ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

สุขภาพจิตเด็ก

155.4 ผ113ส
การส่งเสริมเด็กให้มีสุขภาพจิตดี

ผู้แต่ง: ผกา สัตยธรรม
ชื่อเรื่อง: สุขภาพจิตเด็ก

สรุปเนื้อหา

การส่งเสริมเด็กให้มีสุขภาพจิตดี
1. บิดามารดาควรส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายดี
เพราะผู้ที่จะมีสุขภาพจิตดี ต้องอาศัยการที่มีสุขภาพกายดีเป็นเบื้องต้น ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่าสุขภาพจิตที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ การไม่ปล่อยให้เด็กอดอยากขาดอาหารเป็นต้น ทางโรงเรียนก็ควรช่วยจัดรายการอาหาร กลางวันสำหรับเด็กที่ไม่มีอาหารรับประทานด้วย
2. บิดามารดา ครูอาจารย์ ควรฝึกให้เด็กมีอารมณ์เย็น
อารมณ์ดี เย็น คนมองโลกในแง่ดี มีความแจ่มใสร่าเริงเบิกบานใจ เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว ควรอธิบายให้เข้าใจถึงความไม่ดีของความโกรธ เพราะเป็นการเกิดโทษแก่ตนเอง เช่น อาจทำให้หัวใจเต้นแรง ควบคุมสติไม่อยู่ เกิดความทุกข์ แก่ตนฝ่ายเดียวคนอื่น ที่เราโกรธเขา ไม่รู้เรื่องด้วยเลย ให้คิดว่า "โกรธเขา เราโง่"
3. ฝึกให้เด็กรู้จักตัวเองอย่างแท้จริงในด้านต่างๆ
เช่น รู้จักนิสัยของตนเอง รู้จักพิจารณาตนเองว่ามีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแก้ไขอย่างไร การพิจารณาตนเองว่ามีนิสัยอย่างไร เอาแต่ใจตัวเองหรือเปล่า มีความขยันทำการเพียวใด การให้เพื่อนประเมินผลว่าเป็นคนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย ประการใด เปิดโอกาสให้เพื่อนทุกคนในชั้น เขียนข้อดีข้อเสียกับข้อเสนอแนะที่จะแก้ไขให้มีนิสัยดีขึ้น เพื่อถูกประเมินผลจะได้นำเอาคำติชมเหล่านั้นไปแก้ไข และปฏิบัติในสิ่งที่ดีต่อไป
4. บิดามารดา ให้เด็กได้รู้จัก และยอมรับฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง
และครอบครัวว่าอยู่ในฐานะอย่างไร ลูกจำเป็นที่จะช่วยพ่อแม่ทำมาหากินเพื่อเลี้ยงครอบครัวอย่างใดหรือไม่ เช่น ตอนเย็นๆอาจจะต้องทำขนม เช่น ข้าวต้มผัดไปเร่ขาย เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัว เด็กก็จะยอมรับและไม่มีปัญหาทาง สุขภาพจิตมากนัก ถ้าเด็กและบิดามารดามีความรักและเข้าใจอธิบายให้รู้เรื่อง เด็กก็จะไม่เกิดความท้อแท้ใจที่จะหาเงินมาด้วยความสุจริต
5. บิดามารดา ครูอาจารย์ ควรฝึกให้เด็กกล้าที่จะเผชิญกับความเป็นจริงทั้งที่ดีและไม่ดี
ไม่ควรใช้กลไกป้องกันตัวเองมากเกินไป เช่น เมื่อตนเองทำผิด ก็ไม่ยอมรับผิดกลับไปโทษว่าคนอื่นทำผิด การโยนความผิดให้ผู้อื่นบ่อยๆ จะทำให้ขาดความรับผิดชอบ จิตใจไม่มีความสุข เพราะในส่วนลึกของจิตใจเราก็ทราบว่าตนเองทำผิดทำให้ไม่ได้ แก้ไขข้อบกพร่องของตนเองให้ตรงกับความเป็นจริงและถูกต้อง การอบรมเลี้ยงเด็กดูไทยสมัยก่อนเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว เราจะเข้าข้างเด็กมีกำลังใจและเข้าใจผิด เช่น เมื่อเด็กเดินไปชนตู้แล้วเด็กก็หกล้มร้องไห้ ผู้ใหญ่ก็ตรงไปอุ้มเด็กให้ลุกขึ้น ต้องแก้ไขด้วยความ ระมัดระวังไม่ให้เด็กไปชนอีก จะเป็นการสร้างนิสัยความระมัดระวังที่ถูกต้อง
6. ฝึกให้เด็กเป็นผู้มีความรับผิดชอบ
มีความขยันและอดทนที่จะทำสิ่งต่างๆอย่างสม่ำเสมอ และให้สำเร็จไปได้ด้วยดี การที่เด็กทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จ ย่อมเป็นผลดีต่อจิตใจของเด็กเอง เพราะได้มีกำลังใจที่จะทำสิ่งอื่นๆ ให้ได้ผลดีขึ้นไปยิ่งขึ้น และถ้างานมีความยากก็จะต้องพยายามเพื่อให้ได้รับความ สำเร็จ ผู้ที่มีความรับผิดชอบย่อมได้รับการยอมรับจากสังคม
7. ฝึกและส่งเสริมให้เด็กมีความเป็นมิตรกับผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
เป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรมาก่อน การมองเห็นผู้อื่นเป็นมิตรกับตนเอง ย่อมเป็นการยาก เพราะฉะนั้นบ้าน คือ บิดามารดา พี่น้อง จึงมีส่วนอย่างมากในการส่งเสริมความรู้สึกด้านนี้ เป็นธรรมดาบุคคลที่ได้รับความอบอุ่น เป็นมิตรจาก ภายในครอบครัวเป็นพื้นฐานย่อมจะมองบุคคลที่เกี่ยวข้องในแง่ดีก่อน แต่ถ้าในตรอบครัวมีแต่การแก่งแย่งแข่งขันกันการแตกความสามัคคีและขาดความรัก ลักษณะความเป็นมิตรกับผู้อื่นย่อมเป็นไปได้ยาก บิดามารดา ครูอาจารย์ จึงควรให้ความรักความเมตตาแก่เด็กเพื่อ ให้เด็กได้มีความรู้สึกอบอุ่นใจ มีความเป็นมิตรได้เป็นอย่างดีกับผู้ที่เขาเกี่ยวข้องด้วยก่อน
8. ฝึกและทำวิธีการให้เด็กรู้จักการควบคุมอามรณ์ของตนเองให้เหมาะสมรู้จักยับยั้งใจได้
นั่นคือฝึกให้มีเหตุผล ไม่เอาแต่ใจตัวเองบางครั้งเด็กต้องการเอาชนะ หรือบางครั้งมีความต้องการอย่างจริงจังจึงแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น เด็กชายอ๊อดไปเที่ยวในงานแสดงหนังสือแห่งหนึ่ง เห็นหนังสือชุดหนึ่งราคา 2,000 บาท เกิดความอยากได้ ขึ้นมาก็แม่ให้ซื้อให้ เมื่อแม่ไม่ยอมซื้อให้เด็กคนนั้นก็ล้มตัวนอนดิ้นพลาดๆ แม่จะบอกหรือปลอบอย่างไรก็ไม่ฟังเหตุผล และส่งเสริมทางด้านที่เด็กสนใจให้ทำกิจกรรม เพื่อฝึกการบังคับตนเองให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อไป ไม่ทำอะไรคุ้มดีคุ้มร้าย เอะอะอาละวาดและขาดสติยั้งคิด ดื้อดึง และฝืนโลก

ที่มา :

ผกา สัตยธรรม. (2540).

สุขภาพจิตเด็ก. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 212.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com