นศาสนาหนึ่งๆ
ยึดเหตุผล:ตั้งแต่เริมมีระบบปรัชญาเป็นต้นมา
เมื่อมีการใช้ศาสนาอย่างไม่ถูกต้องเกิดขึ้น นักคิดบางคนก้อดคิดไม่ได้ว่ามโนธรรมหรือความสำนึกคุณค่าความประพฤติ ควรจะมีพื้นฐานอยู่ บนอะไรบ้างหรือไม่ เพื่อจะใช้เป็นมาตรการสำหรับทุกคนได้ ยิ่งกว่านั้นในเมื่อศาสนาให้มโนธรรมต่างๆกัน เราอาจจะหาพื้นฐานร่วมสำหรับทุกศาสนาได้หรือไม่
ใช้วิจารณญาณ:ในปัจุบัน
อภิศาสตร์ เป็นศัพท์ใหม่ในวงการจริยศาสตร์ ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในหมู่นักปรัชญาลัทธิภาษาวิเคราะห์ก่อน แล้วจึงค่อยๆแพร่หลายไปในหมู่ นักปราชญาลัทธิอื่นๆจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วๆไปว่า การศึกษาจรยศาสตร์ยังมีอีกระดับหนึ่ง เรียกว่า อภิจริยศาสตร์
ประโยชน์จากการเรียนรู้เรื่องนี้
การรู้ว่ามนุษย์เรามีวิวัฒนาการแห่งความสำนึกทางจริยะแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ มิเพียงแต่ช่วยให้เรารู้ประวัติศาสตร์จริยะชัดเจนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราเข้าใจเบื้องหลังจริยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบันด้วยว่ามีความสำนึกทางจริยะเป็น 5 ประเภทเช่นกัน
เกณฑ์ทั้ง 5 นี้เกิดขึ้นจากวิวัฒนาการของมนุษย์ในสังคม และเป็นเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันในสังคม เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและยอมรับยึดถือ กันโดยอัตโนมัติ จึงเรียกได้ว่าเป็นเกณฑ์สังคม ไม่มีใครเป็นศาสดา แต่เป็นเกณฑ์พื้นฐานที่แต่ละคนจะนำไปใช้เลือกคำสอน และตีคำสอนของศาสดาและ นักปราชญ์ทั้งหลายอีกต่อหนึ่ง เช่น ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา อาจจะนับถือเพราะเป็นประเพณีหรือนับถือในฐานะที่เป็นกฏข้อบังคับ หรือนับถือโดยยึด ถือพระพุทธเจ้าเป็นมที่พึ่งแต่พระองค์เดียว หรือนับถือเพราะพิสุจน์ได้ด้วยเหตุผลในระบอบปรัชญาของตนเอง หรืออาจจะนับถือเพราะได้วิเคราะห์ ความหมายของธรรมะจนให้เห็นความตื้นลึกหนาบางด้วยวิธีการปรัชญาวิเคราะห์แล้ว เกณฑ์ทั้ง 5 จึงล้วนเป็นเกณฑ์พื้นฐาน มีบทบาทเป็นมูลบทใน จริยธรรมของมนุษย์แต่ละคน คำสอนของนักปราชญ์ทั้งหลายมีบทบาทเพียงแต่มาเสริมเท่านั้น

ที่มา :

กีรติ บุญเจือ. (2538).

จริศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช, หน้า 7-12.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com