|
จิตวิทยาการเรียนรู้
153.15พ978จ
การจูงใจกับการเรียนรู้
ผู้แต่ง: ไพบูลย์ เทวรักษ์
ชื่อเรื่อง: จิตวิทยาการเรียนรู้
สรุปเนื้อหา
การจูงใจกับการเรียนรู้
การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ซับซ้อนและยากที่จะเข้าใจโดยเฉพาะพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งมีการสร้าง (นิสัย) ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลง
ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่คน ตลอดจนอุดมการณ์ของชาติ มนุษย์อาจจะเต็มใจที่จะประพฤติปฏิบัติตามโดย
ไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆ หรือมนุษย์อาจไม่อยากจะทำตามแต่จำยอมต่อภาวะการณ์ที่จูงใจให้การกระทำ ซึ่งนักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยกระบวนการ
จูงใจเละได้เสนอแนวคิดทฤษฎีต่างๆ เช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีแนะสิ่งเร้า ทฤษฎีเร้าอารมณ์ ทฤษฎีสร้างความต้องการ-แรงขับ-สิ่งล่อใจ ฯลฯ
ธรรมชาติการจูงใจ
การจูงใจเป็นกระบวนการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมโดยมีความต้องการ มีแรงขับ และการกระทำสัมพันธ์ต่อเนื่งเพื่อสู่เป้าหมายและเมื่อเกิดมี
ความต้องการจึงมีแรงขับ แล้วก่อให้เกิดการกระทำไปสู่เป้าหมาย ดังนั้นพฤติกรรมการจูงใจถูกกำหนดทิศทางให้แสดงออกตามความประสงค์หรือความ
มุ่งหมายไม่ว่าบุคคลจะเต็มใจหรือจำใจต้องกระทำกระบวนการ ซึ่งปกติอธิบายได้ง่ายเมื่อมีปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในสรีระ เช่น ร่างกายขาดสารเคมีหรือ
ขาดน้ำ ในกรณีร่างกายขาดน้ำร่างกายผลิตน้ำเองไม่ได้ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้คนนแสดงพฤติกรรมโดยการแสวงหาน้ำมาให้ได้ จะโดยวิธีการใดก็ตาม เมื่อ
ได้รับน้ำแล้วร่างกายก็จะเข้าสู่ภาวะสมดุลย์ ซึ่งกว่าจะปกติสุขได้อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยุ่งยากซับซั้อนและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย แรงขับปฐมภูมิ
ที่สำคัญได้แก่
1. กระหาย (Thirst) เมื่อร่างกายขาดน้ำแล้วตามปกติแล้วจะมีอาการปากคอแห้ง
2. หิว (Hunger) ความหิวโหยของคนเราถูกนำมาอ้างอิงหรือหาเหตุก่อการณ์ต่างๆ มากมาย
3. เพศ (sex) ในคนเนั้นแรงขับทางเพศมีลักษณะเป็นการเรียนเสียส่วนใหญ่ กล่าวคือการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ได้มาจากประสบการณืมากกว่า
ระดับฮอร์โมนเพศอื่นแล้ว
4. การหลับและการตื่น (Sleep and Activation) โดยทั่วไปการหลับ-ตื่น เป็นพฤติกรรมที่ไม่ซับซ้อนมากนัก กล่าวคือ ร่างกายยที่เหน็ดเหนื่อย
มาทั้งวันก็ต้องการพักผ่อนนอนหลับ แล้วตื่นขึ้นมาทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตามแต่ละบุคคล
ทฤษฎีการจูงใจ
ทฤษฎีวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้มีความเห็นว่าคนเราทำกิจกรรมใดๆ ก็เพราะแรงผลักดันทางเพศ และความก้าวร้าว อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง
ตัวอย่างการแต่งกายของคนเรา ถ้ามองในทัศนะของทฤษฎีนี้ เป็นการกระทำให้เกิดการยั่วยวนทางเพศมากว่าเพื่อสิ่งอื่นใด ก็คือแสดงถึงความต้องการทางเพศ
นั่นเอง
ทฤษฎีอารมณ์ มาจากแนวคิดที่ว่าคนเราจะพยายามหนีทุกข์และแสวงหาสุข ทฤษฎีนี้เน้นอารมณ์พึงพอใจเป็นแรงผลักดันให้คนทำกิจกรรมต่างๆ
ทฤษฎีปัญญา เชื่อว่าความเข้าใจสถานะการณ์และความสามารถคาดคะเนหรือตั้งระดับความคาดหวังที่จะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นการ
กระตุ้นให้เกอดพฤติกรรมการจูงใจขึ้น
ทฤษฎ๊สิ่งแนะ-สิ่งเร้า พฤติกรรมการจูงใจเกิดขึ้นเพราะมีสิ่งแนะหรือสิ่งล่อใจเป็นพื้นฐาน นี่คือความเชื่อตามแนวคิดของทฤษฎีนี้ สิ่งแนะหรือสิ่ง
ล่อใจ ล้วนแต่เป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น
ทฤษฎีสร้างความต้องการ-แรงขับ-สิ่งล่อใจ
อธิบายกระบวนการของพฤติกรรมที่เริ่มต้นที่ความต้องการแล้วทำให้เกิดแรงขับและมีพฤติกรรมมุ่งไปสู่เป้าหมายในที่สุด
ที่มา :
ไพบูลย์ เทวรักษ์. (2540).
จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:
เอส ดี เพรส การพิมพ์, หน้า91-101.
|
|