|
จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
155.6 ช764จ
จิตวิทยาและการพัฒนาการของมนุษย์
ผู้แต่ง: เชียรศรี วิวิธสิริ
ชื่อเรื่อง: จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
สรุปเนื้อหา
จิตวิทยาและการพัฒนาการของมนุษย์
ชั่วชีวิตของคนเราที่ผ่านไปแต่ละวัยยั้น น่าสนใจน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เริ่งตั้งแต่อยู่ในท้องของแม่ คลอดออกมาเป็นทารก เป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน และวัยชาร เห็นได้ว่าชีวิตและสังขสรย่อมผันแปรไปตามธรรมชาติของมันเราห้ามมันไม่ได้ หลีกหนีไม่พ้นทุนคนเกิดมาแล้วต้องตาย คนเราจะมีความสุขความทุกข์ และประสบปัญหามากมายหลายประการ สภาพและเหตุการณืต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเหล่านี้ เราจำเป็นต้องสนใจ ต้องศึกษา ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้จักตนเองและผู้อื่นว่าในช่วงวัยต่างๆ นั้น
มีอะไรขึ้นเกิดมีปัญหาและความต้องการอะไรบ้าง มีความสนใจและไม่สนใจอะไร และทำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปด้วยดี สามารถปรับตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขจากเหตุผลความจำเป็นดังกล่าว เป็นที่มาของรายละเอียดเนื้อหาที่นำเสนอในบทนี้ นั้นคือ เรื่องราวที่ว่าด้วยจิตวิทยาและพัฒนาดารของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ความหมายของสิ่งมีชีวิตที่ทราบกันดีคือ ลักษณะที่แสดงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีความเป็นตัวตน กับสิ่งที่สิ้นความเป็นตัวตน คือ ความตาย สภาพการปฏิบัติหน้าที่ของสิ่งที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ที่เราพูดภาษาทั่วไปว่า ความเป็นอยู่การอยู่กิน การดำรงชีพ การพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ริ่มตั้งแต่เกิด เจริญวัยไปสู่การมีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ ชราภาพ และตายตามลำดับ ที่เราเรียกว่า "วงจรชีวต" นั้น เป็นส่วนผสมผสานของลักษระทางชีววิทยา ทางจิตใจ และทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับภารกิจเชิงพัฒนาการ
เพื่อความสะดวกและทำความเข้าใจได้ง่ายในการศึกษาเรื่องราวชีวิตมนุษย์ จึงมีผู้นิยมแบ่งชีวิตตลอดชีวิตออกเป็นช่วงเวลาหลายช่วง ที่เรียกว่า การแบ่งวัยนั้นเอง จาการศึกษาเรื่องพัมนาการของมนุษย์และนักการศึกษาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งในประเทศตะวันตกและตะวันออก ต่างมีความเห็นสอดคล้องต้องกันในความจริงเรื่องขั้นตอนการพัฒนาในช่วงชีวิตของมนุษย์ โดยจะแบ่งช่วงอายุของแต่ละวัยในลักษระใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เพราะแต่ละวัยของคนจะมีลักษระเด่นเป็นพิเศษเฉพาะวัยแตกต่างกัน
วิธีศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ มี2 วิธีคือ
1. วิธีศึกษาโดยใช้กลุ่มเดียวตลอดหรือวิธีศึกษาระยะยาว
วิธีศึกษาแบบนี้เริ่มต้นด้วยการหากลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษามากลุ่มหนึ่ง หรือหลายกลุ่มก็ได้ แล้วติดตามศึกษากลุ่มตัวอย่างนี้ไปจนกว่าที่จะได้สิ่งที่ต้องการด้วยกลวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน 1ปี 2ปี 3ปี หรือ5ปี 10ปี 20ปี ฯลฯก็ได้ เช่น เราต้องการจะศึกษาอัตราการเพิ่มน้ำหนักของเด็กวัยทารกเป็นรายเดือน เราจะต้องหาเด็กเพิ่งคลอดมา20-30 คนเป็นอย่างน้อย แล้วชั่งน้ำหนักของเด็กกลุ่มนี้ทุกเดือน ไปจนเด็กกลุ่มนี้อายุครบ 2 ปี หรือ การศึกษาเรื่องความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ว่าเปลี่ยนแปลงตาม
อายุหรือไม่ โดยเลือกศึกษาในช่วงอายุ 20-24 ปี,25-30 ปี,31-34 ปี และ35-40 ปี โดยผู้ศึกษาจะต้องหาผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี มากลุ่มหนึ่ง สังเกตและสัมภาษณ์แล้วทำแบบทดสอบต่างๆ หลังจากนั้นก็ศึกษาติดตามเช่นนี้อีก เมื่อเขาเหล่านั้นมีอายุในระหว่าง 25-30 ปี,31-34 ปี ,35-40ปี ตามช่วงเกณฑ์ที่วางไว้แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบดู
2. วิธีศึกษาโดยใช้กลุ่มหลายๆกลุ่มหรือวิธีศึกษาแบบภาคตัดขวาง การศึกษาด้วยวิธีนี้จะต้องมีกลุ่มตัวอย่างหลายๆ กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะต่างกันที่อายุ เช่น ในกรณีศึกษาเรื่องอัตราการเพิ่มน้ำหนักของเด็กทารกเป็นรายเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ต้องมีอายุ 1เดือน กลุ่มอายุ 2 เดือน กลุ่มที่ 3 อายุ3 เดือน.... จนถึงกลุ่มที่ 24 อายุ 2 ขวบพอดีเมื่อเราหากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้แล้วก็สามารถทำาการชั่งน้ำหนักของเด็ก 24 กลุ่มนี้พร้อมกันได้เลย ทำให้ได้ข้อมูลทั่งหมดมาในเวลาอันสั้น หรือในกรณีที่จะศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเรียนรู้ของ
ผู้ใหญ่ระหว่างช่วง 20-24 ปี 25-30ปี 31-34 ปี และ35-40 ปี ผู้ศึกษาจะต้องหากลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 4 กลุ่ม โดยแยกตามช่วงอายุละ 1 กลุ่ม แล้วดำเนินการศึกษาพร้อมกันไปได้เลย ไม่ต้องรอเวลาเหมือนการศึกษาด้วยวิธีแรก เมื่อเรานำข้อมูลที่ได้จากทุกกลุ่มมาเรียงกันก็จะได้ข้อมูลครบถ้วน โดยไม่ต้องใช้เวลานานถึง 20-30 ปี วิธีศึกษารวบรวมข้องแบบนี้จะได้ผลสรุปเช่นเดียวกับวิธีแรกเพียงแต่ผลสรุปนั้น รวบรวมมาจากกลุ่มประชากรหรือดลุ่มตัวอย่างหลายๆ กลุ่มทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษา แต่ละ
ลักษณะพัฒนาการหรือพฤติกรรที่จะศึกษาด้วยวิธีนี้ ควรมีพฤติกรรมหรือพัฒนาการที่มีกระส่วนในส่วนการพัฒนาแบบเดียวกันเพื่อที่จะสามารถประยุกต์ไปสู่บุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นๆ ได้
ที่มา :
เชียรศรี วิวิธสิริ. (2541).
จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ ประสานมิตร , หน้า180.
|
|