|
หลักการตัดสิ้นพืชไร่
153.83ท151ห
หลักเกณฑ์การพิจารณาและคำชี้แจงประกอบการตัดสินการประกวดละหุ่ง
ผู้แต่ง: ทรงศักดิ์ จุนถิระพงศ์
ชื่อเรื่อง: หลักการตัดสิ้นพืชไร่
สรุปเนื้อหา
หลักเกณฑ์การพิจารณาและคำชี้แจงประกอบการตัดสินการประกวดละหุ่ง
หลกเกณฑ์การตัดสิน
1. ความสมำเสมอของสีบนเม็ดละหุ่ง หมายถึงสีที่เกิดจากบนผิวเมล็ดทั้งหมด รวมทั้งด้านบนและล่าง ต้องมีสีเหมือนๆกัน ถ้าเป็น
ลายด่างก็ต้องเป็นลายอย่างเดียวกัน
2. ความสม่ำเสมอของขนาดเมล็ด เมล็ดละหุ่งแต่ละพันธ์มักมีขนาดไม่เท่ากัน แม้บางกรณีจะมีสีเดียวกันแต่ขนาดของเมล็ดมักต่าง
กันจนสังเกตุเห็นได้ชัด และถือได้ว่ามักเป็นคนละพันธุ์คะแนนข้อนี้จึงไม่พิจารณาเพียงว่า ขนาดของเมล็ดละหุ่งทั้งหมดที่นำเข้าประกวดมีขนาดเท่ากัน
หรือสม่ำเสมอกันหรือไม่
3. ความแก่จัดของเมลดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำ สังเกตุได้จากความเข้มข้นของสีบนผิวเมล็ด เมล็ดละหุ่งที่แก่จัดสีจะเข้มเท่ากันหมดทั้ง
เมล็ด ส่วนเมล็ดที่ยังไม่เจริญเต็มที่นั้นสีทางด้านล่างของเมล็ดจะเข้มกว่าสีทางด้านบน
ลักษณะประจำพันธุ์ของละหุ่งและพันธุ์แนะนำในปัจจุบัน
ละหุ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ricinus communis อยู่ในตระกูล (Family) Euphorbiaceae ละหุ่งมีระบบ
รากเป็นรากแก้ว ลำดับตรงภายในกลวง สีของลำต้นแตกต่างกันไปตามพันธุ์ อาจจะมีสีเขียว แดง เหลือบขาว เขียวเหลือบแดง แดงเข้ม ชมพูและ
สีเหลือง มีไขสีขาวจับอยู่บนลำต้น ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์ ใบแบบเดี่ยวขนาดใหญ่มีใบก้านยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบเกิดสลับบนข้อ
ของลำต้น ลักษณะเป็นแฉกมี 7 ถึง11 แฉก ขนาดใบกว้าง 10-30 เซนติเมตร แตกต่างไปตามพันธุ์ ดอกจะเกิดเป็นช่อ มีดอกตัวผู้ตัวเมียอญุ่บนช่อ
เดียวกัน ดอกมีสีเหลืองสีเขียว ดอกตัวผู้มีลักษณะเป็นรูปกรวยกว้าง ส่วนดอกตัวเมียมีลักษณะเป็นรูปกรวยแคบ มีผลแบบ Capsule ลักษณะมี 3
ช่อง ผลของละหุ่งจะมีหนามหรือไม่มีหนามก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันะ เมล็ดละหุ่งมีรูปร่างกลมรีค่อนข้างแบน เปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างหนาเป็นมันมักจะมี
สองสีสลับกัน อาจมีสีพื้นเป็นสีเท่า ขาว น้ำตาล ดำ แดง หรือน้ำตาลอมเหลืองและสลับด้วยสีอื่นๆเป็นลาย
การเก็บเกี่ยวละหุ่ง
การเก็บเกี่ยวจะเก็บเมื่อฝักละหุ่งแก่จัดเต็มที่แล้วจึงจัได้เมล็ดที่มีปริมาณน้ำมันในเมล็ดสูงสุด ในการเก็บเกี่ยวอาจใช้แรงคนหรือเครื่องจักร
ก็ได้ การใช้เตรื่องจักรทำการเก็บเกี่ยว นิยมทำในประเทศที่พัฒนาแล้วในการเก็บกี่ยวจะต้องพิจารณาถึงพันธุ์ด้วยว่าเป็นพันธุ์ที่ฝักแก่แล้วแตกหรือไม่แตก
ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสม
ที่มา :
ทรงศักดิ์ จุนถิระพงศ์. (2539).
หลักการตัดสิ้นพืชไร่. กรุงเทพฯ:
ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, หน้า 69-71.
|
|