ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

จิตวิทยาเด็กพิเศษ

155.45 ส758จ
ความหมายของเด็กพิเศษ

ผู้แต่ง: สุชา จันทน์เอม
ชื่อเรื่อง: จิตวิทยาเด็กพิเศษ

สรุปเนื้อหา

ความหมายของเด็กพิเศษ
"เด็กพิเศษ" ในที่นี่หมายถึงเด็กที่มีความเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆ แตกต่างไปจากเด็กปกติอย่างเห็นได้ชัด ด้านที่แตกต่างกันมีดังนี้
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านสังคม
3.ด้านอารมณ์
4.ด้านสติปัญญา
จากการที่เด็กพิเศามีลักษณะของความเจริญเติบโตและการพัฒนาการในด้านต่างๆ ข้างต้นผิดแผกแตกต่างไปจากเด็กปกติมากนี้เอง ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถจะเรียนโรงเรียนเดียวกับเด็กอื่นๆได้ จึงจำเป็นจะต้องจัดชั้นพิเศษหรือจัดโรงเรียนพิเศษให้แก่เด็กเหล่านี้ ตลอดจนต้องจัดระเบียบวิธีการสอน รวมทั้งการให้บริการต่างๆ แตกต่างไปจากเด็กทั่วไปด้วย จึงจะช่วยให้เด็กพิเศษเหล่านี้สวามารถเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง
ประเภทของเด็กพิเศษ
เด็กที่มีสติปัญญาแตกต่างไปจากเด็กปกติ
1.เด็กที่มีพรสวรรค์ ได้แก่เด็กที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียวหรือมีความสามารถทางสมองสูงมาก หมายถึงเด็กที่มี IQ หรือเกณฑ์ภาคเชาว์สูงมาก ตั้งแต่ 130,140,150ขึ้นไป ซึ่งเด็กเหล่านี้มีจำนวนน้อยประมาณ 2-7 % เท่านั้น เด็กพวกนี้นับว่าจะเป็นมันสมองของชาวโลกต่อไปในภายหน้า จำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้แตกต่างไปจากเด็กธรรมดา เพื่อให้ได้ใช้ความสามารถพิเศษจากเด็กกลุ่มนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.เด็กเรียนช้า เด็กกลุ่มนี้มี I.Q.อยู่ระหว่าง 80-90 เป็นเด็กที่มีสติปัญญาด้วยกว่าเด็กธรรมดา ต้องใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนนานกว่าเด็กธรรมดาจึงจะสำเร็จ ฉะนั้นการให้การศึกษาแก่เด็กเรียนช้าจึงต้องจัดแตกต่างไปจากเด็กปกติเช่นเดียวกัน
3.เด็กสติปัญญาทึบที่สามารถเรียนได้ เด็กกลุ่มนี้มี I.Q. ระหว่าง 70-80 ลักษณะการเรียนรู้และปรับตัวทางสังคมของเด็กพวกนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตลอดตนการให้การฝึกฝนอบรมอย่างสม่ำเสมอ และอย่างใกล้ชิด จึงจะช่วยให้การเรียนรู้การใช้ทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ตลอดจนการประกอบอาชีพได้
4.เด็กสมองทึบมาก หรือเด็กปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มนี้มี I.Q.ระหว่าง 50-70 บางราย I.Q. ต่ำสุดประมาณ 20-30 ก็มีบางแห่งเรียกเด็กพวกนี้ว่าโง่เง่า เด็กปัญญาอ่อนเป็นเด็กที่มีความเสื่อมโทรมทางสมอง ไม่สามารถจะเรียนในโรงเรียนได้ พวกที่มี I.Q. ประมาณ 50 อาจจะฝึกให้ช่วยตัวเองได้บาง เช่นการรับประทานอาหาร การแต่งกาย และการอยู่รวมกับผู้อื่นได้เด็กกลุ่มนี้มีน้อยคือประมาณ 0.3% ในโลกเท่านั้น
การจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิเศษ
1. เด็กที่มีสภาพร่างกายแตกต่างจากเด็กทั่วไป ได้แก่เด็กอวัยวะพิการ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ พูดไม่ชัด เป็นต้น
2. เด็กที่มีการปรับตัวยาก ได้แก่พวกที่มีความประพฤตินอกรีดนอกรอย สังคมรังเกียจในความประพฤติของเขา อาจมีสาเหตุมาจากบ้านแตก ศาสนา ภาษาที่แตกต่างกัน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างกัน ทำให้เด็กทำกลายเป็นเด็กเกเร เป็นอันธพาล ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้
3.เด็กที่มีปัญญาทางอารมณ์ ได้แก่เด็กที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ มีอารมณืรุนแรงผิดปกติ ฉุนเฉียวโกรธง่าย ซึ่งไม่สามารถเรียนร่วมกํบเด็กที่ปกติได้
4.เด็กที่มีระดับสติปัญญาแตกต่างจากเด็กธรรมดา แบ่งเป็น2 ประเภทคือ 1เด็กที่มีความเฉลียวฉลาดเลิศ 2. เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน
ประวัติการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย
ในต่างประเทศมักจัดโรงเรียนให้เด็กพิเศษเหล่านี้แยกจากโรงเรียนธรรมดา ทั้งนี้เพราะเห็นว่าเด็กเหล่านี้จำเป็นต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยจัดเป็นโรงเรียนประจำ เช่น โรงเรียนสอนเด็กหูหนวก ตาบอด และโรงเรียนสอนเด็กปัญญอ่อน ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นจัดชั้นพิเศษให้แก่เด็กเหล่านี้ในโรงเรียนธรรมดา เพื่อป้องกันมิให้เด็กรู้สึกว่าถูกคัดออกไปจากสังคม และเกิดการว้าเหว่ขึ้นได้ เป็นการช่วยไม่ให้เด็กเกิดปมด้อย อย่างไรก็ดี การจัดแบบนร้ทำให้การสอนของครูยุ่งยากลำบากมาก เพราะทำให้ขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ในการสอนซึ่งจำเป็นต้องจัดหาให้แก่เด็กแตกต่างกันออกไป
การจัดการศึกษษให้แก่เด็กพิเศษในต่างประเทศนับว่าก้าวหน้าไปมากในปัจจุบันนี้ ส่วนในประเทศไทยได้เริ่มจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิเศษโดยมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งชาติในประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เริ่มสร้างโรงเรียนคนตาบอดขึ้นในประเทศไทยเป็นประเภทแรก
ประโยชน์ของการศึกษาเด็กพิเศษ
ดังื้กล่าวว่า เด็กพิเศษหรือเด็กนอกระดับนั้นเป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านๆ แตกต่างไปจากเด็กธรรมดา นั้นคือเด็กเหล่านี้มีปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการทางร่างกาย ทางอารมณ์ ทางสังคม ตลอดจนปัญหาทางสติปัญญาด้วย ทำให้เด็กพวกนี้เรียนหนังสือในโรงเรียนธรรมดาร่วมกับเด็กทั่วไปไม่ได้ หากปล่อยปละละเลยเอาไว้ โดยไม่ให้ความรักเด็ก ไม่ให้การศึกษาแก่พวกเขาเด็กพวกนี้อาจจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดขั้นรุนแรง คือความผิดทางอาญา ได้ ดังได้เคยมีผู้วิจัยพบว่าเด็กเหล่านี้ทำความผิดได้ตั้งแต่ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ วิ่งราว ความผิดทางเพศ ตลอดจนความผิดเกี่ยวกับร่างกายและชีวิตก็มี ถ้าปล่อยให้เด็กเหล่านี้เรียนชั้นเดียวกับเด็กธรรมดาก็มักจะตกซ้ำชั้น กระทำความผิดวินัย หนีโรงเรียน ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจสภาพของเด็กพวกนี้เพื่อจะได้ช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ให้ถูกทาง เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆทางสังคมและช่วยให้เด็กเหล่านี้ช่วยตนเองได้ มีความสุข ตามอัตภาพ และช่วยให้สังคมเลิกรังเกียจเด็กพวกนี้อีกต่อไป

ที่มา :

สุชา จันทน์เอม. (2525).

จิตวิทยาเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ:
อักษรบัณฑิต, หน้า 168.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com