|
สวัสดีความเครียด
155.9042 อ186ส
ความเครียดกับความคลายเครียด
ผู้แต่ง: อนุช อาภาภิรม
ชื่อเรื่อง: สวัสดีความเครียด
สรุปเนื้อหา
ความเครียดกับความคลายเครียด
ในโลกนี้ไม่ที่ไหนที่ความเครียดเอื้อมมือไปไม่ถึง ความเครียดในสิ่งสากลและเป็นของจริง ความเครียดเป็นสิ่งสากลอย่างไร เราสามารถดูได้จากว่าแม้แต่โลหะก็รู้จักเครียด เช่น ขดลวดสปริงเล็กๆ มันก็ขดอยู่ตามเรื่องของมันเมื่อเราออกแรงดึงก็จะเกิดความเครียดที่ให้ขดลวดนั้นยืดออกเป็นรูปฟอร์มผิดไปจากเดิม เมื่อปล่อยมือออกหมดแรงเครียด ขดลวดสปริงก็จะหดคือสู่รูปเดิม
คราวนี้เราเพิ่มความเครียดให้มากขึ้นอีก ดึงขดลวดให้ยืดออกไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเมื่อถึงหนึ่งขดลวดจะยืดตัวอย่างนั้น ไม่ยอมหดกลับ แม้ว่าเราจะปล่อยมือออกแล้วก็ตาม ดังนั้นแม้แต่โลหะเมื่อเผชิญความเครียดมากๆ ก็อาจจะเสียฟอร์มไปได้ง่ายๆ ไม่ใช่เป็นแต่เราคนเดียว เมื่อมองจากแง่นี้ก็อาจพูดได้ว่าความเครียดเป็นจริงแท้ส่วนปัญญานั้นเป็นความจริงเทียมเกิดจากการคิดค้นสร้างสรรค์
กันขึ้นมาดังจะเห็นได้ว่าในยามที่เกอดปัญหาหรือวิกฤติ คนเราก็จะเกิดความเครียดมากกว่าปัญญา หรือพอจะเกิดปัญญาขึ้นมาบ้างก็หลังจากเกิดความเสียหายเพราะความเครียดของตนเองมากมายแล้ว เรื่องความเครียดมีความซับซ้อนอย่างคาดไม่ถึง เช่น นักจิตวิทยาหลายท่านกล่าวว่าการได้รับการส่งเสริมเลื่อนตำแหน่งก็ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นไม่แพ้การที่ต้องหลุดจากตำแหน่งสูงขึ้นอาจ
กลายเป็นความเครียดเรื้อรัง ส่วนการหลุดจากตำแหน่งบางทีเป็นเพียงชั่งครู่เดียว ผมได้เห้นผู้หลุดจากตำแหน่งสูงๆ หลายคน กลับมีหน้าตามีเลือดฝาด ยิ้มแย้มแจ่มใสมีสุขภาพดี ความเห็นของนักจิตวิทยาเบื้องต้น เมื่อมาพิเคราะห์แล้วก็เห็นว่าเป็นจริงอยู่พอสมควร เช่น ผมได้รู้จักคนหลายคน เดิมก็เป็นปกติดีแต่พอได้ตำแหน่งสูง เช่น ส.ส หรือรัฐมนตรีก็เกิดความเครียดจัดพูดจากันไม่รู้เรื่อง
ไปเลยก็มี ความเครียดนั้นก่อผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจมากมายหลายประการ เช่น เกิดอาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ขับถ่ายไม่ปกติเพื่อนผมคนหนึ่งเมื่อถึงเวลาสอบต้องเข้าห้องน้ำเป็นประจำเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ความเครียดนั้นเป็นกลไกลของชีวิต ความเครียดช่วยให้เราเอาชีวิตรอดมาได้ นับว่าเป็นประโยชน์สำคัญของความเครียดแต่ความเครียดก็กลายเป็นโทษได้ ถ้าหากว่าเกิดเป็นความเครียดสะสมเรื้อรังขึ้นมา ดังนั้นหลักการคลายเครียดสำคัญก็คือไม่ต้องไม่สะสมควงามเครียดให้เรื้อรัง ในสภาพเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้อาจเกิดความเครียดสะสมขึ้นได้โดยง่าย ความเครียดสะสมอาจส่งผล
ให้เกิดโรคหัวใจ ความดันเลือดสูงไปจนถึงเกิดประสาทหลอน อารมณ์ซึมเศร้า เป็นต้น
ที่มา :
อนุช อาภาภิรม. (2544).
สวัสดีความเครียด. กรุงเทพฯ:
สายธาร, หน้า172.
|
|