146 ธรรมชาตินิยม (naturalism)
ธรรมชาตินิยม คือ ทรรศนะที่ถือว่ามนุษย์เป็นสิ่งหนึ่งในธรรมชาติ
มิได้มีฐานะพิเศษกว่าสิ่งอื่นๆเลย พฤติกรรมของมนุษย์ก็คล้ายๆ
กับพฤติกรรมของสัตว์อื่นๆ จะต่างกันตรงที่มีความซับซ้อนกันมกากว่าเท่านั้น
อิทธิพลจากสังคมและสิ่งแวดล้อมทำให้พฤติกรรมของมนุษย์ผันแปรไปต่างๆกันได้
คุณค่าของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้มมาเอง มิได้อาศัยสิ่งเหนือธรรมชาติเป็นหลัก
146.3 วัตถุนิยม (Materialism)
ในทางจริยศาสตร์หมายถึง ทรรศนะที่ถือว่าความสุข
ทางกายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดของชีวิต ในทางอภิปรัชญา
หมายถึงทรรศนะที่ถือว่า วัตถุหรือสสารเท่านันที่เป็นจริง
ปรากฏการณ์ในรูปอื่นๆสมารถลดทอนลง
ได้ว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ของวัตถุหรือสสาร
146.4 ปฏิฐานนิยม (Positivism)
ทรรศนะที่ถือว่า ความรู้ที่สูงสุดคือ ความรู้ที่ได้มาจากประสาทสัมผัส
146.42 ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ (LOgical positivism)
146.44 ประสบการณ์นิยม (Empiricalism)
ทรรศนะที่ถือว่า แหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้มี
เพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือประสบการณ์ (Experience)
ซึ่งหมายถึงความรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัส
ความรู้จะต้องเกิดหลังจากการมีประสบการณ์
แต่จะมีความรู้ก่อนมีประสบการณ์ก่อนไม่ได้
146.5 ปรมาณูนิยม (Atomism) ทรรศนะที่ถือว่า
ถ้าเข้าใจส่วนย่อยแต่ละส่วนซึ่งประกอบกับเป็นส่วนรวม
ก็จะเข้าใจส่วนรวมได้ ฉะนั้นการที่จะเข้าใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ต้องแยกแยะเป็นส่วนย่อยที่สุด
แล้วดูว่าหน่วยย่อยเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
146.6 จักรกลนิยม (Mechanism) ทรรศนะที่ถือว่า
ปรากฏการธรรมชาติทั้งปวง รวมทั้งปรากฏกการณ์ของสิ่งมีชีวิต
เป็นไปตามภาวการณ์โดยไร้เจตจำนงและจุดหมาย
ซึ่งอธิบายได้โดยกฎทางกายภาพ
146.7 วิวัฒนาการนิยม (Evolutionism)
ลัทธิที่ถือว่าเอกภพมีวิวัฒนาการ
|