banner.gif
***สร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาท้องถิ่น***

000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลป
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

ปรัชญาปฏิบัตินิยม:รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย

144.3ป279ป
ปรัชญาปฏิบัตินิยม

ผู้แต่ง: ประทุม อังกูรโรหิต
ชื่อเรื่อง: ปรัชญาปฏิบัตินิยม:รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย

สรุปเนื้อหา

ปรัชญาปฏิบัตินิยม เป็นความคิดที่แพร่หลายทั่วไปในวงการปรัชญาตั่งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเราจะถือว่าปรัชญาปฏิบัตินิยมเป็นปรัชญาสมัยปัจจุบัน แต่นักวิจารย์บาสงคน มีความเห็นว่าถ้าเราศึกษาความคิดของนักปรัชญากรีกโบราณและนักปรัชญาสมัยใหม่บางคน ก็อาจทำให้ตีความของนักปรัชญาเหล่า นั้นน่าจะเป็นต้นเค้าของปรัชญาปฏิบัตินิยมได้
ปรัชญาปฏิบัตินิยมในสหรัฐอเมริกา
ในระบบปรัชญาตะวันตกที่ผ่านมามีมากมายหลายระบบ และแต่ละระบบต่างพยายามตอบปัญหาเรื่องความจริงสูงสุด หรือความจริงแท้ของจักรวาล ซึ่งเป็นปัญหาอภิปรัชญา แต่ก็ไม่มีใครเห็นพ้องต้องกัน ต่างคนต่างก็คิดสร้างระบบปรัชญาของตน ขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีนักคิดพวกหนึ่งเห็นว่า การค้นหาความจริงสูงสุดไม่มีประโยชน์ เพราไม่มีใครคิดตรงกัน เราไม่สามารถตัด สินใจได้ว่าใครถูก ใครผิด อะไรจริง อะไรเท็จหามาตราฐานหรือกฏเกณฑ์ที่แน่นอนตรงกันไม่ได้
เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมจะเห็นว่าปรัชญาปฏิบัตินิยมเน้นลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล กล่าวคือคนแต่ละคนนั่นเอง ที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้ประกอบกิจกรรม และนำกิจกรรมที่นำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ อันที่จริงความคิดแบบอัตวิสัย นี้เป็นความคิดที่รับมาจากยุโรปและได้มาพัฒนาในอเมริกาโดยให้อิสระแก่จิตของปัจเจกบุคคล แต่ก็ยำที่น่าที่ในเชิงปฏิบัติมากกว่าด้านทฤษฏี ความรู้ การให้ค่าแก่จิตของปัจเจกบุคคลนั้นเป็นเพราะว่าจิตของปัจเจกบุคคลเป็นกุญแจสำคัญในการดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ใขสิ่งต่างๆ ในสถาบันและประเพณีของชุมชนนั้น

ที่มา :

ประทุม อังกูรโรหิต.(2543).

ปรัชญาปฏิบัตินิยม:รากฐานปรัชญาการ
ศึกษาในสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 1-20.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002