|
วิชชาแปดประการ
153.8 ห313ว
หลักของโยคี
ผู้แต่ง: หลวงวิจิตรวาทการ
ชื่อเรื่อง: วิชชาแปดประการ
สรุปเนื้อหา
หลักของโยคี
ลัทธิของโยคีนั้น เขาถือว่าในมนุษย์เรามีส่วนใหญ่ที่แบ่งออกได้เป็น 7 ส่วน คือ
1. กาย กายเป็นของหยาบ และเห็นได้ชัดกว่าส่วนสำคัญอื่นๆ ของมนุษย์เป็นส่วนรวมของธาตุต่างๆ ที่คุมกันเข้าเป็นรูปร่าง มรปราณเป็นเครื่องบำรุงให้คุมกันอยู่ได้ เมื่อปราณออกไปจากกายแล้ว ธาตุทั้งหลายก็สลายแยกออกจากกันไป กายจะเป็นของปราณจากค่า และเมื่อนั้นเราก็เรียกว่า "ตาย" โดยหลักอันนี้ จึงเกิดแนวความคิดต่อไปว่า ความตายนั้นมีผลแต่เพียงสำหรับกายอย่างเดียว ไม่ได้พาดพิงไปถึงความสำคัญทั้ง 6 นั้นเลยและความตายไม่มีผลสำคัญอย่างอื่น
นอกจากเปลี่ยนที่อยู่ของสภาพทั้ง 6 ประการข้างต้น เช่นเดียวกันกับเรามีเรือนหลังหนึ่ง อยู่มานานจนเก่าคร่ำคร่าแล้ว เราก็ทิ้งหลังนั้นไปปลูกหลังใหม่ ดังนี้เท่านั้น
2. เจตภูต เจตภูตเป็นกายอีกกายหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะละเอียดกว่ากายธรรมดาเพราะตามปรกติเราเห็นด้วยตาไม่ได้ แต่ก็ยังหยาบกว่าธรรมชาติอีก 5 ประการข้างบน เพราะเจตภูตนี้ยังอาจเห็นได้ด้วยตาในบางครั้งภูตเป็นสิ่งซึ่งคนในสมัยโบราณรู้จักกันดี และเป็นบ่อเกิดแห่งการถือลางหรือผีสาง หรือสิ่งลึกลับอะไรบางอย่าง แต่ตามลัทธิของโยคีนั้น เช่น เวลานอนหลับการที่แยกออกไปนั้นก็ยังมีความเกี่ยวพันกับกายอยู่ คล้ายกับมีสายใยผูกติดกันไว้ สามารถจะดึงเอากลับเข้า
มาสู่กายเมื่อต้องการ
3. ปราณ ได้แก่ลมหายใจ และกำลังของเส้นประสาท ซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้กายคุมกันอยู่ได้
4. สัญญา ได้แก่ความรู้สึกหนาว ร้อย สบาย ไม่สบาย
5. ปัญญา ได้แก่ความรู้สึกผิกและชอบ ความรัก ความกลัว ความเมตตาอารี ความนับถือ ความโกรธ ความโลภ คงามริษยา เหล่านี้ เขารวมไว้ในปัญญาทั้งสิ้น
6. ดวงจิต ซี่งเราเรียกว่าหัวใจ เป็นผู้บัญชาการทั่วไปในตัวมนุษย์
7. วิญญาณ เป็นส่วนสำคัญที่สุด เป็นเจ้าของธรรมชาติทั้ง 6 และธรรมชาติทั้ง 6 จะไปทำดีและชั่วอะไรไว้ วิญญาณก็ต้องรับเอาทั้งสิ้น ตามลัทธิของโยคีที่กล่าวมาโดยย่อดังนี้ มนุษย์ก็เปรียบเสมือนหรือใหญ่ลำหนึ่ง วิญญาณเป็นเจ้าของเรือทั้งลำ แต่ตามปรกติ เจ้าของเรือไม่สามารถจะไปเดินเรือด้วยตนเองได้ จึงต้องตั้งนายเรือ คือดวงจิต เป็นผูบัญชาเด็ดขาดในเรือ ถ้านายเรือดีใช้เรือทำการค้าขายหรือรับคนโดยสารเรียบร้อยได้ผลกำไร เจ้าของเรือก็ไปผู้ได้รับ ถ้านายเรือเหลวไหล
นำเรือไปอับปาง เจ้าของเรือได้รับเคราะห์ เพราะฉะนั้นนายเรือจึงมีหน้าที่สำคัญที่คุมเอาความเป็นความตายไว้ในกำมือ ปัญญากับสัญญา เปรีบยเหมือนเครื่องมือเดินเรือ เช่นแผนที่และเข็มชี้ทิศ ปราณ เปรียบเหมือนเครื่องจักรกลไก ที่ให้เรือแล่นไปได้ เจตภูตเป็นกล้องส่อง หรือวิทยุ โทรศัพท์ ที่จะช่วยให้เรือรู้ล่วงหน้า ว่าจะมีเหตุการณ์มาถึงบ้าน ส่วนกายก้เป็นลำเรือนั้นเอง โดยนัยนี้ ลัทธิโยคีจึงถือว่า กาย เป็นส่วนที่หยาบที่สุด และสำคัญน้อยที่สุดในตัวมนุษย์ มีความสามารถน้อยกว่าธรรมชาติอื่นๆ
ผู้ที่มิได้ตรึกตรองให้ลึกซึ้งก็เห็นแต่เพียงว่า มนุษย์มีร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ บำรุงและหาความสุขให้แต่ในร่างกายก็พอ แต่อันที่จริงกายเป็นแต่ 1 ใน 7 ส่วนของมนุษย์เท่านั้น ยังมีอีกถึง 6 ส่วนที่ควรต้องเอาใจใส่ บำรุงรักษา และทำให้ดีขึ้น ส่วนประโยชน์ที่มนุษย์พึงจะได้รับ นอกจากจะได้อาศัยกายแล้ว ยังมีอีกถึง 6 อย่างที่เราอาศัยได้ ใช้ประโยชน์ เรารู้จักใช้ ข้อความที่ได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องลัทธิของโยคี เพียงแต่เก็บความในหนังสือที่ค้นหา มาบรรยายไว้เพื่อเป็นทางพิจารณาต่อไปนี้
ที่มา :
หลวงวิจิตรวาทการ. (2542). วิชชาแปดประการ. กรุงเทพฯ:
สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า120.
|
|