|
จิตวิทยาวัยรุ่น
155.5 ป367จ
การส่งเสริมเด็กให้มีสุขภาพจิตดี
ผู้แต่ง: ประยูรศรี มณีสร
ชื่อเรื่อง: จิตวิทยาวัยรุ่น
สรุปเนื้อหา
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
เด็กวัยรุ่นจะมีความเปลี่ยนแปลงในระบบภายในร่างกายก่อนที่จะแสดงออกอย่างชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายนอก เช่น การเจริญของต่อฮอร์โมนที่สร้างความเจริญเติบโตการเจริญของต่อมทางเพศ มีการหลั่งน้ำอสุจิและทำหน้าที่ของฮอร์โมนทางเพศเพิ่มขึ้น ผู้ใหญ่จะสังเกตเห็นได้ง่ายเมื่อเด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น
คือ เด็กจะมีร่างกายเติบโตเร็ว แขนขายาว ตัวสูงขึ้น ต่อไปจะเริ่มมีขนขึ้นก่อนที่บริเวณอวัยวะเพศ สะโพกขยายกลมขึ้น และสิ่งเหล่านี้จะตามมาด้วยการมีประจำเดือน ในเด็กชายบางคนจะบ่นเจ็บหน้าอก และมีเต้านมใหญ่ขึ้น มีขนที่อวัอวะเพศ ขนรักแร้ และหนวดเครา เสียงเริ่มแตกแสดงลักษระรุ่นหนุ่มเต็มที่
การเข้าสู่วัยรุ่นหนุ่มสาวนั้นในแต่ละคนจะแตกต่างระยะเวลากันไป เช่น เด็กหญิงบางคนมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 10 ปี บางคนอายุ 16 ปีแล้วยังไม่มีประจำเดือน หรือเด็กชายบางคนดูเป็นหนุ่มเต็มที่เมื่ออายุ 13 ปี ในขณะที่เพื่อนจะแสดงความเป็นหนุ่มช้าไปถึงอายุ 17 ปี ความแตกต่างนี้ขึ้นกับกรรมพันธุ์ ความสมบูรณ์ของ
ร่างกาย อาหารโภชนาการ ภาวะความเป็นอยู่ แหล่งความจริงที่เด็กเจริญเติบโต ในปัจจุบันเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูมาดี อาหารการกินสมบูรณ์เด็กจะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวได้เร็วขึ้น การเข้าสู่วัยรุ่นไม่เท่ากันนั้นทำให้บางครั้งเป็นต้นเหตุของความวิตกกังวลในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
เด็กที่เติบโตเร็วเข้าสู่วัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจได้มากบ้าง น้อยบาง ขึ้นกับตัวเด็กและประสบการณ์ที่เขาได้รับจากครอบครัวก่อนย่างเข้าสู่วัยรุ่น วัยรุ่นช่วงต้น 11-15 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลง ผันผวนใรอารมณ์และพฤติกรรมจนบางครั้งกลายเป็นปัญหามากต่อไปได้เมื่อเลยวัยประมาณ 15 ปีในเด็กผู้หญิง และ
17 ปีในเด็กชายแล้ว เขามักจะสบงลง และมีความมั่งคงมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการต่างๆทางจิตใจนั้น คือ การพัฒนาความเจริญทางด้านสติปัญญาความคิดและการเรียนรู้ เด็กวัยนี้แสดงความคิดเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น รู้จักเริ่มคิดแก้ปัญหาเมื่อตนพบอุปสรรค รู้จักใช้ความคิดในเชิงรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความ
คิดในระยะแรกยังเป็นลักษระคิดเข้าข้างตนเองอยู่และหมกมุ่นกับร่างกายของตนเอง เช่นเด็กผู้หญิงสนใจการแต่งตัวขึ้น ความรู้สึกกลัวที่จะมองคน วิจารณ์หรือค่อนแคะ การเดินเหินจะดูเก้งก้างเคอะเขินเพราะคิดว่าคนจะมองตน
ในปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมากในเรื่องทางเพศ เด็กมักถูกกระตุ้นเร้าจากสังคมภายนอก เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ รูปภาพ ทำให้ความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศสับสนและไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ส่วนใหญ่เด็กมักจะเรียนรู้เรื่องเพศจากเพื่อน และจากหนังสืออ่านเล่น นิตยสาร ภาพยนตร์ วิทยุ ที่อาจจะทำให้เด็กมีความเข้าใจผิดไขว้เขวไปได้
ฉะนั้น แทนที่ผู้ใหญ่จะคอยห้ามปรามเด็กอย่างเดียว หรือคอยกีดกันลงโทษ ซึ่งมักจะไปเพิ่มความรู้สึกในทางที่ไม่ดีต่อกันมากขึ้น ผู้ใหญ่ควรจะให้ความรู้ที่ถูกต้องชี้แจงความเป็นจริงเข้าใจง่ายๆ ให้ลูกหลานเข้าใจ ไม่ไปมองเพศเป็นเรื่องน่ากลัว หรือน่ารังเกียจ แต่ให้เขาเข้าใจที่ถูกต้องถึงเรื่องธรรมชาติ เรื่องของความเหมาะสม การถูกกางเทศะ
ความถูกต้อง และควบคู่ไปกับความรับผิดชอบ ฉะนั้น ผู้ใหญ่ต้องอธิบายเรื่องเพศไปในแนวกว้างขวาง มิใช่เป็นเพียงแต่ความรู้สึกทางกามารมณ์อย่างเดียว แต่ไปในทางสร้างสรรค์ของการมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ และสร้างความเจริญความเป็นปึกแผ่ยในการอยู่ร่วมกัน จากที่กล่าวมานี้จึงสรุปได้ว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นจำเป็นต้องศึกษา
ชีวิตวัยรุ่น
ที่มา :
ประยูรศรี มณีสร. (2532).
จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ:
อักษรบัณฑิต, หน้า 270.
|
|