|
เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
153.35 ส283ท
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
ผู้แต่ง: สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์
ชื่อเรื่อง: เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
สรุปเนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
การให้คําจํากัดความของความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่กระทําได้ไม่ง่ายนักนักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้ความหมายของความคิด
สร้างสรรค์ไว้แตกต่างกันหลายแมุม แต่พอสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่สลับซ้อนยากต่อการให้นิยามที่แน่นอนตายตัว
ถ้าพิจารณาความคิดสร้างสรรค์เป้นเรื่องที่สลับซับซ้อนยากต่อการให้นิยามที่แน่นอนตายตัวถ้าพิจารณาความคิดสร้างสรรค์โดยยึดผลงานเป็นหลัก
ผลงานนั้นต้องเป้นผลงานที่แปลกใหม่และมีคุณค่าโดยมีคนยอมรับ ถ้าพิจารณาความสร้างสรรค์โดยยึดกระบวนการเป็นหลัก กระบวนการ
นั้นต้องเป็นกระบวนการเชื่อมโยงสัมพันธ์สิ่งของและความคิดที่แตกต่างกันอย่างมากเข้าด้วยกันได้ ถ้าพิจารณาความคิดสร้างสรรค์โดยยึดหลัก
คุณลักษณะของบุคคลเป้นหลักบุคคลนั้นต้องเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดคล่อง คิดยืดหยุ่น และคิดละเอียดละออ ได้ นอกจากนี้ เราอาจสรุปแนวคิด
เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์จากนิยามต่างๆ ได้ แนวคิด คือ แนวคิดที่ 1 เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณลักษณะที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของบุคคล
และแนวความคิดที่ 2 เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือเป็นผลมาจากเงื่อนไขหรือประสบการณ์รอบๆ ตัวบุคคล ปัญหาที่มี
ผู้ถกเถียงกันอยู่เสมอก็คือความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญามีความสัมพันธ์กันอย่างไร เกี่ยวกับปัญหานี้มีรายงานการศึกษามากมายได้พยายามอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับสติปัญญา ซึ่งจากรายงานการศึกษาต่างๆ สรุปเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิด
สร้างสรรค์และสติปัญญา และกลุ่มที่ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญา การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 2 นี้
เป็นเรื่องที่หาข้อยุติได้ยาก เพราะนิยามของสติปัญญาที่นักจิตวิทยาแต่ละคนให้ไว้นั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกับนิยามความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นการจะ
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญานั้นผู้ศึกษาควรจะได้ศึกษา และทำความเข้าใจธรรมชาติและทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร
ทั้ง 2 อย่างละเอียด จากรายงานการค้นคว้าส่วนมากรายงานว่ามีความสัมพันธ์ระดับต่ำระหว่างตัวแปรทั้ง 2 นอกจากนี้ยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความคิด
สร้างสรรค์และสติปัญญานี้ยังขึ้นอยู่กับสาขาหรืออาชีพของบุคคลด้วย เช่น ศิลปิน ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงไม่จำเป็นต้องมีสติปัญญาสูงเสมอไป และ
นักวิทยาศาสตร์ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีระดับสติปัญญาสูงไปด้วย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า ทั้งความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญาย่อม
เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั่นเอง
ที่มา :
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2535).
เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช , หน้า179.
|
|